Tag

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

“เจนละ” ชนะ “ฟูนัน” ยํ่าปราสาทวัดพู จำปาศักดิ์ ต้นกำเนิดอาณาจักรเจนละ

ก่อนจะกล่าวถึงจารึกซึ่งเป็นต้นเค้าประวัติศาสตร์นิพนธ์เมืองอุบลราชธานีใน ทางอีศาน ฉบับต่อ ๆ ไป ผู้เขียนขอวกกลับมาขยายความเรื่องปราสาทวัดพู แขวงจำปาศักดิ์ สปป.ลาว เพิ่มเติม ที่ถูกสร้างขึ้นภายหลังเจนละรบชนะฟูนัน เนื่องด้วยผู้เขียนได้ข้อมูลจากนักวิชาการชาวไทยและต่างชาติเพิ่มเติมในคราวค้นคว้าเรียบเรียงเรื่องจารึกพระเจ้าจิตรเสนฯ

ความลับของ ‘ดอกเข้าพรรษา’

แต่เดิมมีเพียงคนในพื้นที่จังหวัดสระบุรี เรียกพืชชนิดนี้ว่า ‘ดอกเข้าพรรษา’ เพราะมีดอกในช่วงต้นฤดูฝน ชาวบ้านจึงใช้ช่อดอกไม้ชนิดนี้ถวายพระสงฆ์ในเทศกาลงานบุญเข้าพรรษา อันเป็นที่มาของชื่อ คนทั่วไปอาจไม่ทราบว่า ดอกเข้าพรรษาที่เรียกกันนั้นเป็นพืชหลายชนิด ในสกุล“ข่าลิง” (Globba) ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันมากพอที่คนทั่วไปสังเกตสักหน่อยก็จะเห็น

เมืองที สุรินทร์ / เมืองทีโคราช, เปลาะปลอ – ปลูง – ปรู (๑)

ถามถึงบรรพชนชาวเมืองที มีเชื้อสายพูดเขมร, กวย หรือ กูย (ถูกเรียก ส่วย), มอญ บ้างมั้ย? เขาตอบไม่ได้ ผมจึงหันไปถามหญิงเจ้าของร้านค้าด้วยคำถามเดียวกัน ได้คำตอบกว้าง ๆ ว่า สองหมู่บ้านนี้อยู่ติดกันใกล้ลำนํ้ามูล ภาษาพูดก็คือไทยโคราช

ตำนานเกี่ยวกับเมืองสุวรรณโคมคำ ฉบับภาษาลาว

การก่อตั้งแว่นแคว้นทางภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบันตามตำนาน (ตำนานก็คือการเขียนประวัติศาสตร์ตามแบบของคนโบราณ) แว่นแคว้นแรกคือ “สุวรรณโคมคำ”

หูก กับ กี่ ต่างกันหรือไม่?

มีผู้สงสัยถามว่าคำว่า “กี่” ในคำว่า “กี่ทอผ้า” ไทยยืมคำนี้มาจากใคร จีนหรือมอญ – เขมร ตอนแรกผมก็คิดว่าคนตระกูลไทไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนน่าจะมีศัพท์เฉพาะ “หูก” ProtoTai *truk D แต่ผมต้องเปลี่ยนความคิดเมื่อไปค้นในหนังสือ 傣语方言硏究 เขียนโดย Zhou Yaowen และ Luo Meizhen ในนั้นมีศัพท์คำว่า 织布机 [zhībùjī] หรือหูกทอผ้า

ฟันดาบไทย-ลาว การละเล่นใน “สมุทรโฆษคำฉันท์”

วรรณคดีที่บรรยายเรื่องมหรสพการละเล่นสยามไว้มาก คือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” ช่วงต้น ๆ ซึ่งเป็นฝีมือของ “มหาราชครู” กล่าวถึงมหรสพต่าง ๆ เช่น หัวล้านชนกัน, ไทย - ลาวฟันดาบ, ชวาแทงกฤช, ชนแรด ฯลฯ

ตำนานพญาศรีโคตรตะบอง

ตำนานพญาศรีโคตร, พญาศรีโคตรตระบอง, ພະຍາສີໂຄດຕະບອງ เป็นตำนานร่วมกันทั้ง แขมร, สยาม, ลาว เรื่องราวในตำนานคล้ายคลึงกัน พิจารณาแล้วน่าจะสะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ช่วง “มืดมน” คือช่วงล่มสลายของ “ยุคพระนครหลวง” (ยโศธรปุระ - นครธม) ร่วมสมัยกับการรุ่งเรืองขึ้นมาของรัฐที่ปกครองโดยชาวสยาม-ลาว

เมื่อม้ากัณฐกะไม่ได้มีสีขาวปลอดและม้าเฝ้าอุรังคธาตุน่ะมีสี

ม้าและมนุษย์มีความผูกพันกันมากว่า ๕,๐๐๐ ปีแล้ว ในวรรณกรรมต่าง ๆ ม้ายังเป็นตัวละครที่ช่วยเสริมอรรถรสด้วย เห็นในแต่ละเรื่องมีอภินิหารเป็นสุดยอดอาชาที่เก่งกล้าสามารถ แต่ก็ใช่ผู้แต่งจะเขียนบรรยายลักษณะกันเรื่อยเปื่อยนะ เชื่อไหมว่าเขามีการอ้างอิงตำราไม่ต่างจากนักเขียนนิยายสมัยใหม่เลยเชียว ตำราที่ว่านั่นคือ “ตำราม้าของเก่า” และ “ตำราม้าคำโคลง”

มังมูน บุญข้าว : เสาค้ำวัฒนธรรมอีสาน

มนุษย์ที่อาศัยในแผ่นดินอีสานค้นพบข้าวป่าและนำมาเป็นอาหาร จากยุคเก็บหาจนสามารถนำมาเพาะปลูกในผืนนาที่จัดการระบบนํ้าอย่างชาญฉลาด บนเส้นเวลาทอดยาวกว่าหมื่นปีที่วิถีข้าวและวิถีคนปรับปนจนเป็นเนื้อเดียวกัน ผูกพันก่อเกิดเรื่องราวของการผลิต การแปรรูป ความเชื่อ และประเพณี ที่สะท้อนถึงความสมบูรณ์มั่งคั่งโดยมีข้าวเป็นแก่นสารของการก่อเกิดวัฒนธรรม

โอ้ นารายณ์ขายาวผู้ลือเลื่อง

ในตำนานอุรังคธาตุ เล่าว่าเมื่อพระมหากัสสปะอัญเชิญพระอุรังคธาตุมา จากอินเดีย พระยาสุวรรณภิงคารประสงค์จะขอแบ่งพระธาตุมาบ้าง จึงมีกุศโลบายชักชวนราษฎรชายและหญิง สร้างปราสาทแข่งกัน ของ ใครเสร็จก่อนจะได้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ฝ่ายชายจึงสร้างปราสาทภูเพ็กขึ้นแข่งกับฝ่ายหญิงที่สร้างปราสาทนารายณ์เจงเวง

นาคสิบห้าตระกูล ผู้รักษาหลวงพระบาง

พญานาคที่คุ้มครองหลวงพระบางนั้นมีสิบห้าตระกูล ที่คุ้มครองเวียงจันบางตำนานว่ามีเจ็ดตระกูล คำว่า “นาค” นั้นเป็นศัพท์ยืมมาจากอินเดีย จึงอาจมีคำถามได้ว่า แล้วก่อนที่นาคอินเดียจะมาถึงสุวรรณภูมินี้ ใครเล่าคุ้มครองหลวงพระบาง

ตำรับตำรา กับข้าวกับปลา

ท่านผู้หญิงยังแบ่งอาหารหวานคาวออกมาเป็น ๘ บริเฉทคือ อาหารทั่วไปหนึ่ง การหุงต้มข้าวหนึ่ง การต้มแกงหนึ่ง กับข้าวจานหนึ่ง เครื่องจิ้มกับแกล้มหนึ่ง ขนมของหวานหนึ่ง ผลไม้หนึ่งและเครื่องว่างของกินเล่นอีกหนึ่ง

คืนสู่รากเหง้า เวลา ที่ ผี ขวัญ

การคืนสู่รากเหง้า คือกระบวนการเรียนรู้ กลับไปสู่อีกมิติหนึ่งของเวลา ของวัฒนธรรม ก้าวข้ามทุกอย่างเพื่อเข้าถึงคุณค่าและเนื้อหาที่ดีงามของชีวิต เป็นการ “เชื่อมอดีตกับปัจจุบันเพื่อสานอนาคต”

ฮีตเดือนยี่

คำว่า “คูนลาน” หมายถึง นำข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้นบนลานนวดข้าว หรือเป็นการคูนข้าวที่ชาวนาทำนาได้ผลดีจนได้ข้าวกองใหญ่ ซึ่งชาวนาได้ใช้ลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ โดยมีข้าวที่นวดเสร็จแล้วกองไว้ในลานข้าว การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า “บุญคูนลาน” บุญนี้อยู่ในช่วงเดือนยี่จึงเรียกว่า “บุญเดือนยี่” เป็นการทำบุญขวัญข้าวเพื่อรำลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพ

เมืองนครจำปาศักดิ์ – ๓ –

เมื่อพ.ศ.๒๓๕๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง เจ้าหมาน้อย บุตรเจ้าราชวงศ์ (สุริโย) หลานเจ้าสร้อยศรีสมุทฯ เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ให้ เจ้าธรรมกิติกา บุตรอุปฮาด (ธรรมเทโว) เป็นเจ้าอุปฮาดรักษาเมืองนครจำปาศักดิ์ต่อไป ครั้นอยู่มาเจ้าหมาน้อยกับเจ้าอุปฮาด (ธรรมกิติกา) วิวาทกัน คุมกันลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โปรดเกล้าฯให้แยกเจ้าอุปฮาด (ธรรมกิติกา) ไว้เสียที่กรุงเทพฯ ให้เจ้านครจำปาศักดิ์ (หมาน้อย) กลับไปครองเมืองตามเดิม
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com