Tag

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

พื้นเวียง วรรณกรรมต้องห้าม

วรรณกรรมเรื่อง พื้นเวียง เป็นที่แพร่หลายทั้งลาวและลาวอีสาน ในลักษณะการลำพื้น แล้วไม่นานก็เลือนหายไป ทั้งนี้เพราะเมื่อครั้งอำนาจทางกรุงเทพฯ ขยายออกมา ได้ส่งเจ้านายออกมาดูแลควบคุมหัวเมืองอีสาน หลังสงครามเจ้าอนุวงศ์ วรรณกรรมเรื่องนี้ได้เขียนเล่าเหตุการณ์ไว้ในใบลานด้วยตัวอักษรภาษาพื้นเมืองอีสาน

นอ เครื่องคํ้าของคูณแห่งลุ่มแม่นํ้าโขง

“คํ้าคูณ” หมายถึง เป็นมงคล หรือบังเกิดความสุขความเจริญ สิ่งใดที่มีแล้วเชื่อกันว่าจะนำมาซึ่งความเป็นมงคล ทำให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่เจ้าของคนสองฝั่งแม่นํ้าโขงเรียก สิ่งนั้นว่า “เครื่องคํ้าของคูณ” ซึ่ง คุณพ่อ ปรีชา พิณทอง ปราชญ์แห่งเมืองอุบลราชธานีได้สาธยายเรื่องเครื่องคํ้าของคูณไว้ใน “สารานุกรมภาษา อีสาน-ไทย-อังกฤษ” ว่าเป็นสิ่งที่คนโบราณถือว่าใครมีไว้ในบ้านเรือนจะสมบูรณ์พูนสุขด้วยลาภยศ

บุญคูนลานเดือนยี่ : ทำนาปลูกข้าว บุญก็ได้หัวใจก็ม่วนซื่น

ครูคำมูนว่าคาถาตีข้าว อาคัจฉาหิ อภิชาตสหมมะ ว่า ๗ ครั้ง ตีข้าว ๗ หน จากนั้นเริ่มต้นคนแรก ใช้เครื่องมือจับมัดฟ่อนข้าวแล้วยกให้สูงเหนือหัว แล้วฟาดลงไปที่ลานข้าว ข้าวร่วงออกจากรวง ตีข้าวอยู่สองสามหนจนข้าวร่วงหมดจากมัดฟ่อนข้าวแล้ว คราวนี้ก็เป็นการโยนมัดฟ่อนข้าวไปเก็บกองไว้อีกที่ แล้วการละเล่นสนุกสนานก็เกิดขึ้น

พุทธศาสนาเข้าสู่อีสาน…ในตำนานอุรังคธาตุ

ในดินแดนอีสานปัจจุบัน มีการนับถือศาสนาที่หลากหลาย เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมจากต่างถิ่น เพราะศาสนาเหล่านั้นล้วนมีต้นกำเนิดจากแดนไกล ที่ไหลบ่าเข้ามาแทนที่และซ้อนทับศาสนาผีดั้งเดิมที่มีอยู่ในแผ่นดินอีสาน ศาสนาที่ปักหลักมั่นและแพร่ขยายอย่างกว้างขวางคือ “พุทธศาสนา” จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ตั้งแต่ยุคต้นพุทธกาลจนถึงหลังจากพุทธปรินิพพานเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีก่อน ดินแดนอีสานและลุ่มแม่นํ้าโขงได้มีการซึมซับรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาอย่างไร?

ผีตาโขน ผีตาขน ผีตามคน ผีตามใคร?

ถึงแม้ขบวนแห่ผีตาโขนจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนจากทั่วสารทิศ ให้ไปเยือนอำเภอเล็ก ๆ ในหุบเขาอย่างด่านซ้าย จังหวัดเลย แต่สาระสำคัญที่แท้จริงของ “งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน”

ภูมิรัฐศาสตร์ภาคอีสาน และการลุกขึ้นสู้ของชาวอีสาน

วิชาภูมิศาสตร์นั้นมีความสำคัญในเรื่องของความรู้เกี่ยวกับพื้นที่และบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก พื้นที่หรือภูมิเป็นตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งบนพื้นโลก ซึ่งมีเรื่องของเวลามาเกี่ยวข้อง และเวลาหรือกาลนี้เองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เรียกว่า มีความเป็นอนิจจังของพื้นที่นั้นเอง

[๖] ปาจิต อรพิม ในงานศิลปะ (๑)

จากเรื่องเล่าของชาวบ้าน สู่วรรณกรรมทางพุทธศาสนา และได้รับการบันทึกในรูปคำกลอน ทั้งโคลงทวาทศมาส ปาจิตตกุมารกลอนอ่าน และในรูปใบลานนิทานธรรม มีอิทธิพลผ่านการเล่าด้วยการบันทึกในรูปแบบตัวเขียน และการเทศนา ย้อนกลับไปสู่ชาวบ้านให้ได้รับรู้เรื่องราวนิทานพื้นบ้านของตนอีกครั้ง นอกจากการบันทึกในเชิงวรรณกรรมแล้ว ยังมีอีกรูปแบบของการบันทึกความประทับใจในตำนานปาจิตอรพิม ในรูปแบบงานศิลปะแขนงอื่น ๆ ทั้งภาพวาดฝาผนัง หรือที่ทางอีสานเรียกว่า “ฮูปแต้ม” ภาพวาดที่บานหน้าต่าง

หลวงพ่อพระมหาถาวร

ไม่ไกลจากสยามพารากอน ศูนย์การค้ากลางกรุง ท่ามกลางตึกและศูนย์การค้าทันสมัยของอาคารในยุคปัจจุบัน ยังมีสถานที่แห่งหนึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นสถานปฏิบัติธรรมกลางกรุงซึ่งเป็นพระอารามที่เคยเป็นสถานที่จำพรรษาของพระมหาเถรในฝ่ายกรรมฐานหลายรูป อย่างวัดบรมนิวาส วัดปทุมวนาราม

โตเปี๊ยะ (ตัวฟ้าผ่า) ของจ้วง เจ้าฟ้าแผดขวานคำ ของไทอาหม

หมาเก้าหาง ขึ้นไปขโมยเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก ตัวเปี๋ยะ ตัวเปี๊ยะใช้สายฟ้าขว้างใส่หมาเก้าหาง ถูกหางหมาขาดไปแปดหาง หมาเก้าหางหนีรอดมาได้ เหลือหางเพียงหางเดียวแต่ก็ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ ชาวจ้วงดึกดำบรรพ์จึงบูชาหมา

ผีปอบ

เรื่อง “ผีปอบ” เป็นข่าวอีก เพราะมีกรณีพรากลูกพรากพ่อแม่ ด้วยการขับไล่ออกจากหมู่บ้านด้วยข้อหาว่าเป็นผีปอบ ความจริงเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาหลายแห่ง แต่ไม่เป็นข่าว มีทีวีบางช่องไปเจาะข่าวแทนที่จะให้คำอธิบาย กลับทำให้สับสนมากขึ้นไป อีก เพราะไม่ได้ทำการบ้านเพียงพอ

ตำนานเกี่ยวกับเมืองสุวรรณโคมคำ ฉบับภาษาลาว

การก่อตั้งแว่นแคว้นทางภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบันตามตำนาน (ตำนานก็คือการเขียนประวัติศาสตร์ตามแบบของคนโบราณ) แว่นแคว้นแรกคือ “สุวรรณโคมคำ”

ว่าด้วย เงือก (๒) “ตูเงียะ” เงือกของชาวจ้วงในกวางสี

ตามความเชื่อของนักวิชาการกวางสีโดยทั่วไปเชื่อว่า “ตูเงียะ” เป็นจ้าวแห่งนํ้าเช่นกัน แต่คือ จระเข้ เสียงคำว่า “เงียะ” นั้นคล้ายกับสำเนียงจีนกลางคำว่า “เง่อ” (หรือ เอ้อ) ที่แปลว่า “จระเข้” 鳄

๑๒ เดือนของไทมาว

“มาว” เป็นชื่อแม่น้ำ คือแม่น้ำมาว คนไทแถบนั้นก่อตั้งรัฐเมืองมาวหลวงขึ้น มีตำนานว่าก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ ๕๘๖ (ยุคโน้น ยังถูกครอบงำด้วยอำนาจของอาณาจักรหนานเจาหรือน่านเจ้า) ภายหลังจึงมีเอกราช (ตำนานขุนลู ขุนไล ในช่วงประมาณ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)

ยักษ์สะลึคึ ตำนานแม่น้ำโขง

ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มียักษ์เพศผู้ตนหนึ่งหากินอยู่บริเวณที่เป็นอาณาเขตของประเทศจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ในปัจจุบัน ยุคนั้นบ้านเมืองต่าง ๆ ยังไม่มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ จะมีเพียงผู้คนอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามป่าเขา ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักยักษ์เพศผู้ตนนี้ดี เพราะเวลามันเดินทางไปหาอาหาร จะเกิดเสียงดังสนั่นเหมือนกับเกิดแผ่นดินเลื่อนหรือแยกออกเป็นร่อง พอชาวบ้านได้ยินเสียงดังกล่าวจะพากันอพยพหลบหนีไปซ่อนตัวตามหุบเขาให้พ้นเส้นทางที่ยักษ์ตนนี้เดินผ่านจะได้ปลอดภัย

แกะรอยคำว่า เงือก

การเปลี่ยนความหมายของ “คำ” เป็นเรื่องปกติ ความหมายดั้งเดิมของคำบางคำ เช่นคำว่า “เงือก” ในภาษาไท-ลาวโบราณ เปลี่ยนไปจนหมดเค้าเดิม ถ้าถามเด็ก ๆ ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบคือ “นางเงือก” (mermaid) ครึ่งคนครึ่งปลา ถ้าถามผู้ใหญ่ในอีสาน ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบที่ได้ฟังบ่อยคือ เป็นสัตว์นํ้าประเภทปลาไหลไฟฟ้า , เป็นผีนํ้า ทำให้คนตาย ฯลฯ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com