[๑๓ – บทส่งท้าย] เส้นทางตามหาปาจิต และการมุ่งสู่มาตุภูมิ
เรื่องราวการเดินทางของปาจิตและอรพิม ได้ดำเนินมาถึงบทส่งท้าย เป็นเส้นทางที่อรพิมตามหาปาจิตหลังจากที่พลัดพรากโดยอุบายของเณร ที่พาปาจิตข้ามฝั่งน้ำไปฝั่งหนึ่งแล้วพานางอรพิมหนีไปตามลำน้ำ ซึ่งนางอรพิมต้องออกอุบายให้เณรขึ้นต้นมะเดื่อไปหาอาหารให้ และนำกองหนามมาสุมไม่ให้เณรลงมาได้
[๑๒] คนพิมาย : คนท้องถิ่นหรือผู้บุกรุก
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างทางกรมศิลปากรและชาวเมืองพิมาย เรื่องการกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเมืองพิมาย ได้มาถึงจุดที่คนพิมายรวมตัวกันถือป้ายประท้วงภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ อดีตนักโบราณคดีกรมศิลปากร และปัจจุบันเป็นนักวิชาการอิสระ ได้ให้รายละเอียดไว้ดังนี้
[๑๑] เส้นทางหนีของปาจิต อรพิม (กำเนิดเมืองพิมาย)
กลุ่มเส้นทางอีกกลุ่มหนึ่งคือ เส้นทางการหนีของปาจิตและอรพิม หลังจากที่ได้สังหารท้าวพรหมฑัต ซึ่งลักพาตัวนางอรพิมมาที่เมืองพิมายแล้ว โดยตำนานกล่าวว่านางอรพิมได้มอมเหล้าพรหมฑัต แล้วปาจิตซึ่งได้รับการต้อนรับจากพรหมฑัตอย่างดี
[๑๐] ถํ้าเป็ดทอง และจารึกปฏิวัติ
ถํ้าเป็ดทอง อยู่ในเส้นทางขันหมาก หากเราศึกษาในระดับตำนาน ก็จะได้เพียงเรื่องเล่าที่ดูเหมือนไม่มีมูลความเป็นจริง ที่ว่าเป็นสถานที่ที่พระปาจิตนำส่วนหนึ่งของขันหมากคือ เป็ดทองมาไกลถึงที่แห่งนี้ เพราะอยู่ในเขตลำนํ้ามาศเหมือนกันกับ ลำปลายมาศ และบ้านกงรถ แต่เมื่อได้เดินทางไปสำรวจ ศึกษาเอกสาร และสถานที่ในบริเวณนี้กลับกลายเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญด้านโบราณคดีในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นที่ตั้งของร่องรอยประวัติศาสตร์และโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยนครวัด
เส้นทางขันหมาก : ลำปลายมาศ และ บ้านกงรถ [๙]
จากตอนที่แล้ว กล่าวถึง เส้นทางของการเดินทางตามเนื้อเรื่องนิทานประจำถิ่นปาจิตอรพิม ที่ผู้เขียนได้จัดหมวดหมู่ไว้ ๕ เส้นทางด้วยกัน คือ เส้นทางตามหานางอรพิม เส้นทางขันหมาก เส้นทางหนี เส้นทางตามหาปาจิต และเส้นทางกลับบ้าน ซึ่งในแต่ละเส้นทางนั้นมีสถานที่ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
[๘] เส้นทางตามหาอรพิม ตอนที่ ๑
เริ่มตามเนื้อเรื่องที่ปาจิตเดินทางจากบ้านเกิด เมืองพรหมพันธุ์นครหรือนครธม ออกตามหานางอรพิม ไล่มาตามตำนานเมืองพิมายและนางรอง ตั้งแต่บ้านจารย์ตำรา ตามตำนานว่าปาจิตเดินทางมาถึงบริเวณนี้จึงกางแผนที่ หรือตำราดูว่าบ้านนางอรพิมอยูที่ใด เดินต่อไปจึงถึงบ้านสนุ่น มีต้นสนุ่นอยู่ใกล้ตรงนี้ และบ้านท่าหลวงจากนั้นจึงเดินต่อไปพบนางบัวแม่นางอรพิมที่บ้านสำเร็จ หรือบ้านสำริด ช่วยนางบัวทำนาจน
กระทั่งจะคลอดนางอรพิม จึงไปตามหมอตำแยมาจากบ้านตำแย เมื่อนางอรพิมหัดคลานบริเวณนั้นจึงเรียกว่า ถนนนางคลาน เมื่อหัดเดินบริเวณที่หัดเดินได้ชื่อว่าบ้านนางเดิน ซึ่งเพี้ยนเสียงมาเป็นนางเหริญ
[๗] ปาจิต อรพิม ในงานศิลปะ (๒) วัดบ้านยางทวงวราราม อายุ ๒๒๐ ปี
ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระปาจิต และนางอรพิม ที่ปรากฏรอบสิมวัดบ้านยางนั้น อยู่ล้อมรอบบริเวณสิมหรืออุโบสถ แต่อยู่ในลำดับล่างสุด โดยมีเรื่องพระมาลัย และพระเวสสันดรอยู่ข้างบนตามลำดับ ซึ่งเป็นการยากที่จะเข้าใจเรื่องราวที่แต้มไว้หากผู้มาเยือนขาดความเข้าใจในขนบของจิตรกรรมฝาผนังสิมอีสาน โดยเรื่องราวที่ปรากฏล้อมรอบสิมวัดบ้านยางนี้
[๖] ปาจิต อรพิม ในงานศิลปะ (๑)
จากเรื่องเล่าของชาวบ้าน สู่วรรณกรรมทางพุทธศาสนา และได้รับการบันทึกในรูปคำกลอน ทั้งโคลงทวาทศมาส ปาจิตตกุมารกลอนอ่าน และในรูปใบลานนิทานธรรม มีอิทธิพลผ่านการเล่าด้วยการบันทึกในรูปแบบตัวเขียน และการเทศนา ย้อนกลับไปสู่ชาวบ้านให้ได้รับรู้เรื่องราวนิทานพื้นบ้านของตนอีกครั้ง นอกจากการบันทึกในเชิงวรรณกรรมแล้ว ยังมีอีกรูปแบบของการบันทึกความประทับใจในตำนานปาจิตอรพิม ในรูปแบบงานศิลปะแขนงอื่น ๆ ทั้งภาพวาดฝาผนัง หรือที่ทางอีสานเรียกว่า “ฮูปแต้ม” ภาพวาดที่บานหน้าต่าง
วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี เล่มที่สอง [๕]
มุขปาฐะเรื่องปาจิต อรพิม นี้ ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบโคลงในสมัยอยุธยา ตัวธรรมลาวปัญญาสชาดก แต่การบันทึกลายลักษณ์อักษรในฐานะ ตำนานเมืองพิมายนั้นเป็นการยืมโครงเรื่องของเรื่องเล่านิทานปรัมปราที่กลายเป็นชาดกนอกนิบาต และกลับกลายเป็นตำนานท้องถิ่น
นิทานประจำถิ่น ปาจิต อรพิม และฉบับเมืองนางรอง [๔]
การเคลื่อนที่ของนิทานประจำถิ่นนั้นเป็นไปตามการเคลื่อนย้ายของคนในท้องถิ่น ชาวโคราช และชาวบุรีรัมย์นั้น ต่างก็เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปตามเส้นทางการค้าและการเกษตรโดยไม่ได้คำนึงถึงเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างจังหวัด จากสี่กลุ่ม ของชาวบุรีรัมย์ คือ ไทยโคราช ไทยลาว ไทยเขมร และกูย
นิทานประจำถิ่น ปาจิต อรพิม และฉบับตำนานเมืองพิมาย [๓]
คำว่า ปาจิต อรพิม เป็นคำที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อแสดงความเป็นกลาง ท่ามกลางความหลากหลายของการสะกดชื่อตัวละครเอกของนิทานเรื่องนี้ ในปัญญาสชาดก เรียก พระปาจิตตนางอรพิมพ์ ในวรรณกรรมคำกลอน เรียก พระปาจิตต นางออระภิม
เส้นทางวัฒนธรรมคืออะไร [๒]
เรื่องของพระปาจิตและนางอรพิม เป็นเรื่องราวที่เล่าต่อ ๆ กันมาในหมูชุ่มชนชาวอีสานและลาว ที่มีความโดดเด่นในด้านการเล่าเรื่องจากสถานที่ เป็นการบอกที่มาของภูมิศาสตร์และชื่อบ้านนามเมือง เช่นการบอกที่มาของชื่อภูเขาแม่นํ้า เนิน โคก ต้นไม้ ดอกไม้ ที่มีลักษณะแปลกรวมทั้งที่มาของชื่อหมู่บ้านว่ามีที่มาอย่างไร จึงเป็นที่มาของการจัดการรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับภูมินามเหล่านี้ ให้เป็นเส้นทางที่ต่อเนื่องกันจนกลายเป็นเส้นทางวัฒนธรรม
ตามรอยเส้นทางสายวัฒนธรรม พระปาจิต นางอรพิม
ตํานานท้องถิ่นเรื่องปาจิต-อรพิมนั้น ได้เป็นที่รู้จักกันในฐานะที่เป็นมุขปาฐะมายาวนาน และได้รับการบันทึกในรูปใบลานที่พบเห็นได้ตามท้องถิ่น