อายหลาวก๊ก 哀牢国
คําว่า “อายหลาว” 哀牢 มาจากภาษาไท/ไตว่า “อ้ายหลวง” ในช่วง ๕ ศตวรรษก่อนคริสตกาล บรรพชนไต/ไท แถบตอนกลางของแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน มีศูนย์กลางอยู่ที่ “เมืองช้าง” (“勐掌” “เมิงจ่าง”, ภาษาฮั่น เรียกว่า “เสิงเซี่ยงกั๋ว” “乘象国” หรือ “เมืองขี่ช้าง”) เป็นศูนย์กลางของสหพันธ์นครรัฐ (อยู่ชาติพันธุ์วรรณาแถบอำเภอเป่าซานปัจจุบัน ซึ่งในยุคสามก๊ก เรียกว่า “หย่งชาง-เวงเซี้ยง) ประมุขเมืองช้าง เรียกว่า “เจ้าหลวง” ( ภาษาจีน “จิ่วหลง 九隆”) ประมุขแต่ละเมืองเรียก “อ้ายหลวง” (“哀隆” แปลว่า “พี่ใหญ่” ภาษาจีนฮั่นถอดคำเป็น “อายหลาว哀牢”)
วัฒนธรรมแถน (๕) ปู่แถน ย่าแถน
นิทานที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นนิทานที่คนเฒ่าคนแก่เล่ากันมาจนถึงปัจจุบันนี้ มันก็มีว่าคนภาคเหนือหรือคนล้านนาเรานี้เขาว่า การที่คนเรานั้นทำอะไรไม่สำเร็จหรือว่าเกิดป่วยเป็นนั่น ๆ นี่ ๆ ทำอะไรก็ล้มเหลวนั้นเขาว่าเกิดจากการที่ปู่
แถนย่าแถนนั้นแช่งให้เป็น บางครั้งก็มีการส่งแถนหรือว่าทำเครื่องพลีกรรมส่งให้แถนเพื่อให้เคราะห์ภัยต่าง ๆ นั้นหายไป...
ห่ากวาดเมือง
“พ่อเฒ่า! การจ้ำแจ่วโบราณว่ามีสามวิธีเด้อ!”
“มีวิธีใดแหน่ เว้ามาเลย...สาธิตพร้อมเด้อ! จั่งสิเข้าใจ” พ่อเฒ่าอุ่นว่า
“หนึ่ง...โบราณว่า แฮดนอนซำ...”
ว่าแล้วบักก้อนก็เอาข้าวเหนียว ที่ปั้นเป็นก้อนพอดีเคี้ยวเป็นคำได้สะดวก จุ่มแช่ลงในถ้วยแจ่ว...มันแช่ไว้นาน น้ำแจ่วก็ซึมเข้าไปในคำข้าว พอมันยกคำข้าวมาเข้าปากน้ำแจ่วในถ้วยก็ลดวูบลง!
พ่อเฒ่าอุ่นมองดูถ้วยแจ่วที่น้ำแจ่วลดลง พ่อเฒ่าอารมณ์ก็จ้องดูถ้วยแจ่วเหมือนกัน !
“ฮ่วย! แจ่วคือเหลือน้อยแท้?”
คำโตงโตย
“หมากบ่เคี้ยวปากเป่าบ่แดง
แม่นซิมีเต็มพากะบ่แดงเองได้”
(วรรณคดีลาว “ย่าสอนหลาน”)
แคนเก่าสุด 2,500 ปีมาแล้ว หมอแคนยุคแรกเป็นหญิง
แคนเก่าสุดอายุราว ๒๕๐๐ มีหลักฐานจากลายเส้นบนเครื่องมือสำริด พบฝังรวมกับศพที่เวียดนามและที่อื่น เช่น มณฑลยูนนานทางภาคใต้ของจีน และหมอแคนยุคแรกเป็นหญิง เพราะผู้หญิงเป็นเจ้าของงานศิลปะและวัฒนธรรมทั้งมวล รวมถึงหมอลำกับหมอฟ้อนก็เป็นผู้หญิง
ขัวหลวง เส้นทางสู่เมืองฟ้าพญาแถน
ขัวหลวง เส้นทางสู่เมืองฟ้าพญาแถน ปรัมปราคติว่าด้วยจักรวาลทัศน์ของคนตั้งแต่ครั้งบรรพกาล ที่แบ่งจักรวาลเป็นสองส่วน คือ เมืองฟ้าและเมืองลุ่ม อันเป็นความเชื่อเก่าแก่ของชาวอุษาคเนย์