Tag

ทางอีศาน12

งานสงกรานต์ของคนอีสาน

“เทียวทางให้สุดเส้น อย่างถอยหลังให้คนย่ำ ตายกะตายหน้าพู้น คนจั๋งย่องว่าหาญ...” คำบันดาลใจของคนอุษาคเนย์แต่โบร่ำโบราณปลุกเร้าให้เลือดในกายของพงษ์เผ่าไทสูบฉีด จิตใจแน่วแน่ เชิดหน้าทะยานไกล

‘เบญจมินทร์’ ราชาเพลงรำวง

ทางอีศาน ในส่วนของ เสียงเมือง ฉบับนี้ขอพูดถึงขุนพลเพลงผู้ใหญ่ ซึ่งสำนักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประกาศเกียรติคุณให้เป็น “อมตศิลปินมรดกอีสาน” คนแรกของรางวัลนี้มอบแด่ศิลปินผู้ที่มีผลงาน และยังคงมีชื่อเสียงเป็นที่คุ้นเคยของประชาชนอย่างไม่มีวันเสื่อมคลายได้แก่ ตุ้มทอง โชคชนะ หรือ “เบญจมินทร์” ครูเพลงชาวอุบลราชธานีผู้เปี่ยมไปด้วยความสามารถทั้งการประพันธ์ การขับร้อง อีกทั้งยังเป็นผู้เขียน

ผู้หญิงแนวหลัง

ผู้หญิงแนวหลังที่ผมขอเอ่ยนามไว้ คือท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ นางนิวาศน์ ศิริขันธ์ นางบังอร ภูริพัฒน์ นางทองคำ ดาวเรือง นางบุญทัน อุดล และ นางแตงอ่อน จันดาวงศ์ ภรรยาของ นายครอง จันดาวงศ์ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้าที่ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ผู้หญิงแนวหลังกลุ่มนี้ เป็นผู้หญิงอีสานทั้งหมด ยกเว้นท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ ต้องมีชีวิตที่ต้องต่อสู้ความรู้สึกทั้งภายใน และภายนอก

บ้าโบก

พ่อเฒ่าใสแกมีนิสัยชอบลุ้นเวลาเล่นโบก แกเคยแง้มกระบอกไม้ไผ่ลุ้นดูเม็ดมะขามมาตลอด วันนี้พ่อเฒ่าใสเข้าไปอาบน้ำ เห็นกล่องสบู่ปิดฝาอยู่ แกก็ค่อย ๆ แง้มฝากล่องสบู่ออกทีละน้อย พอมองเห็นก้อนสบู่สีขาว แกก็ว่า “ฮื่อ..ขาวล้วน !” เมื่ออาบน้ำเสร็จออกมาจากห้องน้ำ จะไปกินข้าวเห็นกระติบข้าวเหนียวปิดฝาอยู่ แกก็ค่อย ๆ แง้มฝากระติบข้าวออก ลุ้นดูข้าวทีละน้อย จนเห็นข้าวสีขาว “ฮื่อ !..ขาวล้วน !” แล้วจึงกินข้าว เมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว แกไปล้างมือสูบยา (ดูดบุหรี่) ตามประสาเซียนพนัน... เมื่อสบายใจแล้ว ก็เข้าไปห้องนอน เพราะอดนอนมาหนึ่งคืนแล้ว... พอเข้าไปห้องนอนเห็นเมียนุ่งกระโจมอก นอนนิ่งอยู่บนเตียง

“สุรวิทยาคาร” คู่สุรินทร์

พลิกดูประวัติของชาวสุรินทร์ที่มีชื่อเสียง มีผลงานสร้างสรรค์ความดีงามไว้ให้สังคมไทยมากมาย ล้วนจบการศึกษาจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร ร้อยกว่าปีที่ก่อตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นมา ผู้บริหารและคณาจารย์ร่วมกันพัฒนาการศึกษา อบรมนักเรียน สร้างทรัพยากรชั้นนำจำนวนมากให้แก่ประเทศไทย ล่าสุด (ธันวาคม ๒๕๕๕) โรงเรียนสุรวิทยาคาร จัดเป็นโรงเรียนที่ดีเด่นอันดับที่ ๗๑ ของประเทศไทย หมุดหมายสำคัญของโรงเรียนสุรวิทยาคารมีย่อ ๆ ดังนี้

หญ้าคาหญ้าทิพย์จากสวรรค์

ยามเจ็บไข้ได้ป่วยชาวบ้านก็ค้นพบว่าส่วนของใบหญ้าคาสามารถนำมาใช้เป็นยาต้มอาบ แก้ผดผื่นคัน แก้ลมพิษ และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายได้เป็นอย่างดี

กาพย์ไขผญา ปากท้องของเต่า-แลน

ผญา: “เต่าหากินกุ้มปากเต่า แลนหากินกุ้มปากแลน” กาพย์: ตัวเต่าเดินหลังตุง กระดืบไต่ไปตามดิน ต้วมเตี้ยมให้ติฉิน ว่าหากินไม่ทันการ สัตว์อื่นสิตัดหน้า เต่าเชื่องช้าน่าสงสาร ที่แท้แม้เต่าคลาน ก็หาเคี้ยวคุ้มปากตน...

เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว

กระบวนการทำนาหรือกระบวนการผลิต จะขึ้นอยู่กับฟ้าฝนและธรรมชาติแวดล้อมเป็นสำคัญ ความทุกข์ทนและขมขื่นในอดีตที่ผ่านมาของชาวนา มีปัจจัยพื้นฐานด้านธรรมชาติและโลกแวดล้อมรอบตัวชาวนาเป็นตัวกำหนดหลัก ไม่ใช่กลไกของ “ทุน” หรือ “การเมือง”

พรมแดนลาวสมัยเจ้าฟ้างุ่ม

ดังนั้นแล้ว พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงแต่งราชบรรณาการมาถวาย คือช้างพราย ๕๑ เชือก ช้างพัง ๕๐ เชือก ทองคำสองหมื่น เงินสองหมื่น นอแรดแสนนอ กับเครื่องบรรณาการอื่นๆ อีกอย่างละร้อย เจ้าฟ้างุ่มจึงไม่เสด็จไปตีกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นพระองค์จะให้ทำพิธีปฐมกรรมประหารชีวิตเจ้าเมืองที่จับได้นั้นทั้งหมดเพื่อฉลองชัยปราบดาภิเษก ความนี้ร่ำลือไปถึงหูพระมหาปาสะมันตะเถระเจ้าผู้เป็นอาจารย์ พระเถระเจ้าจึงมาขอบิณฑบาตชีวิตของเจ้าเมืองเหล่านั้นไว้ พระองค์ก็โปรดประทานอภัยโทษให้ และปล่อยให้คืนครองบ้านเมืองของตนต่อไป แล้วสมเด็จพระเจ้าฟ้างุ่มจึงยกทัพกลับคืนนครเวียงจันทน์...

ประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน ยุคใกล้กึ่งพุทธกาล เชิงวิเคราะห์

ในเชิงโครงสร้างอำนาจรัฐ เริ่มจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๓๓) สยามได้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองลาวทั้งฝ่ายซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อการควบคุมและจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ กับทั้งเพื่อรับมือกับการรุกรานของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส

ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ บทบาทนักการเมืองอีสานในอดีต

“หัวเมืองไม่ได้รับการบำรุงอย่างใดเลย ปล่อยตามธรรมชาติ แต่มองดูมณฑลชั้นในโดยเฉพาะจังหวัดพระนคร จะเห็นว่าถูกบำรุงอย่างฟุ่มเฟือยในเมื่อเทียบกันข้อนี้ชาวหัวเมืองได้พร่ำร้องมานานนักหนาแล้ว” จากประสบการณ์อันยาวนานที่ นายทองอินทร์คลุกคลีในภาคอีสานตั้งแต่เกิด เติบโต และทำงานในภูมิภาคแถบนี้ จึงทำให้เขาแน่ใจเหลือเกินว่า “ภูมิภาคแถบนี้อาภัพ เป็นลูกเมียน้อย”

ประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน (บทที่ ๒)

มณฑลลาวกลาง เรียกใหม่ว่ามณฑลนครราชสีมา มณฑลลาวพวน เรียกใหม่ว่ามณฑลฝ่ายเหนือ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เรียกว่ามณฑลอุดร ส่วนมณฑลลาวกาวในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ นั้น เรียกใหม่ว่ามณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๔๓ เรียกว่ามณฑลอิสาน คำว่า “อิสาน” หรือ “อีสาน” และคำว่า “ตะวันออกเฉียงเหนือ” ถูกนำมาใช้ตั้งแต่บัดนั้น

คำของ ‘ท่านกูฏ’ อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๓

ที่นี่ผมได้พบกับคนมีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี ถึง ๒ คน คนแรกคือ อาจารย์ไพบูลย์ สุวรรณกูฏ หรือที่คนในวงการศิลปะเรียก “ท่านกูฏ” ศิษย์รุ่นแรกของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอีกท่านคือ ศิลปชัย ชาญเฉลิม หรือ “นายหนหวย” นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ และยังเป็นนักจัดรายการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากท่านทั้งสองมาบวชที่วัดสุปัฏวนาราม และเป็นโอกาสดีที่ผมได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดท่านทั้งสอง

หลงฮอยอีศาน : บุญเดือนห้า

คำที่ว่า ‘เป็นคนเฒ่า นั่งเล่าความหลัง’ นั้นฉันเพิ่งจะเห็นแจ้งแก่ใจเอาก็ตอนที่ได้มาลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเพื่อลงรายละเอียด ซึ่งผู้ที่เป็นแหล่งข้อมูลหากไม่เป็นภิกษุชราก็เป็นพ่อใหญ่แม่ใหญ่ทั้งสิ้น บางทีพวกท่านเหล่านั้นอาจจะกำลังเหงาด้วยลูกหลานนิยมมุ่งไปตายดาบหน้ากับความศิวิไลซ์ของเมืองหลวง

จักรินทร์ สร้อยสูงเนิน

ผมเป็นนักเขียนได้เกิดจากการอ่านหนังสือคนจะเขียนหนังสือต้องอ่านหนังสือ ถ้านักเขียนคนไหนไม่อ่านหนังสือ คุณจะเป็นนักเขียนได้แค่เศษสวะ และเป็นวรรณกรรมที่มาแล้วหายไป จะไม่มีชื่อปรากฏในวงการนักเขียนไทย
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com