เฮ็ดกิ๋นแซบ
ผู้คนในภาคอีสาน มีฝีมือในการปรุงอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นได้อย่างยอดเยี่ยม การปรุงอาหารของคนในภาคอีสาน จะมีการถ่ายทอดสืบต่อกันแบบรุ่นสู่รุ่น แม่บ้านบางคนคิดสูตรเด็ดจนสามารถเปิดร้านขายอาหารอีสาน สร้างฐานะให้ครอบครัวได้ มีร้านอาหารบางแห่งคิดสโลแกนเขียนขึ้นป้ายให้ผู้ที่เข้าไปในร้านได้อ่านและเข้าใจ มีตัวอย่างที่เคยพบ เช่นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีร้านอาหารแห่งหนึ่งเขียนว่า “ได้ดื่มน้ำเย็น ได้เห็นรอยยิ้ม ได้อิ่มอาหาร ได้รับบริการประทับใจ” ก็นับว่าเป็นยุทธศาสตร์ทางธุรกิจอีกอย่างหนึ่ง
การเมืองเรื่องส่วยในภาคอีสาน
การเก็บส่วยในอีสานสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัชกาลที่ห้า รัฐบาลเก็บเป็นสิ่งของซึ่งมีมากในท้องถิ่น เว้นเสียแต่ว่าไพร่ส่วยหาสิ่งของที่กำหนดไม่ได้จึงยอมให้จ่ายเงินแทนคนละ ๔ บาทต่อปี ที่ว่าเป็นเรื่องการเมืองก็เพราะในระบบส่วยมีการแย่งชิงส่วยระหว่างเจ้าเมืองกับเมืองหลวงระหว่างเจ้าเมืองกับเจ้าเมืองด้วยกัน ระหว่างเจ้าเมืองกับกรมการเมือง
ตระกูลภาษา “ไท-กะได” กับ ไป่เยวี่ย (๒)
คุณเหลียงถิงหวั่ง เชื่อว่า บรรพชนของชาวเผ่าจ้วง (ขณะที่ยังมิได้แยกเป็นชาติพันธุ์ตระกูลภาษาตระกูลต้ง-ไถ) มีความเกี่ยวพันกับชนเผ่าโบราณที่ปรากฏชื่อในบันทึกโบราณของจีน เช่น ชนเผ่าซีโอว 西瓯 ลั่วเยวี่ย 路越 ชางอู่ 仓吾 ซุ่นจื่อ 损子 กุ้ยกั๋ว 桂国 จวี้ถิง 句町 เย่หลาง 夜郎 ผู่ 濮 โล่วว่อ 漏卧 อู่เลี่ยน 毋敛 เป็นต้น
ศิวนาฏราช ณ พนมรุ้ง ขอท้าว่าไม่ควรพลาดชม
“ศิวนาฏราช” หรือ พระศิวะร่ายรำเป็นภาพที่ชาวฮินดูลัทธิไศวนิกายนิยมประดับไว้ ที่ศาสนสถานเพื่อยกย่องพระศิวะในฐานะเทพ ผู้ทรงอานุภาพทั้งสาม คือ ผู้ให้กำเนิดโลก ผู้ปกป้องคุ้มครองโลก และผู้ทำลายเมื่อโลกถึง ยุคเข็ญ การร่ายรำของพระศิวะทำให้โลก หมุนเวียนเปลี่ยนกาลเวลา เช่น เมื่อโลกก้าวสู่ สหัสวรรษใหม่ ชาวฮินดูอธิบายว่าเกิดจาก “ศิวนาฏราช” ซึ่งหากพระองค์ทรงร่ายรำใน จังหวะที่พอดีโลกจะสงบสุข แต่หากพระองค์ทรง ร่ายรำด้วยจังหวะร้อนเร่า รุนแรง โลกก็จะเกิดกลียุค…
การเปลี่ยนผ่าน
จากสังคมทาส การเกณฑ์แรงงาน เลกไพร่ ส่งส่วย มาถึงสังคมทุนนิยมที่มีการกินส่วนต่าง ส่วนเกิน ใช้เงินต่อเงิน ถึงวันนี้สภาพชีวิตผู้คนใน เกือบแสนหมู่บ้านทั้งประเทศไทย ไม่เหมือนสมัย ปู่ย่าตายายอีกแล้ว คนหนุ่มสาวคนวัยแรงงาน แทบไม่มีเหลือในหมู่บ้าน แถมยังมีชีวิตอย่างไร้ หลักประกันความมั่นคงในทุกด้าน ยิ่งตลกร้ายที่ ให้คนประกอบการภาคอุตสาหกรรมผูกขาดมา สอนการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ให้คนในระบบ ราชการมาสอนนวัตวิถีแก่คนรากหญ้า ซ้ำเติม หมู่บ้านเข้าไปอีกเมื่ออภิมหาทุนรุกเข้าไปกินป่า ครอบครองทำลายภูเขาแม่น้ำ และได้สัมปทาน ขุดผลาญแร่ธาตุใต้พิภพยิ่งขึ้น
พระพุทธรูปยืนทวารวดีในภาคกลาง (๑)
นักปราชญ์ท่านสรุปลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น ๓ ยุค คือ
๑. มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและ หลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวร เรียบเหมือนจีวรเปียก พระพุทธรูปนั่งจะขัด สมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒
บทบาทของท้าวพมแห่งอัตตะปือ ในการช่วยเจ้าฟ้างุ่มรวบรวมดินแดนล้านช้าง
กองทัพของเจ้าฟ้างุ่มยกขึ้นไปจากอาณาจักรพระนครหลวง จะต้องผ่านดินแดนลาวใต้ก่อน ข้อมูลประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ยังมีน้อยในเอกสารภาษาไทย ข้าพเจ้าจึงปริวรรตถ่ายคำข้อมูลเหล่านี้จากเอกสารภาษาลาว “ปะวัดติสาด และกานเคื่อนไหวปะติวัด อัตตปือ” เขียนโดย ท่านบุนทัน จันทะกาลี หน้า ๔๕ - ๔๘ ดังต่อไปนี้
อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : บุกดอยนันทกังฮี – ๑ (๕)
เมื่อ ๖ เดือนก่อน...ฉันได้รับอีเมลสำเนาเอกสารใบลานเรื่อง “ตำนานธาตุหัวอกพระเจ้า” ของวัดใหม่สุวรรณภูมาราม เมืองหลวงพระบาง จากพระอาจารย์ไพวัน มาลาวง
ดอกขะเจียวจากโคกขี้แลน ตอนที่ 1
ฝ่ายพ่อของบุญ และฝ่ายพ่อของหนุ่มแก้ว เห็นพร้อมกันกับคนเฒ่าคนแก่ของหมู่บ้านให้จัดพิธี แฮกเสี่ยว ระหว่างบุญกับแก้ว
ภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่การทำอาหารพื้นบ้านโบราณ “เข่าแพะ”
“ข้าวแผะ” หรือตามภาษาถิ่นของคนโคราช ออกเสียงว่า “เข่าแพะ” เป็นอาหารพื้นบ้านโบราณที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ อาหารจานนี้ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมหาศาล ทั้งยังให้สารอาหารที่ครบถ้วนจัดเป็นอาหารหลัก ๕ หมู่
เรื่องเล่าจากราวตากผ้าของแม่
“แม่ญิ่ง มะติ่งทับซ้าย ผู้ชาย มะติ่งทับ ขวาผู้ฮั่งเซอมะติ่งเงิน สายพี่สายน้อง เอาไว้ มัดไส้แฮ” ความหมาย : เสื้อหมอบของชาวผู้ไทจะ มีลักษณะที่โดดเด่นสังเกตง่าย คือ เสื้อผู้หญิง กระดุมเสื้อจะทับช้าย เสื้อผู้ชายกระดุมจะทับ ด้านขาว ผู้ที่มีฐานะจะสวมใส่เสื้อหมอบที่ติด กระดุมเงิน หรือสตางค์