Tag

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

วัฒนธรรมแถน (๖) พิธีส่งแถน

“ส่ง” คือการทำพิธีสังเวย เพื่อส่งเครื่องบริโภคเครื่องบูชาไปถึงผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เมื่อคนหรือบ้านเมืองประสบเคราะห์กรรม ซึ่งไม่อาจจะรักษาหรือแก้ไขได้ตามปกติ เชื่อกันว่าผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติเป็นผู้ทำให้เกิดเคราะห์กรรมนั้น จึงส่งเครื่องสังเวยบูชาไปให้เพื่อขอความเมตตาช่วยให้คนหายจากการเจ็บป่วย พ้นจากความทุกข์ ช่วยให้บ้านเมืองพ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ

วัฒนธรรมแถน (๕) ปู่แถน ย่าแถน

นิทานที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นนิทานที่คนเฒ่าคนแก่เล่ากันมาจนถึงปัจจุบันนี้ มันก็มีว่าคนภาคเหนือหรือคนล้านนาเรานี้เขาว่า การที่คนเรานั้นทำอะไรไม่สำเร็จหรือว่าเกิดป่วยเป็นนั่น ๆ นี่ ๆ ทำอะไรก็ล้มเหลวนั้นเขาว่าเกิดจากการที่ปู่ แถนย่าแถนนั้นแช่งให้เป็น บางครั้งก็มีการส่งแถนหรือว่าทำเครื่องพลีกรรมส่งให้แถนเพื่อให้เคราะห์ภัยต่าง ๆ นั้นหายไป...

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๓)

ตรางู หรือ พญานาคนี้ ผู้รู้บางท่านก็บอกว่าคือตัว “พ” ซึ่งจะเป็นเท็จหรือจริงประการใดมาคอยติดตามกันครับ สัญลักษณ์นี้ผมมีความเห็นว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ได้ เพราะจากที่ผมได้ศึกษาพบว่าสัญลักษณ์นี้พบในเงินพดด้วง (เงินหมากค้อที่ชาวอีสานเรียกกัน) ที่ขุดพบที่เมืองศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย ซึ่งน่าจะเป็นเงินพดด้วงยุคแรก ๆ ของอาณาจักรสุโขทัย

จาก “หมา” สู่ “สิงมอม” ?

คติความเชื่อของชนในตระกูลภาษาไท กะได เกี่ยวกับ “ข้าว” เชื่อกันว่า “หมา” (สุนัข) เป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ ชาวจ้วง (ในกวางสี) มีนิทานเรื่อง “หมาเก้าหาง” เล่าว่า หมาเก้าหางไปขโมยเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก “ตัวฟ้า” (โตเปี๊ยะ ในภาษาจ้วง) “ตัวฟ้า” ใช้อาวุธ (สายฟ้าผ่า) ขว้างใส่หมาเก้าหาง สายฟ้าผ่าตัดหางหมาไปแปดหาง แต่หมาเก้าหางรอดชีวิต นำพันธุ์ข้าวที่ติดมากับหาง (ที่ยังเหลืออยู่หนึ่งหาง) มาให้มนุษย์ มนุษย์จึงปลูกข้าวกินได้

ที่นี่…เมืองบางขลัง : ปฐมบทแห่งชาติไทย

เมื่อกล่าวถึง “เมืองบางขลัง” ตำบลเล็ก ๆ ตำบลหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย น้อยคนนักที่จะรู้จัก รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณแห่งนี้ เมืองที่ถือกำเนิดขึ้นมาร่วมสมัยกับเมืองเก่าสุโขทัย เมืองเก่าศรีสัชนาลัย เมืองที่ปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อย่างกระท่อนกระแท่นแต่ก็ทรงไว้ซึ่งความสำคัญ

ใบสีมา ใบเสมา โบสถ์ อุโบสถ วิหาร

ใบสีมา หรือ ใบเสมา คือแผ่นหินทั้งที่มีลวดลายและไม่มี ปักไว้แปดทิศ คือซ้าย ขวา หน้า หลัง มุมทั้งสี่ มีทั้งแบบหนึ่งชั้นสองชั้นและสามชั้น เป็นเครื่องหมายบอกว่าเขตโบสถ์(อุโบสถ) เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรม ใช้เฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น

ฮีตเดือนเก้า

คำว่า ข้าวประดับดิน คือการดำนาโดยการเอาข้าวกล้ามาปักดำลงในนา ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการเอาต้นข้าวมาประดับดินให้ดูสวยงาม ทั้งตอนปักเสร็จแล้วใหม่ ทั้งตอนที่ต้นข้าวเขียวขจีทั่วท้องทุ่งทั้งตอนต้นข้าวออกรวงเหลืองอร่าม เมื่อถึงเดือน ๙ แรม ๑๔ คํ่า ชาวอีสานจะพากันทำบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า บุญข้าวประดับดิน หรือ บุญห่อข้าวน้อย ในวันเดือน ๙ ดับเท่านั้น เพราะในเดือนนี้พญายมบาลได้ปล่อยพวกสัตว์นรกออกมาหากิน หรือมารับส่วนบุญกับญาติพี่น้องที่โลกมนุษย์

กลอนบทละคร (๔)

เรื่องกลอนบทละครอยุธยา ยังมีเรื่องเล่าอีกยาวครับ ตอนก่อน ๆ ผมคิดว่าท่านผู้อ่านคงอ่านรสกลอนไม่เต็มที่ ฉบับนี้จะลงให้จุใจเลย เป็นกลอนชมเมืองจากบทละครเรื่องอิเหนา สมัยอยุธยา (คัดจากหนังสือ “ตำนานอิเหนา” โดย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) นอกจากอยากให้สนใจลีลากลอนสมัยอยุธยาแล้ว

คำเก่าอย่าฟ้าวลืม – ยา

คำว่า “ยา” ภาษาลาว-อีสาน มี ๓ ความหมาย ๑. คำนาม ยารักษาโรค (อักษรลาวปัจจุบันใช้ ตัว ย-หางยาว) ๒. คำกริยา หมายความว่า อย่า ๓. คำนาม เป็นคำเรียกพระภิกษุที่เคารพยกย่องว่า “ยาคู” (ยา ออกเสียงขึ้นจมูก)

ไหว้ตาแฮกที่ปลายนา : หัวใจบุญข้าวสาก

บุญข้าวสาก เป็นงานบุญเดือนสิบของคนอีศาน นอกจากทำบุญอันเป็นพิธีทางศาสนาในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีความเชื่อถือถึง วิถีชีวิต การทำมาหากิน รวมอยู่ในงานประเพณีที่สำคัญของบุญเดือนสิบ – บุญข้าวสากอีกด้วย

ปราสาทเมืองสิงห์

ตะวันออกสุดของป่าปราสาทบนผืนดินไทย เส้นทางโบราณสู่ชมพูทวีป เมืองสิงห์และปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๖๔๑ ไร่ หรือประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร แวดล้อมไปด้วยภูเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ มีลำน้ำแควน้อยไหลผ่านทางด้านทิศใต้

วันนี้ของครูเพลง สัญญา จุฬาพร

แต่การจะกลับไปสู่ความเลวร้ายก็ใช่ว่าจะง่ายดาย ทั้งคู่ต้องเอาแรงเข้าแลก เพื่อหาเงินเป็นค่าเดินทางและค่าอยู่ค่ากินระหว่างทาง ต้องรับจ้างขุดดิน ตัดไม้ และงานใช้แรงงานสารพัดตลอดรายทางตั้งแต่อีสาน-สงขลา โดยใช้เวลาเดินทางไปและกลับร่วม ๓ เดือน และประสบการณ์ช่วงนี้เองที่เขาได้เอามาเป็นวัตถุดิบในการเขียนเพลง

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๗)

สงครามที่เกิดขึ้นนี้มีบันทึกหลักฐานไว้ค่อนข้างชัดเจนในหนังสือราชการทัพของทั้งสองฝ่าย และเป็นสงครามยืดเยื้อยาวนานกว่า ๒๐ ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๗๖-๒๓๙๐ แต่กลับถูกพูดถึงน้อยมากในหน้าประวัติศาสตร์ไทย จนบางคนบางท่านไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเวียดนามและไทยเคยรบกันมาขนาดนี้ มูลเหตุหรือฉนวนสงครามครั้งนี้ มีหลายสาเหตุด้วยกัน ผมขอแยกเป็นประเด็นดังต่อไปนี้

มาเยอ ปู่เยอ ย่าเยอ

“เยอ (วิเศษณ์) เป็นคำกริยาช่วย เชิญชวนให้มากินด้วยกัน อย่างว่า มาเยอหล้ามากินต้มไก่หัวสิงไคใส่พร้อมหมากนาวน้อยใส่นำ จํ้าแล้วจํ้าจํ้านํ่าบ่มีถอย อย่าหวังอย่าคอยว่าอี่นางชิมีชู (คำกลอน)”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com