อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ ขยายความเรื่องประวัติศาสตร์ “ผู้ไท” “ขุนบรม” วีรบุรุษในตำนานของผู้ไท

อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ ขยายความเรื่องประวัติศาสตร์  “ผู้ไท”

“ขุนบรม”  วีรบุรุษในตำนานของผู้ไท

ที่มีเนื้อหาลึกซึ้งและย้อนอดีตไปไกลนานเกิน 2,000 ปี ให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ ลงพิมพ์ใน ” ทางอีศาน ” ฉบับเดือนสิงหาคมนี้

ปรารถนาให้พี่น้องเฮาได้อ่านกันทั่วถึง ฝากประชาสัมพันธ์สั่งจองได้เลยนะคะ

‘ขุนบรม’ วีรบุรุษในตำนานของผู้ไท

ต้นตอ ‘บรมราชา’ และ ‘อินทราชา’ ในไทย

ผู้ไทจากเมืองแถน (เวียดนาม) เป็นบรรพชนต้นทางคนไทยในเมืองไทย (คือรัฐอยุธยา) พบเบาะแสเค้ามูลอยู่ในลาวเมื่อพวกผู้ไทโยกย้ายจากเมืองแถนไปตั้งหลักแหล่งอยู่แขวงซำเหนือ (ใกล้แขวงหลวงพระบาง ในลาว) ถูกพวกลาวนับเป็นไทย คือไม่นับเป็นลาว ข้อมูลนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ บอกเล่าไว้ในหนังสือ สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ.2547 หน้า 352-353)

ผู้ไทถูกลาวนับเป็นไทยแต่ไม่นับเป็นลาว มีเหตุสำคัญอย่างหนึ่งจากความแตกต่างของการ “นับโคตร” สืบตระกูล กล่าวคือ ผู้ไทสืบตระกูลสายพ่อแล้วยกเพศชายเป็นใหญ่มีอำนาจเหนือหญิง ส่วนลาวสืบตระกูลสายแม่แล้วยกเพศหญิงเป็นใหญ่มีอำนาจเหนือชาย เรื่องนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ชี้ว่าประเพณีนับโคตรสืบตระกูลของฝ่ายลาวยังมีลักษณะดั้งเดิม ส่วนฝ่ายผู้ไทก้าวพ้นไปแล้วจากลักษณะเดิม

ผู้ไทมีหลายกลุ่มได้แก่ ผู้ไทดำ, ผู้ไทขาว, ผู้ไทแดง (หรือไทดำ, ไทขาว, ไทแดง) ต่างเรียกตนเองตามชื่อแยกแต่ละกลุ่ม แต่เรียกอย่างรวมๆ ว่าผู้ไท โดย “ไม่ลาว” คือไม่นับตนเองเป็นลาว (เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ยังมีผู้ไทรุ่นเก่า อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ นับตนเองเป็นผู้ไท หรือไทย “ไม่ลาว” แต่ผู้ไทรุ่นปัจจุบันเชื่อว่าผู้ไทโยกย้ายจากฝั่งลาวไปตั้งหลักแหล่งในอีสาน จึงนับเป็นลาว ครั้นนานไปต่างยอมรับความเป็นลาวสืบจนทุกวันนี้)

การเรียกตนเองว่าผู้ไทกับถูกลาวนับเป็นไทยสืบมาแต่ดั้งเดิม น่าจะขับเน้นคำว่า ไท, ไทย เป็นที่รับรู้กว้างขวางทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาเมื่อราวพันปีมาแล้วหรือมากกว่านั้น ต่อมาได้หล่อหลอมเรียกตนเองว่าไทย แล้วมีชื่อเรียกต่างๆ ได้แก่ คนไทย, เมืองไทย, ไทยใหญ่, ไทยน้อย

วีรบุรุษในตำนานของผู้ไท

นอกจากภาษาและวัฒนธรรมจากเมืองแถนเป็นบรรพชนต้นทางของไทยในอยุธยาตามที่ยกมาแล้ว ยังพบว่าวีรบุรุษในตำนานของผู้ไทคือขุนบรม เป็นที่มาของนามบรมราชา วงศ์กษัตริย์ปกครองรัฐสุพรรณภูมิและรัฐอยุธยา ขณะเดียวกันลูกชายคนที่ 5 ของขุนบรมมีชื่อตัวว่าอิน หรืออินทร์ (แต่ในตำนานเรียกงั่วอิน คำว่า งั่ว แปลว่าลูกชายคนที่ 5) เป็นที่มาของนามอินทราชาหรือเจ้านครอินทร์ ตำแหน่งโอรสกษัตริย์รัฐสุพรรณภูมิและต่อไปได้เป็นกษัตริย์รัฐอยุธยา

วีรบุรุษในตำนานของผู้ไท มีสาระสำคัญโดยย่อว่าชื่อขุนบรมเป็นทายาทแถน ต่อมาขุนบรมมีลูกชาย 7 คน เมื่อโตขึ้นได้แยกย้ายไปสร้างบ้านแปลงเมือง มี 7 เมือง ล้วนมีความสัมพันธ์เป็นเมืองเครือญาติกัน โดยลูกชายคนที่ 5 ชื่องั่วอินไปสร้างเมืองอโยธยา

ตำนานวีรบุรุษเป็น “นิยายปรัมปรา” ซึ่งจะถือเป็นจริงตามนั้นทั้งหมดมิได้ แต่เลือกใช้งานได้เท่าที่พบหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีรองรับสนับสนุน โดยเฉพาะเป็นเครื่องบอกทิศทางความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การเคลื่อนไหวของภาษาและวัฒนธรรมไท-ไต จากบริเวณ “โซเมีย” ทางลุ่มน้ำแดง-ดำ ในเวียดนามเหนือต่อเนื่องมณฑลกวางสีทางภาคใต้ของจีน ลงสู่ลุ่มน้ำโขง, สาละวิน, เจ้าพระยา แล้วเป็นต้นทางของชื่อไทย, คนไทยมีครั้งแรกบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา

บรมราชา ขุนหลวงพะงั่วเป็นเจ้าเมืองรัฐสุพรรณภูมิ (พะงั่ว กร่อนคำจากพ่องั่ว หมายถึงลูกชายคนที่ 5 งั่ว เป็นลูกชายลำดับที่ 5 เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับเชื้อวงศ์ละโว้) ต่อมาเสวยราชย์เป็นกษัตริย์รัฐอยุธยา มีพระนาม “บรมราชา” เป็นทางการว่าพระบรมราชา ที่ 1 แสดงความเกี่ยวดองชื่อ “ขุนบรม” …

เป็นเนื้อหาบางส่วน

ที่ขออนุญาตหยิบยกมาให้ได้อ่านค่ะ

ครูของเขมบอกว่า …

” เป็นข้อมูลที่ไปลึกที่สุดเท่าที่เคยรู้มา

จริง หรือ เท็จ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ประเด็นสำคัญคือ นำเอามาเป็นการสืบค้นรากเหง้าเพื่อเข้าใจอัตลักษณ์ของตัวเอง  เพราะว่า การเข้าใจตัวเองในเชิงลึกแล้ว จะนำมาคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นผู้ไทเรานั้น สำคัญกว่า ว่า ผิด หรือ ถูก ” …

#สมาคมผู้ไทโลก

#เชื่อมสัมพันธ์ผู้ไททั่วโลกเป็นหนึ่งเดียว

#ทางอีศาน

#รู้ซึ้งรากเหง้าเข้าใจปัจจุบันรู้ทันอนาคต

ขอบคุณโพสต์จากเฟซบุ๊ก เขมจิรา ชุมปัญญา

.

ราคาเล่มละ ๑๐๐ บาท

สมัครสมาชิก ครึ่งปี ๖๐๐ บาท

หนึ่งปี ๑,๑๐๐ บาท

ตลอดชีพ ๙,๕๐๐ บาท (ได้รับหนังสือย้อนหลัง)

.

สั่งซื้อ// ชำระเงิน // สอบถามเพิ่มเติม ได้ทาง

inbox หนังสืออีศาน m.me/166200246799901

line id : @chonniyom (มี@) คลิก https://lin.ee/amxqtvW

shopee : https://shp.ee/ji8x6b5

LnwShop : https://www.thaibookfair.com/seller/chonniyom-eshann

โทร. 086-378-2516 บริษัท ทางอีศาน จำกัด244/539 รามอินทราซอย 5 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. 10220.

Related Posts

ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๑๒
โอ้…ดวงจำปา มหัศจรรย์ดอกไม้แห่งจิตวิญญาณ
นิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 112
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com