ผญา – ยอดวรรณกรรมอีสาน
ผญา เป็นสำนวนคำพูดที่ไพเราะ คมคายลึกซึ้ง สละสลวย คนอีสานนั้นเป็นคนมีโวหาร เจ้าบทเจ้ากลอน พูดจาเป็นคำคม มีสัมผัสคล้องจอง
ไพเราะ น่าฟัง ไม่ว่าจะเป็นโอวาท คำสั่งสอน คำตักเตือน ห้ามปราม หรือคำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวอีสานในอดีต สมัยโบราณนั้นคนอีสานมักพูดเป็นสำนวนภาษาแบบผญาเป็นส่วนมาก
คำผญา (๑)
“มีเงินเต็มภาชน์ บ่ท่อมีผญาเต็มปูม”
มีเงินเต็มสำรับ ไม่เท่ามีปัญญาเต็มภูมิ
คำโตงโตย
ฮูปแต้มเรื่อง “เจ้าเมืองพะโคยกทัพมาประชิดเมืองพาน” จากนิทานประจำถิ่นเรื่อง อุสาบารส (จ.อุดรธานี, จ.หนองคาย) แสดงเหตุการณ์เมื่อครั้งนางอุสาได้พาท้าวบารสมาซ่อนไว้ที่หอคำ
บทกวี ดาวชีวิต
ด้วยมีดาวในชีวิตไม่คิดขม แม้เหงาหงอยเศร้าบ้างบางอารมณ์ ใจยังคมวับเชือดเลือดสาดแดง ดั่งวสันต์ปลอบขวัญฉันฝันหวาน แสนดอกไม้บานประชันออกขันแข่ง เช็ดน้ำตาปวงประชา..มาร่วมแรง หลังพายุกระหน่ำแรง...ฟ้าจักงาม รัตติกาลนานยาวดาวยังฉาย เหมันต์กรายถึงวสันต์วันอร่าม พลังปฏิวัติเกิดทั่วทุกชั่วยาม ดาวชีวิต วาวงามนิรันดร
คำผญา (๑๕) : “ไผมีความฮู้หาเงินก็ได้ง่าย ไผฉลาดฮู้เงินล้านก็แก่นถง”
“ไผมีความฮู้หาเงินก็ได้ง่าย ไผฉลาดฮู้เงินล้านก็แก่นถง” ใครมีความรู้ก็หาเงินได้ง่าย ใครฉลาดรู้เงินล้านก็แน่นกระเป๋า
คำโตงโตย
ยำกกให้ยำเหง้า
ยำเงาให้ยำง่า
(โบราณ)
คำผญา ปรัชญากวี : คนบนหลังเสือ
“เห็นว่าเสือแสนฮ้าย เสือมีลายก็ลายต่าง
ไผผู้ขึ้นขี่ได้ ใจต้องกล้ากว่าเสือ”
(กลอนห่อผญา)
คำผญา (๘)
“งัวบ่กินหญ้าแสนสิข่มก็เขาหัก หมูบ่กินฮำแสนสิตีก็ดังเว่อ”
วัวไม่กินหญ้าแม้จะกดเขาลงเขาก็หัก หมูไม่กินรำถึงจะตีจมูกก็แตกบาน
ลายแคนเสียงรถไฟ – พ่อสมบัติ สิมหล้า
ลายแคน ประดิษฐ์โดย พ่อสมบัติ สิมหล้า ที่เลียนมาจากเสียงรถไฟ แสดงในงานเสวนากึ่งสาธิตทางดนตรี “ลายดนตรีแคนในวัฒนธรรมหมอลำ” ในนิทรรศการ “แคนล่องคะนองลำ” ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน 28 มีนาคม พ.ศ. 2558
คำผญา (๖) หยอกไฟได้หนี้ หยอกขี้ได้กิน
หยอกไฟได้หนี้ หยอกขี้ได้กิน
เล่นกับไฟได้หนี้ เล่นกับขี้ได้กิน ไฟเป็นของร้อน และอะไรที่ร้อน ๆ ก็เปรียบเสมือนไฟ โดยเฉพาะไฟที่เกิดขึ้นในใจนั้นร้อนมากและก็เป็นไฟที่ดับยาก ไฟโลภ ไฟโกรธ ไฟหลง ๓ ไฟนี้ร้อนมาก เมื่อเกิดขึ้นกับใคร นอกจากจะเผาตัวเองแล้วยังเผาผู้อื่นด้วย นี่ยังไม่รวมถึงไฟอบายมุขอื่น ๆ
คำผญา (๗)
เอาลูกสะใภ้มาเลี้ยงย่า
เหมือนเอาผีห่ามาไว้ในเรือน
ความหมาย
แม่ย่าหรือแม่ผัวกับลูกสะใภ้เปรียบเสมือน ขมิ้นกับปูน, เสมือนนํ้ากับนํ้ามัน ส่วนมากเข้ากันไม่ได้ ยังดีที่เป็นน้ำ อย่าง้นอยก็ยังมีความเย็นอยู่บ้าง ถ้าเป็นของร้อน แม่ย่ากับลูกสะใภ้อาจจะเปรียบเหมือนหมากับแมวก็ได้
กลอนบทละคร (๕ – ๖)
กลอนบรรยายพระราชวังกรุงกุเรปัน ในบทละครอิเหนาครั้งกรุงเก่าข้างต้นนี้ ภาพที่บรรยายแท้จริงแล้วก็คือพระราชวังสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง เนื้อความตอนนี้จึงมีความหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วยครับ การอ่านวรรณคดีนั้น เราจะได้ทั้งความไพเราะชื่นใจของภาษา และความรู้ทางประวัติศาสตร์ สังคมวิทยาด้วย
กาพย์ไขผญา: เงิน-ทอง
๏ ใจหนอใจมนุษย์ จะสูงสุดเมื่อมีธรรม พื้นเดิมอาจมืดดำ โดยสันดานอันดิบดาย ธรรมดาก็ดูดี ไม่เห็นมีที่อันตราย มีญาติมีมิตรสหาย เกิดเจ็บตายเสมอกัน ถึงคราวร่วมทุนค้า หากำไรมาแบ่งปัน...อ่านต่อ
คำโตงโตย
บ้านข้อยพุ้นบ่อึดบ่อยาก
ถากเปลือกไม้มาป่นตางปลา
ถากเปลือกสีดามากินตางเข้า
ถากเปลือกสาเหล้ามากินตางเกลือ
คำผญา (๓)
ตกหมู่แฮ้งเป็นแฮ้ง ตกหมู่กาเป็นกา เมื่อเราคบใครเราก็เป็นอย่างนั้น เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มของอีแร้ง เราย่อมเป็นอีแร้งด้วย