Category

บทกวี, ผญา, คำกลอน

ทางอีศาน 66 : ทำดีถวายไท้

รัตนะ โกสินทร์ ถิ่นไทยรัก ซึ้งตระหนัก กษัตริย์ไทย ใจรักมั่น สามัคคี รวมแก่น แน่นรักกัน เทิดมิ่งขวัญ จักรี ศักดิ์ศรีไทย ‘พระภูมิพล’ เสด็จไหน ‘ใจไทย’อยู่ น้อมเชิดชู คำสอนสั่ง ตั้งใจใส่ จะกี่ภพ กี่ชาติ ตลอดไป จักทำดี ถวายไท้ เทอดนิรันดร์

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (46) สมุทโฆษคำฉันท์ (34)

นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่คำฉันท์เรื่องนี้ปรากฏต้นฉบับตัวเขียนเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่พบในปัจจุบันนี้ เป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยเส้นหรดาล ขนาดกว้าง ๑๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนติเมตร เขียนอักษรสองด้าน รวม ๑๐๔ หน้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (45) สมุทโฆษคำฉันท์ (33)

ตำนานเรื่องพราหมณ์ที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือ ตำนานพราหมณ์นครศรีธรรมราช เล่าว่า ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์เมืองรามนครในอินเดียส่งเทวรูปพระผู้เป็นเจ้า และพราหมณ์ เข้ามาถวายพระเจ้าอู่ทอง หัวหน้าพราหมณ์ชุดนั้นชื่อผแดงธรรมนารายณ์ มีพราหมณ์อีกหลายคน

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (44) สมุทโฆษคำฉันท์ (32)

พวกพราหมณ์บูชาไฟ มีมาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาที่หนองโสน(เวียงเหล็ก)แล้ว บริเวณที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างราชธานีใหม่นั้น อยู่ใกล้สำนักนักพรต ชาวบ้านเรียกว่า ชีกุน คำนี้เพี้ยนมาจากคำว่า ชีกุณฑ์ แปลว่านักบวชผู้บูชาไฟ คือพราหมณ์นั่นเอง

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (43) สมุทโฆษคำฉันท์ (31)

หากพบช้างป่าตกมันก็ยิ่งอันตราย พระไอยการช้างจึงกำหนดว่า อนึ่งพระธินั่งเสดจ์เข้าต่อเถื่อน แลเถื่อนมีพาษี พระธินั่งต่ำตา อย่างควาน ควานอย่าให้ขอ อนึ่งจะทรงบาศ แลเถื่อนมีพาสีก็ดี ตรัสเรียกบาศ อย่ายื่น แลไอยการให้ควาน ๆ ทัง ๔ ประการดั่งนี้ ให้ขุนช้างชาวช้างว่าแก่ขุนตำรวจให้เอากราบมูลพระกรรุณาครั้งหนึ่ง...

คำฉันท์ (7) วรรณลีลามรดกชาติ เสียงตก

อำ ทำไมจึงเป็นลหุได้ เป็นครุก็ได้ แต่ อัม เป็นครุเสมอไป ความจริงก็คือ อำ เหมือนกัน จะว่าคำนิคหิตในภาษาสันสกฤตเป็นลหุก็ไม่ถูกต้อง เพราะความจริงเป็นครุในภาษาบาลีเหมือนกัน ถ้าถือรูปอักษรเป็นเกณฑ์ก็อาจจะว่าได้ว่าต่างกัน แต่เมื่อนิคหิตในภาษาบาลี-สันสกฤตก็เป็นครุด้วยกันแล้ว จะอ้างคารมรูปอักษรก็ไม่ได้

คำฉันท์ (6) วรรณลีลา มรดกชาติ ครุ ลหุ

คำครุ เป็นคำที่มีเสียงหนัก ได้แก่ คำทุกคำที่ประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น งา ชี้ สู้ แล้ ห่อ และคำที่ประสมกับสระเสียงสั้นก็ได้เสียงยาวก็ได้ และมีตัวสะกดด้วย เช่น ขม คิด นึก ปาน โชค เล็บ นอกจากนั้นคำที่ประสมกับสระ อ า ไอ ใอ เอา ซึ่งถือว่าเป็น เสียงมีตัวสะกดก็จัดเป็นคำครุเช่นเดียวกัน

คำฉันท์ (4) วรรณลีลามรดกชาติ

เดิมทีกวีไทยมิได้ดัดแปลงฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัยให้เป็นฉันท์ภาษาไทยครบทั้ง ๑๐๘ ชนิด ต่อมานายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติม เป็นฉันทวรรณพฤติ เพิ่มจากที่ มหาสมณะเจ้า พระปรมานุชิตชิโนรส ทำไว้ ๕๐ ชนิด

คำฉันท์ (3) วรรณลีลามรดกชาติ

ต้นกำเนิดของฉันท์นั้น เกิดขึ้นในสมัยพระเวทเมื่อราวสี่พันปีที่แล้ว ซึ่งถ้อยคำในคัมภีร์ฤคเวทเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือฉันท์ที่มีจำนวนคำไม่เกิน ๕๐ พยางค์ และฉันท์ที่มีพยางค์ ๕๐ – ๑๐๖ พยางค์

คำฉันท์ (2) จากอินโด-อารยัน สู่สยามพากย์

เคยมีค่านิยมที่ผิดข้อหนึ่งว่า คำฉันท์ เป็นกวีนิพนธ์ที่สูงค่ากว่าบทกวีฉันทลักษณ์ประเภทอื่นค่าของกวีนิพนธ์เขามิได้วัดจากรูปแบบฉันทลักษณ์ ไม่ว่ารูปแบบฉันทลักษณ์แบบใด กระทั่งร้อยแก้วกวีนิพนธ์ – Poetic Prose ถ้าเขียนได้ถึง จริง ก็คือกวีนิพนธ์ที่ทรงคุณค่า

ถวายบังคม มหาคีตศิลปิน

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า สมาชิกผู้อ่าน เครือข่ายเพื่อนมิตร และคณะผู้จัดทำนิตยสาร “ทางอีศาน” นายทองแถม นาถจำนง ผู้ประพันธ์

สงกรานต์ดอกคูณบานรับบ้านไท

ดอกคูณแย้มระย้าบานอีสานถิ่น เหลืองโพลนทั่วธาณินทร์เวิ้งฟ้าใส บ้างโรยร่วงรอรับคนจากไท จากเหนือใต้กลับบ้านสงกรานต์นี้ แถนเอยช่วยคุ้มครองพี่น้องเฮา ได้กลับเนาแนบบ้านอย่างสุขี เก็บสีแดงอย่าฉีดสาดลาดปฐพี ฉลองปีใหม่ไทยชุ่มฉ่ำเทอญ

A song about a friend

ได้รับคำเชิญจากคุณ Marlena Zim ผู้อำนวยการของ Polish Vladimir Vysotsky's Museum เมือง Koszalin (city in north-western Poland, near the Baltic sea) ให้แปลบทเพลงบทกวีของ Vladimir Vysotsky's เป็นภาษาไทย ไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ และลงตีพิมพ์ในหนังสือซึ่งจะจัดพิมพ์ที่สหรัฐอเมริกาในปีนี้

คำฉันท์ (๖)

อเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน

บทร้อยกรองของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 50-53

๕๒. ศาสตรศิลป์เป็นเงินเป็นทรัพย์ ไปสำหรับกับผู้ตกไกล ปัญญาไวเป็นเงินของฝาก ยามเมื่อยากเกิดเหตุจิบหาย ธรรมทั้งหลายของดีเฮาก่อ เป็นของห่อต่อไว้ยามตาย ศีลทั้งหลายเป็นเงินเป็นแก้ว บ่ฮู่แล้วทุกเมื่อทุกยาม
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com