สมุนไพรระงับปวด
“ปวด” คำ ๆ เดียวนี้ ทุกคนได้ยินเหมือนกัน แต่รับรู้ไม่เหมือนกัน คนส่วนใหญ่ไม่ชอบความเจ็บปวด แม้ว่าต้องพบเจอตั้งแต่เกิดจนตาย ความรู้สึกเจ็บปวดเป็นคุณสมบัติอันจำเป็น ที่ทำให้สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเอง ถ้าไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดทารกที่เกิดมาคงอยู่รอดได้ไม่เกินหนึ่งวัน
ต้นงิ้ว กามารมณ์ และการลงทัณฑ์
คุณคิดว่า ต้นงิ้วมีลักษณะอย่างไรหรือ อ๋อ ก็มีลำต้นตรง โตขนาดโอบได้ มีหนามแหลมยื่นยาวออกมาจากต้นโดยรอบ แล้วใบงิ้วเป็นอย่างไร ไม่รู้ซินะ นึกไม่ออก เขาว่ามีอยู่ในนรกไง รู้ได้ไงหรือ อ๋อ เคยได้ยินเพลงร้องว่า “...ต้นงิ้ว กระทะทองแดง เอาหอกแหลมแทง ทุกวันทุกวัน” แล้วเคยเห็นของจริงไหม “บ้าละซี ยังไม่ตายนี่ ถึงตายก็ไม่อยากเห็น”
ฤๅสับปะรดเป็นหัวอยู่ใต้ดิน
ทำไมคนไทยจึงเรียก สับปะรด มีหลายความเห็น แต่ล้วนขาดหลักฐานยืนยัน ยากสรุป จากบันทึกของลา ลูแบร์ คำนี้มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว ในเอกสารเก่า ๆ บางทีก็เขียน สัปรด ขณะที่ภาษาถิ่นตามภาคต่าง ๆ เรียกชื่อผลไม้ชนิดนี้ตามเสียง อะนานาส ว่า ยานัด หมากนัด บ่าขะนัด คล้าย ๆ กัน
ถั่วเหลือง ถั่วแระ และถั่วเน่า
สามพันกว่าปีก่อน มนุษย์คนหนึ่งนำเมล็ดถั่วป่าหยอดลงในผืนดินทางตอนเหนือของประเทศจีน นับเป็นการเพาะปลูกถั่วชนิดนี้เป็นครั้งแรกในโลก อีกพันกว่าปีต่อมา ถั่วชนิดนี้แพร่หลายไปยังดินแดนญี่ปุ่น ชมพูทวีป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดอกมะเดื่อเป็นของหายาก…จริงหรือ?
คนในเมืองรู้เพียงว่า มะเดื่อเป็นชื่อต้นไม้ บ้างรู้ดีขึ้นไปอีกว่า ลูกมะเดื่อมักมีแมลงหวี่อยู่ข้างใน บ้างก็ว่าผลมะเดื่อฝรั่งนั้นอร่อยนัก คนชนบทเสริมว่า ใบและผลอ่อนของมะเดื่อกินได้ อีกคนบอกในป่ามีมะเดื่อลูกโต ผลสุกสีแดงหวานอร่อย
ผักหวานบ้าน-ผักหวานป่า
ผักหวานของคนในกรุง กับผักหวานของคนชนบท เป็นไม้คนละชนิดกัน เพื่อมิให้สับสนชาวกรุงจึงเรียกผักหวานแบบดั้งเดิมที่พวกเขารู้จักว่า ผักหวานบ้าน และเรียกผักหวานของชาวชนบทว่า ผักหวานป่า ส่วนชาวชนบทยังคงเรียกผักหวานของเขาเช่นเดิม ไม่รับรู้ทั้งผักหวานบ้าน และผักหวานป่า
จากใบชาถึงใบเมี่ยง
ถ้าไม่นับน้ำเปล่า ชาก็คงเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เมื่อเอ่ยถึงชา เรามักเชื่อมโยงไปถึง จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย และซีลอน แน่ละ ไม่มีไทย แต่เชื่อหรือไม่ ในความเผ็ดร้อน อ่อนละมุน ของวิถีชีวิตคนไทยนั้น มีรสชาติฝาดหวานของใบชาปะปนอยู่ด้วย อาจเป็นร้อยหรือพันปีมาแล้ว
ลูกเดือยกับซุปไก่ฟ้าในตำนาน
ได้ยินคำ "ลูกเดือย" หลายคนนึกถึงลูกเดือยในน้ำเต้าหู้ บ้างก็เคยกินข้าวต้มใส่ลูกเดือย ส่วนใหญ่กินเพราะเชื่อว่าดีต่อสุขภาพ อย่างที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำต้มธัญพืช ที่เฟื่องฟูเมื่อสักสิบกว่าปีก่อน ลูกเดือยมีความหมายเพียงแค่นี้หรือ คงไม่ใช่
มหัศจรรย์บัวหลวง
บัวหลวง หมายถึงบัวชนิดที่ใบอยู่เหนือผิวน้ำ ก้านใบและก้านดอกแข็ง ดอกมีเพียงสองสีเท่านั้น คือขาวและชมพู บางทีก็มีทั้งขาวทั้งชมพูในดอกเดียวกัน บัวชนิดนี้เองที่คนไทยใช้ถวายพระสงฆ์และไหว้พระพุทธ เรียกอีกอย่างว่า ปทุมชาติ ชื่อจังหวัดปทุมธานี ก็สื่อถึงบัวชนิดนี้
กลิ่นข้าว กลิ่นดอกไม้ กลิ่นธูป และกลิ่นปิศาจ
วิทยาศาสตร์มองว่า กลิ่นเป็นสารเคมีที่เมื่อจับกับตัวรับกลิ่น ในส่วนบนของโพรงจมูกแล้ว ส่งสัญญาณไปยังสมอง หลังจากประมวลผลเปรียบเทียบกับกลิ่นและเหตุการณ์ในอดีต กำหนดเป็นการแสดงออกที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับกลิ่นนั้น และยังเชื่อมโยงไปถึงความรู้สึก และอารมณ์อื่น ๆ
ทองกวาว/จาน ในมิติทางการแพทย์
ในฤดูฝนและฤดูหนาว ทองกวาวมีใบเขียว ดูกลมกลืนไปกับไม้อื่น ๆ รอบข้าง แต่ในตอนปลายฤดูหนาวต่อต้นฤดูแล้งเมื่อใบไม้ร่วง เป็นช่วงเวลาที่ทองกวาวมีสีสันสวยงามที่สุด โดดเด่นกว่าไม้ต้นอื่น ๆ ข้างเคียง ด้วยดอกสีส้มแดงอย่างที่เรียกว่า สีส้มอินเดีย (Indian orange) เต็มล้นกิ่งที่ปราศจากใบ การเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีคนรู้จักดีเช่นนี้ น่าจะหมายถึงการมีคนรู้จักนำเอาส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายด้วย
ข้าว มะพร้าว ตาล : เมรัยพฤกษ์ของไทย
เราไม่รู้แน่ชัดว่าเหล้าเกิดขึ้นเมื่อไร นิทานพื้นบ้านของไทยหลายท้องถิ่นกล่าวไว้คล้าย ๆ กันว่า มีเหล้าเกิดขึ้นจากการหมักของผลไม้ที่ตกค้างอยู่ในโพรงไม้ ตอนแรกก็เป็นลิงหรือสัตว์ป่ามากิน ต่อมามนุษย์ก็กินตาม กินแล้วก็เมาสนุกสนาน จนเลยเถิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เล่าขานกันเป็นนิทานชื่อ “มูลละเหล้า” ชี้ให้เห็นเหตุอันควรละเลิกสุรา
คุยเรื่องพริกกับคนช่างสงสัย
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยทุกภาคคือรสเผ็ดและเป็นรสเผ็ดที่มาจาก “พริก” แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน หรืออาหารยอดนิยมอย่างผัดกระเพรา ล้วนไม่ขาดพริก น้ำพริกต่าง ๆ ก็ต้องมีพริก แม้แต่คนที่กินเผ็ดน้อยที่สุด ก็คงกินส้มตำโดยไม่ใส่พริกไม่ได้
ผักเสี้ยวหน้าแล้ง
พูดถึง ผัก หลายคนคงนึกถึง ผักกาด ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว และผักอื่น ๆ ที่เห็นจนชินตาตามแผงขายผัก เรามักเข้าใจว่า ผักเป็นพืชล้มลุก อายุไม้ยืน ต้องมีคนปลูก เจริญเติบโต และมีรสชาติดีในหน้าหนาว แต่ในฤดูกาลที่ร้อนแล้งเช่นนี้ถ้าชี้ไปที่ต้นไม้ริมทางชนิดหนึ่งแล้วบอกว่า นี่แหละเป็นผักที่จะเอามาทำกินกันเย็นนี้คงมีคนสงสัยว่า เป็นไปได้หรือ
มะเขือในครัวไทย
โบราณว่าไว้ “ของดี ไม่กินก็เน่า เรื่องเก่า ไม่เล่าก็ลืม” เรื่องราวของมะเขือ พืชผักที่แสนธรรมดาในสายตาหลายคน มะเขือนานาชนิด เคยโดดเด่นอยู่ในถ้วยอาหารไทยทุกภาคถิ่น กลางและใต้ มีแกงเผ็ดใส่มะเขือ ยำเนื้อใส่มะเขือ ทางเหนือมีตำมะเขือส้ามะเขือ อีสานมีซุบมะเขือ มาถึงวันนี้ อาหารไทยสมัยใหม่มีมะเขือน้อยลง ทั้งชนิดและปริมาณ ด้วยเกรงว่าเรื่องของมะเขือในครัวไทยจะถูกลืม เอาละวันนี้เราจะมาคุยกัน…เรื่องมะเขือ