๓๖๕ น้ำพริก – ๑๐. น้ำพริก ผกค. สูตร ๕ ปลาทูกับน้ำพริกผงชูรส

ผมเป็นหมอประจำกองร้อย ๘๕ เขต ๘ ดอยยาว-ผาหม่น จังหวัดเชียงราย แต่ก็ไม่ค่อยได้นอนในกองร้อยส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปทำงานชายขอบฐานที่มั่น งานประจำคือไปกับหน่วยลำเลียง ขนอาวุธลงเขาไปส่งสหายที่ขับรถปิคอัพมารับขนส่งไปที่เขตงานใหม่ ๆ ในภาคเหนือ แล้วก็แบกของลงจากรถปิคอัพกลับฐานที่มั่น ครั้งหนึ่งทำตัวเสียสละแบกรับงานหนัก รับแบกกระทะใบบัว

คําผญา (๒๐)

“ไม้ลําเดียวล้อมฮั้วบ่ไขว่ ไพร่บ่พร้อมแปงบ้านบ่เฮือง” ไม้ต้นเดียวล้อมรั้วไม่พอ ไพร่ฟ้าไม่พร้อมพัฒนาบ้านเมืองไม่เจริญรุ่งเรือง

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (43) สมุทโฆษคำฉันท์ (31)

หากพบช้างป่าตกมันก็ยิ่งอันตราย พระไอยการช้างจึงกำหนดว่า อนึ่งพระธินั่งเสดจ์เข้าต่อเถื่อน แลเถื่อนมีพาษี พระธินั่งต่ำตา อย่างควาน ควานอย่าให้ขอ อนึ่งจะทรงบาศ แลเถื่อนมีพาสีก็ดี ตรัสเรียกบาศ อย่ายื่น แลไอยการให้ควาน ๆ ทัง ๔ ประการดั่งนี้ ให้ขุนช้างชาวช้างว่าแก่ขุนตำรวจให้เอากราบมูลพระกรรุณาครั้งหนึ่ง...

ลานข่วงคำกวี

เมฆา ญายคับฟ้า ​ปานนุ่นทาลานเป็นขุยหยุย ยวงยาว ​​พ่องหนาเนืองกว้างลางเป็น ลอนซอนซั้น เลียนถันแถวหลั่นหลิงเห็น ดารดาษด้าม ​​ดาแต้มแต่งอินทร์

“ปลาแดก” นั้นฉันใด

ปลา คือเป็นกับข้าวหลัก หรือเป็นอาหารหลักของคนอีสานมาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จาก ปู่ ย่า ตา ทวด สอนลูกสอนหลานว่า ให้กินอาหารหลักเป็นประจำ คือ “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นแนวกิน” หมายถึง ให้กินข้าวเป็นหลัก ให้กินผักเป็นยา และให้กินปลาเป็นกับข้าว นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปลา มีความสำคัญต่อการบริโภคอาหารของคนอีสาน

ก้อยไข่โพ๊ะ : แหย่ไข่มดแดงในป่า หาปลากั้งน้อย ไปทำก้อยไข่โพ๊ะ

เดือนสามลมวี่เดื่อนสี่ลมวอย พัดดอกฮังน้อยหอมไกล ลมแล้งพัดมาคราใดให้นึกถึงเยาว์วัย ที่พ่อแม่พาไปกินข้าวป่า แหย่ไข่มดแดงที่ต้นหว้าพร้อมหาปลาค่อกั้งใหญ่น้อย ไปทำก้อยไข่โพ๊ะ

มะกอก ในความคิดคำนึง

มะกอก ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นชื่อต้นไม้ แต่ในหลายครั้งของการพูดคุยเรื่องมะกอก กลับพบว่า พูดกันคนละเรื่อง เพราะมะกอกของคุณกับมะกอกของผม อาจไม่ใช่มะกอกต้นเดียวกัน เพียงแค่ในสำนวน “มะกอกสามตะกร้า ปาไม่ถูก” ที่ได้ฟังติดหู ขึ้นใจ เป็นมะกอกชนิดไหน เพียงแค่นี้ ก็มีเรื่องให้ถกเถียงกันได้แล้ว

สมุนไพรระงับปวด

“ปวด” คำ ๆ เดียวนี้ ทุกคนได้ยินเหมือนกัน แต่รับรู้ไม่เหมือนกัน คนส่วนใหญ่ไม่ชอบความเจ็บปวด แม้ว่าต้องพบเจอตั้งแต่เกิดจนตาย ความรู้สึกเจ็บปวดเป็นคุณสมบัติอันจำเป็น ที่ทำให้สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ถ้าไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดทารกที่เกิดมาคงอยู่รอดได้ไม่เกินหนึ่งวัน

บทร้อยกรองของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 45 – 48

๔๕. ประเทศใดราชาอามาตย์ คนฉลาดยศยิ่งเสมอกัน มีมะหันต์เหลือหลายในเขต ในประเทศเมืองบ้านแห่งใด เป็นนิสัยมานะกระด้าง มักอวดอ้างบ่เชื่อคำกัน เกิดฆ่าฟันผิดเถียงหาเหตุ ในประเทศเมืองนั้นส่วยแหลม ๔๖. อุปมาดอกบัวในนํ้า ขึ้นบ่ได้อาทิตย์ ๗ ดวง บ้านเมืองหลวงอาชญามีมาก แสนลำบากไพร่ฟ้าจิบหาย

ต้นงิ้ว กามารมณ์ และการลงทัณฑ์

คุณคิดว่า ต้นงิ้วมีลักษณะอย่างไรหรือ อ๋อ ก็มีลำต้นตรง โตขนาดโอบได้ มีหนามแหลมยื่นยาวออกมาจากต้นโดยรอบ แล้วใบงิ้วเป็นอย่างไร ไม่รู้ซินะ นึกไม่ออก เขาว่ามีอยู่ในนรกไง รู้ได้ไงหรือ อ๋อ เคยได้ยินเพลงร้องว่า “...ต้นงิ้ว กระทะทองแดง เอาหอกแหลมแทง ทุกวันทุกวัน” แล้วเคยเห็นของจริงไหม “บ้าละซี ยังไม่ตายนี่ ถึงตายก็ไม่อยากเห็น”

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๗. น้ำพริก ผกค. สูตร ๒ น้ำพริกแมงระงำ

ผมเป็น ผกค. ลูกกรุง หาอยู่หากินไม่เป็น อยู่ไหนก็ต้องพึ่งสหายชาวนา สหายชาวม้ง หาของกินมาเผื่อ อยุ่ในป่าดอยยาวสองปี ล่าสัตว์ได้ตัวเดียวคือ “อ้นตาบอด” ตัวเล็ก ๆ มันตาฟางเดินหลงขึ้นมาจากรู ผมจึงสามารถเอาไม้เคาะหัว หนีบติดตัวไปทำ “ป่น” หรือน้ำพริกใส ๆ

คำฉันท์ (7) วรรณลีลามรดกชาติ เสียงตก

อำ ทำไมจึงเป็นลหุได้ เป็นครุก็ได้ แต่ อัม เป็นครุเสมอไป ความจริงก็คือ อำ เหมือนกัน จะว่าคำนิคหิตในภาษาสันสกฤตเป็นลหุก็ไม่ถูกต้อง เพราะความจริงเป็นครุในภาษาบาลีเหมือนกัน ถ้าถือรูปอักษรเป็นเกณฑ์ก็อาจจะว่าได้ว่าต่างกัน แต่เมื่อนิคหิตในภาษาบาลี-สันสกฤตก็เป็นครุด้วยกันแล้ว จะอ้างคารมรูปอักษรก็ไม่ได้

สกู๊ป งาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ

สกู๊ป งาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้อง Auditorium ชั้น 2 มหาวิทยาลัยรังสิต

คำฉันท์ (6) วรรณลีลา มรดกชาติ ครุ ลหุ

คำครุ เป็นคำที่มีเสียงหนัก ได้แก่ คำทุกคำที่ประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น งา ชี้ สู้ แล้ ห่อ และคำที่ประสมกับสระเสียงสั้นก็ได้เสียงยาวก็ได้ และมีตัวสะกดด้วย เช่น ขม คิด นึก ปาน โชค เล็บ นอกจากนั้นคำที่ประสมกับสระ อ า ไอ ใอ เอา ซึ่งถือว่าเป็น เสียงมีตัวสะกดก็จัดเป็นคำครุเช่นเดียวกัน

ผญาสมัย

งามวิว ​​ทิวทัศน์ฟ้า ผาหลั่นเลียนกัน เป็นถ้าน ​พะลานหิน ฮ่อมไพรพนอมไม้ พฤกษ์ภู ​​ดูสล้าง ลมพายใบพ่าง สะหวาง ​​งามหว่างใต้ ไกลก้ำต่ำขแมร์

คำฉันท์ (3) วรรณลีลามรดกชาติ

ต้นกำเนิดของฉันท์นั้น เกิดขึ้นในสมัยพระเวทเมื่อราวสี่พันปีที่แล้ว ซึ่งถ้อยคำในคัมภีร์ฤคเวทเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือฉันท์ที่มีจำนวนคำไม่เกิน ๕๐ พยางค์ และฉันท์ที่มีพยางค์ ๕๐ – ๑๐๖ พยางค์
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com