เมื่อคนอาเซียนเปลี่ยนการกิน
นี่เป็นตัวบ่งชี้ที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ยิ่งเราพยายามผลักดันประเทศให้ทันสมัยศิวิไลซ์ไฮเทคเท่าเทียมกับตะวันตกมากขึ้นเท่าใด ยิ่งเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารอย่างตะวันตกมากขึ้นเท่านั้น ที่สำคัญลูกหลานของเรามีแนวโน้มเปลี่ยนค่านิยมการบริโภคอย่างตะวันตก ถือว่าทันสมัยง่าย ๆ สบาย ๆ ไฮโซ ไฮเทค จากสื่อต่าง ๆ ที่เสพติดกันถ้วนหน้า
ตาม “ลาว คำหอม” ไปเยี่ยมชายแดนใต้ (ตอนที่ ๒)
ด่านในตัวเมืองยะลา มองดูแล้วหายน่ากลัวไปเยอะ เพราะมีกลุ่มศิลปินพากันมาวาดภาพการ์ตูนสวนดอกไม้ ฯลฯ ที่แท่งบังเกอร์และแผ่นกั้นระเบิดหลายจุดในเมือง ที่นี่มีห้างใหญ่อยู่ห้างเดียวคือห้างโคลีเซี่ยม ของคุณคม อัครเดช อดีตผู้กำกับภาพยนตร์ มีร้านท็อปเจริญมากกว่าเซเว่น ผ่านตลาดสดและบริเวณสถานีรถไฟเป็นโซนชาวพุทธข้ามทางรถไฟไปฝั่งโน้นชาวบ้านเรียกเขตเยรูซาเล็มเพราะเป็นเขตมุสลิม
ผู้ไตในอำเภอหม่ากวน มณฑลยูนนาน
ในเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง-กวางสี ชาติพันธุ์กลุ่มย่อยที่มีชื่อเรียกตนเองมาแต่เดิมหลายสิบกลุ่ม ถูกเปลี่ยนให้สังกัด ชนชาติจ้วง ชื่อเรียกตนเองว่า คนนุง คนโท้ ผู้ไต ผู้ม่าน(บ้าน) ผู้นา ฯลฯ จึงหายไป
คนเหล่า (Lao) เคลื่อนเข้าสู่เสฉวน
แบบเรียนประวัติศาสตร์รุ่นเก่า เขียนกันว่า ชนเผ่าไทเคยใหญ่อยู่นครลุง นครปา แล้วหนีจีนลงมาอยู่น่านเจ้า จากน่านเจ้าก็หนีจีนลงมาอยู่สุโขทัย แต่บันทึกประวัติศาสตร์จีนกลับมีเรื่องตรงกันข้าม คือ ในยุค หนาน-เป่ย หลังราชวงศ์จิ้น (ของลูกหลานสุมาอี้) แผ่นดินจลาจล ปรากฏว่า จีนกวาดต้อน คนเหล่า ชนพื้นเมืองในกุ้ยโจว ขึ้นไปอยู่เสฉวนถึงห้าแสนกว่าคน
ประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน (บทที่ ๒)
มณฑลลาวกลาง เรียกใหม่ว่ามณฑลนครราชสีมา มณฑลลาวพวน เรียกใหม่ว่ามณฑลฝ่ายเหนือ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เรียกว่ามณฑลอุดร ส่วนมณฑลลาวกาวในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ นั้น เรียกใหม่ว่ามณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๔๓ เรียกว่ามณฑลอิสาน คำว่า “อิสาน” หรือ “อีสาน” และคำว่า “ตะวันออกเฉียงเหนือ” ถูกนำมาใช้ตั้งแต่บัดนั้น
“ลาว” กลุ่มชาติพันธุ์ก่อนเรียกตัวเองว่า “ไต-ไท”
ทั้งหมดนี้มีพันธุกรรม DNA ร่วมกัน มีภาษาใกล้เคียงกัน อยู่ในกลุ่มวัฒนาธรรมข้าว วัฒนธรรมเรือ วัฒนธรรมสำริด ร่วมกัน จีนบันทึกเมื่อเกือบสี่พันปีก่อนเรียกพวกนี้่ว่า ไป่ผู ต่อมาเมื่อสามพันปีก่อนเรียกพวกนี้ว่า "ไป่เยวี่ย" สาขาหนึ่งของพวกไป่เยวี่ย ที่อยู่ในกวางสี กุ้ยโจว ยูนนาน เวียดนามภาคเหนือ และลาวภาคเหนือ อีสาน
จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
จุดที่หักเหชีวิตของจิตรมากจุดแรกน่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ นั่นคือการได้สนิทสนมและร่วมงานกับ ดร.วิลเลียม เจ.เก็ดนีย์ (Dr. William J. Gedney) จิตร ได้ย้ายไปอยู่กับ ดร.เก็ดนีย์ ที่ซอยร่วมฤดี ถนนสุขุมวิท ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกไกล ชาวอเมริกัน ช่วงแรก ดร.เก็ดนีย์ จ้างจิตรเดือนละ ๓๐๐ บาท ให้สอนภาษาไทยและวรรณคดีไทย ต่อมามีผู้ว่าจ้างให้ ดร.เก็ดนีย์ แปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย จิตรเป็นผู้ช่วยและแบ่งรายได้กันคนละครึ่ง
รำฦก ๘๕ ปีชาตกาลผ่าน ๑๐ ปี มรณกรรมลุงคำพูน บุญทวี
หากเรานับการบันทึกพงศาวดารของดินแดนภาคอีสาน เรื่อง พื้นเวียงและสารลึบปะสูรย์ เป็นนิทานขุนบรมฉบับอีสานในยุคต้น ๆ แล้วละก็ ข้าพเจ้าจะไม่กระดากปากที่บอกว่า “ลูกอีสาน” เป็นนิทานขุนบรมฉบับอีสานในยุคต่อมาก่อนที่จะถึงยุคโลกาภิวัตน์อย่างไม่อายใคร
มหัศจรรย์ ‘ภูพาน’ บันดาลใจ (๑)
รูปลักษณ์ของดอกเหียงแลดูคล้ายเครื่องหมาย “สวัสดิกะ” ของชาวพุทธฝ่ายมหายาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก “สวัสดิกะ” ของชาวฮินดู เพียงแต่หมุนกลับข้างกัน (ของฮินดูหมุนวนทางขวา ของฝ่ายพุทธหมุนวนซ้าย) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์มงคล เป็นเครื่องหมายแห่งพลวัตร การเคลื่อนไหว...
วรรณคดีและชีวิตสามัญ คือคลังแห่งภาษา
รู้ภาษาหลายภาษาเท่าใดก็ยิ่งดี สมองคนเราคิดจากภาพออกมาเป็น คำศัพท์ คนเรารู้คำศัพท์มากเท่าใด ก็ยิ่งคิดได้มากคิดได้กว้างได้ลึกกว่าคนที่รู้คำศัพท์น้อย อย่านึกว่า การเรียนวิชาภาษาไทย ให้อ่านวรรณกรรม วรรณคดี มาก ๆ มันไม่มีความหมายไร้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
จากกรรมกรสู่คอลัมนิสต์ นักเขียน ป.๔ “เสรี ทัศนศิลป์”
เขาบอกอย่างไม่เคยอายใครว่า เขาจบการศึกษาเพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากบ้านเกิดอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จับพลัดจับผลูเข้ามาเป็นกรรมกรลูกจ้างในโรงงานรองเท้า และขยับฐานะเป็นเจ้าของธุรกิจ ปัจจุบันเขามีโรงงานทำรองเท้าเล็ก ๆ แบบอุตสาหกรรมในครอบครัวเป็นของตัวเอง มีลูกน้องบริวารร่วมงานกว่า ๒๐ ชีวิต และลูก ๆ อีก ๒ คน ที่ต้องดูแลร่วมกันกับภรรยา
Visions for Mo Lam in Mainland Southeast Asia : การก้าวข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรมดนตรี
In the old days music of Isan or Northeast Thailand was rarely known or appreciated by outsiders. It was considered an inferior music; the musicians and singers (molam) were looked down by people or musicians of other cultures. The Isan people themselves, especially educated people---college students and professors, also felt insecure in their arts.
สายธาร นิทานอีสาน
นิทานเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนชีวิต ค่านิยม และความเชื่อของผู้คนในสังคม เป็นเรื่องราวที่ผู้คนบอกเล่าสืบต่อกัน จากรุ่นปู่สู่รุ่นพ่อ จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน สืบสานกันไปเรื่อย ๆ แฝงคำสอนใจ แฝงบทเรียนเป็นเสมือนมรดกตกทอดของแต่ละสังคม ภาคอีสานมีนิทาน ตำนานมากมายหลากหลายประเภททั้งนิทานชาดก นิทานกลอนลำ นิทานก้อม ซึ่งส่วนมากเล่ากันมาแบบปากต่อปาก (มุขปาฐะ)
วัฒนธรรมบ่อน้ำ น้ำส้าง น้ำส้างแส่ง
นึกย้อนไปถึงฤดูร้อน พ.ศ. ๒๕๐๗ ณ หมู่บ้านชาวกวยแถบเชิงเขาพนมดองแร็ก เมื่อคราวเป็นเด็กน้อยอายุ ๖-๗ ขวบ เคยตามแม่ไปตักน้ำตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่าง แม่ให้ไปเป็นเพื่อน สงสัยว่าทำไมต้องไปแต่เช้ามืดขนาดนี้ พอไปถึงก็เห็นผู้หญิงทั้งสาวและวัยกลางคนนั่งบ้าง ยืนบ้าง มือก็จับไม้คานไว้ รอคิวตักน้ำ ใครที่ได้ตักน้ำก่อนก็จะได้หาบน้ำใสสะอาดกลับบ้าน
นิทานประจำถิ่น ปาจิต อรพิม และฉบับตำนานเมืองพิมาย [๓]
คำว่า ปาจิต อรพิม เป็นคำที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อแสดงความเป็นกลาง ท่ามกลางความหลากหลายของการสะกดชื่อตัวละครเอกของนิทานเรื่องนี้ ในปัญญาสชาดก เรียก พระปาจิตตนางอรพิมพ์ ในวรรณกรรมคำกลอน เรียก พระปาจิตต นางออระภิม