Tag

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

แถนในตำนานไทมาว ไทใหญ่ ไทอาหม (๒)

ฉบับนี้ขอเสนอเรื่องเกี่ยวกับ แถนคำ, แลงดอน, ขุนตุงคำ (ซึ่งน่าจะตรงกับ “แถนหลวงฟ้าคื่น” ในพงศาวดารล้านช้าง) ที่ส่งคนลงมาปกครองเมืองลุ่ม ตามเอกสารของ ไทมาว ไทใหญ่ไทอาหม ที่ ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา สรุปเนื้อความไว้ในบทความวิชาการเรื่อง “ไก่แสง :ไก่เสี่ยงทายตัวแรกในตำนานปรัมปราของชนชาติไท” วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วัฒนธรรมแถน : อ่านเอกสารชั้นต้นกันก่อน (๑)

เรื่อง “พญาแถน” เป็นตำนานที่ชนเผ่าไท-ลาว ทั้งกลุ่มไทน้อยและกลุ่มไทใหญ่มีร่วมกันเรื่องพญาแถนยังเป็นต้นเค้าของวัฒนธรรมไท-ลาวดั้งเดิม (ก่อนรับพุทธศาสนา) ทั้งในด้านวิถีชีวิตประจำปีและด้านการเมืองการปกครอง

ลุ่มแม่น้ำโขงยุคก่อนประวัติศาสตร์ในตำนานอุรังคธาตุ

ยุคประวัติศาสตร์เริ่มต้นเมื่อมนุษย์มีการจดบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงแล้วน่าจะเริ่มต้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นต้นมา ซึ่งหมายความว่าก่อนหน้านั้นเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์

ปฐมบทแห่งชีวิต: อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๒

ที่นี่ ผมเริ่มเป็นเด็กหนีเรียน แต่ไม่ได้หนีไปเกเรที่ไหน คือผมชอบเช่าหนังสือนิยายไปหลบอ่านอยู่แถวริมฝั่งมูล บางวันก็ข้ามไปหาดวัดใต้หามุมสงบอ่านนิยาย นิยายที่อ่านส่วนมากเป็นบทประพันธ์ของ ป.อินทรปาลิต อย่างเรื่อง เสือดำ เสือใบ แดนดาวโจร และหัสนิยาย พลนิกรกิมหงวน ชุดสามเกลอ อ่านแล้วหัวเราะท้องคัดท้องแข็ง ทั้งงานประพันธ์ของ จ. ไตรปิ่น ไม้ เมืองเดิม ยาขอบ มนัส จรรยงค์ อ่านลุยไปเรื่อย ทั้งกาพย์กลอนโคลงฉันท์

ข้างหลังภาพ…ฮูปแต้มม้าวัดไชยศรี

“นี่มันม้าพื้นบ้านชัด ๆ” หลังพิศดูลักษณะจนคิดว่าใช่แน่แล้วหัวใจของฉันก็พองฟู แล้วรู้ได้อย่างไรว่าม้าในฮูปแต้มน่ะ ไม่ใช่ม้าเทศที่นำเข้ามาจากแดนไกล? ขอเรียกว่าข้อสันนิษฐานก็แล้วกัน อันดับแรกดูที่ส่วนสัดความสูง ม้าพื้นเมืองจะมีความสูงไม่มาก

บทบาทของท้าวพมแห่งอัตตะปือ ในการช่วยเจ้าฟ้างุ่มรวบรวมดินแดนล้านช้าง

กองทัพของเจ้าฟ้างุ่มยกขึ้นไปจากอาณาจักรพระนครหลวง จะต้องผ่านดินแดนลาวใต้ก่อน ข้อมูลประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ยังมีน้อยในเอกสารภาษาไทย ข้าพเจ้าจึงปริวรรตถ่ายคำข้อมูลเหล่านี้จากเอกสารภาษาลาว “ปะวัดติสาด และกานเคื่อนไหวปะติวัด อัตตปือ” เขียนโดย ท่านบุนทัน จันทะกาลี หน้า ๔๕ - ๔๘ ดังต่อไปนี้

กลอนบทละคร (๒)

เจ้าสตรีที่แต่งเรื่องอิเหนาและดาหลังในสมัยอยุธยาคือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ดูจากคำกลอนข้างต้น ก็น่าจะคิดว่า เรื่องอิเหนาและดาหลังที่ทรงแต่งไว้นั้นเป็นบทละคร และต้องแพร่หลายเป็นที่นิยมมาก

บุรีรัมย์

“บุรีรัมย์ตํานํ้ากิน” อยู่ในความทรงจําและความภาคภูมิใจในอดีตของชาวบุรีรัมย์ในฐานะที่เป็นคําพังเพยอันแสดงถึงความยากลําบากและทรหดอดทนของบรรพบุรุษผู้บุกเบิกแผ่นดินให้ประโยชน์ตกทอดแก่ลูกหลาน เหลน ในปัจจุบัน และในฐานะที่นําความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมาใช้ประโยชน์แก้ปัญหาการขาดแคลนนํ้าได้อย่างเฉลียวฉลาด

น้ำเต้า

“วัฒนธรรม” ก่อกำเนิดมาจากวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งมีรูปแบบการผลิตเป็นตัวหลัก คนเราทำมาหากินอย่างไร วัฒนธรรมก็งอกเงยจากสภาวะนั้น ชนเผ่าในอาเซียนเลี้ยงชีพด้วยการเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก

ทำไมจึงมีพิธีบวงสรวงเสาเอกบ้าน (เสาขวัญ) และแตดหอย

รุ่งเช้าจารย์สีทองก็ไปหาไม้ไผ่มาสานไซ (เครื่องมือดักสัตว์น้ำเป็นปลาขนาดเล็ก ใช้งานในแหล่งน้ำไหลไม่ลึก ตรงช่องระบายน้ำเข้าออกตาม ห้วย บึง ลำคลอง คันนา) และหากวักเตรียมไว้ (กวัก คืออุปกรณ์กรอด้ายสมัยโบราณ) ภรรยาจึงถามว่า “พ่อไม่ปลูกเรือนหรือวันนี้ไหนว่าจะปลูกบ้านวันนี้ล่ะ...?” จารย์สีทองบอกภรรยาว่า “ไม่... วันนี้ยังไม่ปลูกดอก นอนเมื่อคืนนี้ได้ฝันว่า พระอินทร์ท่านได้ มาบอกวิธีปลูกบ้านใหม่แล้ว ท่านบอกว่าให้สานไซและหากวักเอาไว้ที่เสาแรกเสาขวัญก่อน ความเป็นมงคลจึงเกิดกับผู้อยู่อาศัยในเรือนหลังนี้ เคารพและเชื่อไว้ก่อนก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร”

รำลึก ๑๒๙ ปีชาตกาล และกึ่งศตวรรษอสัญกรรม “ลุงโฮ” วีรบุรุษแห่งอัมนัม (๒)

“...ปวงชนชาวเวียดนามต่างสำนึกร่วมกันแล้วว่า พวกเขาได้ต่อสู้เพื่อจบสิ้นความขมขื่นที่บรรดานักล่าอาณานิคมฝรั่งเศสได้ทำไว้ และบัดนี้เราได้ชัยชนะของชาติกลับคืนมาแล้ว...”

เมืองฟ้า : สวรรค์ของคนอีสาน

“...สวรรค์บ้านนาอยู่ไหน ๆ ไม่รู้อะไร ใครมองไม่เห็น บ้านนาสวรรค์ทั้งเป็น ๆ โปรด มองให้เห็นนะจะเป็นความสุข ไม่เหมือนความ ทุกข์ของคนในบาร์ ๆ ...”

เมืองนครจำปาศักดิ์ – ๒ –

อาณาเขตนครจำปาศักดิ์เวลานั้นมีว่า “ทิศเหนือตั้งแต่ยางสามต้นอ้นสามขวาย หลักทอดยอดยัง ” อันเป็นเขตของจันทรสุริวงศ์รักษา ทิศตะวันออกถึงเขาแดนญวน (หรือเขาบรรทัดก็เรียก) ทิศตะวันตกจดลำน้ำกระยุงหรือที่เรียกกันว่า “ห้วยก๊ากวากปากกระยุง” คือแดนเมืองพิมายเป็นเขตแดนท้าวจารย์แก้วรักษา

ศก ศักราช กับ ไตศักราช (๒)

มิติ ‘กาลเวลา’ นั้น สำคัญไฉน... การติดตามทำความเข้าใจเรื่องราวของ ผู้คน ชุมชน ชนชาติ ประเทศ และโลกทั้งโลก ยากที่จะแยกออกจากบริบทที่สำคัญอย่างน้อยที่สุดสองบริบท คือ บริบทของมิติกาลเวลา (Time) กับ บริบทของพิกัดสถานที่ (Space) เงื่อนเวลา (knots of time)
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com