[๑๑] เส้นทางหนีของปาจิต อรพิม (กำเนิดเมืองพิมาย)
กลุ่มเส้นทางอีกกลุ่มหนึ่งคือ เส้นทางการหนีของปาจิตและอรพิม หลังจากที่ได้สังหารท้าวพรหมฑัต ซึ่งลักพาตัวนางอรพิมมาที่เมืองพิมายแล้ว โดยตำนานกล่าวว่านางอรพิมได้มอมเหล้าพรหมฑัต แล้วปาจิตซึ่งได้รับการต้อนรับจากพรหมฑัตอย่างดี
[๑๐] ถํ้าเป็ดทอง และจารึกปฏิวัติ
ถํ้าเป็ดทอง อยู่ในเส้นทางขันหมาก หากเราศึกษาในระดับตำนาน ก็จะได้เพียงเรื่องเล่าที่ดูเหมือนไม่มีมูลความเป็นจริง ที่ว่าเป็นสถานที่ที่พระปาจิตนำส่วนหนึ่งของขันหมากคือ เป็ดทองมาไกลถึงที่แห่งนี้ เพราะอยู่ในเขตลำนํ้ามาศเหมือนกันกับ ลำปลายมาศ และบ้านกงรถ แต่เมื่อได้เดินทางไปสำรวจ ศึกษาเอกสาร และสถานที่ในบริเวณนี้กลับกลายเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญด้านโบราณคดีในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นที่ตั้งของร่องรอยประวัติศาสตร์และโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยนครวัด
[๖] ปาจิต อรพิม ในงานศิลปะ (๑)
จากเรื่องเล่าของชาวบ้าน สู่วรรณกรรมทางพุทธศาสนา และได้รับการบันทึกในรูปคำกลอน ทั้งโคลงทวาทศมาส ปาจิตตกุมารกลอนอ่าน และในรูปใบลานนิทานธรรม มีอิทธิพลผ่านการเล่าด้วยการบันทึกในรูปแบบตัวเขียน และการเทศนา ย้อนกลับไปสู่ชาวบ้านให้ได้รับรู้เรื่องราวนิทานพื้นบ้านของตนอีกครั้ง นอกจากการบันทึกในเชิงวรรณกรรมแล้ว ยังมีอีกรูปแบบของการบันทึกความประทับใจในตำนานปาจิตอรพิม ในรูปแบบงานศิลปะแขนงอื่น ๆ ทั้งภาพวาดฝาผนัง หรือที่ทางอีสานเรียกว่า “ฮูปแต้ม” ภาพวาดที่บานหน้าต่าง
วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี เล่มที่สอง [๕]
มุขปาฐะเรื่องปาจิต อรพิม นี้ ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบโคลงในสมัยอยุธยา ตัวธรรมลาวปัญญาสชาดก แต่การบันทึกลายลักษณ์อักษรในฐานะ ตำนานเมืองพิมายนั้นเป็นการยืมโครงเรื่องของเรื่องเล่านิทานปรัมปราที่กลายเป็นชาดกนอกนิบาต และกลับกลายเป็นตำนานท้องถิ่น
นิทานประจำถิ่น ปาจิต อรพิม และฉบับเมืองนางรอง [๔]
การเคลื่อนที่ของนิทานประจำถิ่นนั้นเป็นไปตามการเคลื่อนย้ายของคนในท้องถิ่น ชาวโคราช และชาวบุรีรัมย์นั้น ต่างก็เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปตามเส้นทางการค้าและการเกษตรโดยไม่ได้คำนึงถึงเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างจังหวัด จากสี่กลุ่ม ของชาวบุรีรัมย์ คือ ไทยโคราช ไทยลาว ไทยเขมร และกูย
นิทานประจำถิ่น ปาจิต อรพิม และฉบับตำนานเมืองพิมาย [๓]
คำว่า ปาจิต อรพิม เป็นคำที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อแสดงความเป็นกลาง ท่ามกลางความหลากหลายของการสะกดชื่อตัวละครเอกของนิทานเรื่องนี้ ในปัญญาสชาดก เรียก พระปาจิตตนางอรพิมพ์ ในวรรณกรรมคำกลอน เรียก พระปาจิตต นางออระภิม
ท้าวปาจิต – นางอรพิม : จากตํานานท้องถิ่น สู่ชาดกนอกนิบาต
“พี่มาเมือง” คําอุทานของนางอรพิม ที่กล่าวขึ้นเมื่อได้พบกับท้าวปาจิต จนเป็นที่มาของ ชื่อ “พิมาย” เรื่องราวจากวรรณกรรมมุขปาฐะ ที่เล่าขานอธิบายภูมินาม ที่ซ่อนทับโบราณสถาน ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินทางพุทธวัชรยาน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมถึงชื่อบ้านนามเมืองหลายแห่งในลุ่มแม่นํ้ามูล
ตามรอยเส้นทางสายวัฒนธรรม พระปาจิต นางอรพิม
ตํานานท้องถิ่นเรื่องปาจิต-อรพิมนั้น ได้เป็นที่รู้จักกันในฐานะที่เป็นมุขปาฐะมายาวนาน และได้รับการบันทึกในรูปใบลานที่พบเห็นได้ตามท้องถิ่น