Category

อีสานบ้านเฮา

วัฒนธรรมบ่อน้ำ น้ำส้าง น้ำส้างแส่ง

นึกย้อนไปถึงฤดูร้อน พ.ศ. ๒๕๐๗ ณ หมู่บ้านชาวกวยแถบเชิงเขาพนมดองแร็ก เมื่อคราวเป็นเด็กน้อยอายุ ๖-๗ ขวบ เคยตามแม่ไปตักน้ำตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่าง แม่ให้ไปเป็นเพื่อน สงสัยว่าทำไมต้องไปแต่เช้ามืดขนาดนี้ พอไปถึงก็เห็นผู้หญิงทั้งสาวและวัยกลางคนนั่งบ้าง ยืนบ้าง มือก็จับไม้คานไว้ รอคิวตักน้ำ ใครที่ได้ตักน้ำก่อนก็จะได้หาบน้ำใสสะอาดกลับบ้าน

ขี้เมากับขอทาน

ณ วงเหล้าที่ร้านข้าวต้มแห่งหนึ่ง เวลาประมาณ ๖ ทุ่ม ขี้เมา ๔-๕ นาย กำลังรํ่าสุรากันอย่างสนุกสนาน ขณะนั้น ก็มีชายขอทานคนหนึ่งเข้ามายกมือไหว้ พร้อมกับกล่าวว่า ขอทาน “อ้ายครับ ผมขอเงินแหน่คับ จั๊ก ๒๐ บาท” ขี้เมา “โตสิเอาเงินไปเฮ็ดอิหยัง” ขอทาน “ตั้งแต่เช้า ผมบ่ทันได้กินข้าวเลยครับ ผมสิขอเอาไปซื้อข้าวกิน” ขี้เมา “โตบ่ต้องเอาเงินดอก บักหล้า เอาเก้าอี้มานั่ง มากินเหล้ากินข้าวกับอ้ายโลด...มานั่ง ๆ ” ขอทาน “บ่ดอกครับ ตั้งแต่เกิดมา ผมบ่เคยกินเหล้าเลยครับ”

ลูกอีสาน ทำงานเติมน้ำมันเครื่องบินที่อลาสก้า

ฝรั่งตาน้ำข้าวเพื่อนที่ทำงานที่สนามบินด้วยกันถามว่า “ยูอยู่บ้านยูเมืองร้อน ๆ มาอยู่เมืองหนาวอย่างอลาสก้าได้อย่างไร” ผมหัวเราะให้เขาทั้งที่ยังหนาวสั่นมือเย็นเฉียบ “คุณอยู่ได้ฉันก็อยู่ได้แหละ ไม่มีปัญหา” หนุ่มอีสานแห่งเมืองอุบลราชธานี บอกว่าอยู่อีสานบ้านของเรา เคยมีกิน เคยอด ทั้งร้อนทั้งหนาว เราผ่านชีวิตต่ำสุดตรงนั้นมาแล้ว มาถึงวันนี้อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ธรรมดามาก ๆ

กลัวผอม

บักสอนมันเกิดรักชอบพอกับสาวกองลูกสาวพ่อเฒ่าหยองกับแม่เฒ่าตุ้ย แม้ว่าสาวกองจะอ้วนไปหน่อย บักสอนก็ไม่รังเกียจ มันกลับคิดว่า “หุ่นแบบนี้แหละ มันเต็มไม้เต็มมือดี” มันถือว่าจิตใจสำคัญกว่าหุ่น แม้หุ่นจะเข้าประเภท “อ้วนสั้น สันหนา” ก็ไม่ถือสา ข้าจะรักของข้าใครจะทำไม?

คำโตงโตย

การใช้ภาษาของคน “ทางอีศาน” ในสมัยก่อนสิมีคำเว้าคำจาโดยใช้ศัพท์ทางภาษาลาวเป็นส่วนใหญ่ เช่น ภาษาไทย เรียก สำนวน สุภาษิต คำพังเพยคำเสริม ภาษาลาว “ทางอีศาน” ดั้งเดิมสิเอิ้นว่า ยาบโคง โตงโตย

สถานการณ์แม่น้ำโขงแล้งในเวลานี้

สถานการณ์แม่น้ำโขงแล้งในเวลานี้ เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1 ปริมาณน้ำฝนที่น้อยทั้งภูมิภาค ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงน้อยลง ทั้งที่เป็นช่วงฤดูมรสุม 2 เขื่อนจิงหง ที่กั้นแม่น้ำโขงตอนบน ในยูนนาน ลดการระบายน้ำเหลือเพียง 500 ลบ.ม./วินาที โดยอ้างว่าเพื่อซ่อมแซมระบบสายส่งไฟฟ้า 3 เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนสัญชาติไทยในดินแดนลาว ของบริษัทซีเคพาวเวอร์ (เครือ ช.การช่าง) ซึ่งมีความคืบหน้า 99.3 % อยู่ในขั้นตอนทดสอบระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดทั้งหมด 7 เครื่อง ไปจนถึงระบบสายส่งไปยันถึงศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ป า ก แ ข็ ง

พ่อเฒ่าสีนวน ไทบ้านสำราญ มีลูกเขยชื่อ “บักตุ๊” เป็นชาวจังหวัดชลบุรีที่เว้าไทย (พูดภาษากลาง) แรก ๆ ก็เข้าใจกันยาก เพราะเข้าข่ายคำพูดที่ว่า “ไทยบ่จั๊กซาว ลาวบ่จั๊กยี่สิบ” เวลาพูดกัน ลูกเขยมักยํ้าถามเพื่อความเข้าใจและสื่อความหมายได้ถูกต้อง บางครั้งพ่อเฒ่าสีนวนก็ชักรำคาญ เนื่องจากบักตุ๊มันมักถามซํ้ายํ้าทวนจนแกขี้เกียจจะตอบ

ลั บ มี ด

“วันอาทิตย์ อย่าได้เข่นพร้า ตีหอก หลาวแหลน มันสิกลายเป็นผี พากโพย ฟันเจ้า” นั่นก็หมายความว่า ของมีคมทุกประเภท ไม่ควรจัดซื้อจัดหาในวันอาทิตย์ เพราะจะเกิดภัยแก่ผู้ใช้เอง ...

คุณหมอณัฐวุฒิ มาสาซ้าย นายแพทย์ผู้ใฝ่รู้ประวัติศาสตร์และเทใจให้บ้านเกิด

"ตอนนี้พวกผมก็อยู่ในทีมงานขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สะดืออีสานเราอยากที่จะให้อัตลักษณ์ท้องถิ่นเรา ซึ่งมันไม่ได้เป็นเรื่องที่อลังการหรือเลิศหรูอะไร แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นวิถีชีวิต เป็นไลฟ์สไตล์ของเรา อยากนำเสนอสู่สากล วิถีชีวิตแบบเรา ทำแบบง่าย ๆ เรียบ ๆ แต่มันแฝงไปด้วยปรัชญาและแนวคิด อันนี้คือในเรื่องของวิถีชีวิต แล้วก็สิ่งปลูกสร้างที่เป็นโบราณสถานวัตถุ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ใหญ่โตอลังการมาก แต่มันมาจากศรัทธา ความเชื่อของผู้คน ..."

หั ว ป ลา

บักหมอนดำเนินการปรุงอาหารอยู่ใน ครัว พ่อเฒ่าอารมณ์ล้างมือ แล้วไปนั่งคอยเวลากินข้าวที่โต๊ะอาหาร บักหมอนยกสำรับออกมาวางบนโต๊ะ! พ่อเฒ่าอารมณ์ถึงขั้นหมดอารมณ์! เมื่อมองไปยังชามต้มส้มปลาใส่ใบมะขามอ่อน...

นับบ่ฮอดสาม

“กรณ์เอ้ย! ฮ้องบอกโซเฟอร์จอดรถให้พ่อแหน่ พ่อปวดขี้” “เดี๋ยว ๆ” บักกรณ์ประวิงเวลา พ่อเฒ่าอุ้ยก็ทนอดกลั้นไปได้สักระยะหนึ่ง อาการปวดท้องก็หนักขึ้น “กรณ์! บอกโซเฟอร์แม๊ะ กูปวดขี้แฮงแล้วเด้อ!” พ่อเฒ่าอุ้ยย้ำอีกครั้ง

จากอีสานถึงเอมีเลีย

ทางเลือกเพื่อการเกษตรมีหลายทาง อีสานมีปราชญ์ชาวบ้านมากมายที่ทำการเกษตรเพื่อการพึ่งตนเองไว้เป็นแบบอย่าง ตั้งแต่พ่อมหาอยู่สุนทรธัย พ่อเชียง ไทยดี ที่สุรินทร์ คุณสุทธินันท์ปรัชญพฤทธิ์ คุณคำเดื่อง ภาษี และอีกหลายคนที่บุรีรัมย์ และในทุกจังหวัดในภาคอีสาน

คณะหมอลําพันปีบ้านสาวะถี : สืบวิถีหมอลําทํานองขอนแก่น

หมอลําศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสานที่ผสมผสานการร้องลํา การฟ้อน ประกอบดนตรีพื้นบ้าน เพื่อให้ผู้ชมสนุกสนานเพลิดเพลิน มีต้นกําเนิดจากการเล่านิทานพื้นบ้านให้ลูกหลานฟัง สู่การอ่านหนังสือธรรมจากใบลานเพื่อคบงันการอยู่กรรม (การคลอดลูก) งานศพ งานบุญ ประเพณีในชุมชน จากนั้นจึงเป็นการลําคนเดียว แสดงบทบาทตามเนื้อเรื่อง มีการนําแคนมาเป่าประกอบระหว่างการลํา

(ผู้ชาย) กินอะไรทําให้เป็นหมัน

เพื่อนเก่าสมัยเรียนมัธยม ถามมาว่า “อ่าน เจอในเว็บ เขาว่า มีสมุนไพรหลายอย่าง ผู้ชายกินแล้วจะเป็นหมัน จริงหรือเปล่า” มานึกได่ว่า เพื่อนเคยบอกภรรยาทําหมัน หลังจากคลอดลูก คนที่สองเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนแล้ว อยากรู้เรื่องทําหมันชายไปทําไม อายุอานามก็ใกล้วัยเกษียณแล้ว คิดในแง่ดีเขาก็คงแค่อยากรู้

“บ้านเดื่อ” จากหมู่บ้านเกษตรริมโขง สู่หมู่บ้านท่องเที่ยว

หากมาที่ชุมชนบ้านเดื่อแล้วสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นเสน่ห์และความแตกต่างที่ทำให้ชุมชนบ้านเดื่อไม่เหมือนใคร คือการหยิบยกเอาลูกมะเดื่อ ไม้ยืนต้นที่มักจะเกิดตามริมฝั่งน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงที่เป็นชื่อหมู่บ้านมาเป็นจุดเด่นและจุดขายของชุมชน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com