ปรากฏการณ์ลุงพล (๑)
นับเป็น “วัฒนธรรมชาวบ้าน” (popular culture) “เก่าแต่ใหม่” ที่น่าสนใจ น่าทำความเข้าใจ น่าให้บทเรียน จากชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ทำงานรับจ้างทั่วไป บ้านเก่ายังไม่มีฝา หลังคามุงสังกะสี วันดีคืนดี กรณี “น้องชมพู่” ทำให้ลุงพลป้าแต๋นกลายเป็นคนเด่นคนดังประหนึ่งดารา มีรายได้มากมายไม่น่าเชื่อ
วรรณกรรมกับอารยธรรมโลก (๔)
โรแมนติกนิยม (Romanticism) ไม่เป็นเพียงประวัติศาสตร์ หรือวรรณกรรม แต่เป็นปรัชญา เป็นวิธีคิด ท่าทีต่อชีวิต โลกทัศน์ ชีวทัศน์ ให้ความสำคัญกับจินตนาการ ทำให้ “มองอดีต เห็นปัจจุบัน ฝันถึงอนาคต”
วรรณกรรมกับอารยธรรมโลก (๓)
“ศิลปินวาดภาพไม่ใช่สิ่งที่เห็นข้างหน้าเขา แต่ที่เห็นข้างในเขา” (C.D.Friedrich)
วรรณกรรมกับอารยธรรมโลก (๒)
ทำไมเรื่องมหากาพย์คลาสสิกจึงเป็นบทกวี และยังมีการประพันธ์เป็นบทกวีเรื่อยมา ที่สำคัญ ทำไมอำนาจการเมืองจึงสัมพันธ์กับการเขียนกวี เผด็จการตั้งแต่นีโร จักรพรรดิโรมันมาจนถึงมุสโสลินีของอิตาลี และสตาลินของรัสเซียจึงชอบเขียนบทกวี
วรรณกรรมสร้างอารยธรรมเปลี่ยนโลก (๑)
การถ่ายทอดสืบทอดเรื่องราวในอดีตมีทั้งด้วยการบอกเล่า หรือมุขปาฐะ มีทั้งผ่านวัตถุสิ่งของ เครื่องมือทำมาหากิน หัตถกรรม ปัจจัยสี่ ภาพเขียน จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปกรรม
อาหรับยิวรบกันสามพันปี (2) ร้อยปีที่รบหนัก
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) อังกฤษได้ขอให้ขบวนการไซโอนิสต์ของยิวช่วยรบเพื่อจัดการกับจักรวรรดิ์ออตโตมาน โดยสัญญาว่าเสร็จสงครามจะหาบ้านเมืองให้อยู่ถาวรในถิ่นที่ของปาเลสไตน์
อาหรับยิวรบกันสามพันปี (1)
เพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์สู้รบระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราแอลวันนี้ คงต้องย้อนไปถึงสามพันกว่าปีที่ความขัดแย้งเริ่มต้น และสู้กันเรื่อยมา ขอแบ่งประวัติศาสตร์ตามเวลาดังนี้
ช่วงที่หนึ่ง สามพันปีที่แล้วจนถึงศตวรรษที่ 1 จาก “อาบราฮัม” ถึง “พระเยซู” ช่วงที่สอง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 ที่ยิวอพยพย้ายถิ่นไปทั่วโลก ช่วงที่สาม ตั้งแต่เริ่มก่อเกิดรัฐอิสราแอลเมื่อร้อยปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน
นโปเลียน & รุสโซ บทเรียนการปฏิวัติและประชาธิปไตยฝรั่งเศส
วันนี้ เสาร์ 8 พฤษภาคม 2021 ผมจะไลฟ์เฟส และเปิดซูม เพื่อพูดคุยเรื่องนโปเลียน โอกาส 200 ปีมรณกรรมของนักรบผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ (5 May 1821) โดยเชื่อมโยงกับรุสโซ นักปรัชญาคนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและต่อนโปเลียนเองด้วย
มองไทยด้วยวิภาษวิธี
แนวคิดของเฮเกลช่วยให้มองประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์ไทยด้วยแนวคิดวิภาษวิธีได้ แนวคิดของเขามีพลัง มีอิทธิพลต่อนักคิดนักปรัชญาต่อมาอย่างมาก เพราะเขามองทุกอย่างเป็นการเปลี่ยนแปลง และอธิบายการเปลี่ยน แปลงอย่างเป็นเหตุเป็นผล
คามูส์ (๒)
รัฐบาลไทยและผู้รับผิดชอบนโยบายการป้องกันควบคุมโควิด-19 โปรดอ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะไม่ว่าโควิด กาฬโรค หรือโรคห่า มีปัญหาเดียวกัน คือ “ไม่ว่าโรคระบาดหรือสงคราม ผู้คนก็ไม่เคยเตรียมพร้อมรับมือ” (คามูส์)
บทเรียนวิธีสู้โควิดดีที่สุด
วิกฤติโควิดเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้อย่างน้อยเรื่อง “สุขภาพ” ว่ามีวิธีคิดสำคัญอยู่ ๒ แบบ ที่ครอบงำโลกนี้มานาน แบบที่หนึ่ง คือ แบบโบราณที่สืบสานกันมาจนถึงทุกวันนี้ที่มองว่า คนป่วยเพราะสุขภาพไม่แข็งแรง ไม่สมดุล ร้อนไปเย็นไป ธาตุแตก ต้องพัก ต้องล้มหมอนนอนเสื่อ อันนี้ไม่พูดถึงว่า ผีทำ
อัลแบร์ต คามูส์ (๑)
อัลแบร์ต คามูส์ (Albert Camus 1913-1960 ) นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักต่อสู้เพื่อการปลดแอกจากอำนาจเผด็จการ เขาเป็นสัญลักษณ์ของวิญญาณขบถ หนังสือ “คนนอก” (L'Étranger) เป็นคัมภีร์แห่งการลุกขึ้นต่อต้านอำนาจที่กดขี่ ไม่ว่ารูปแบบใด
นิทเช่ปรัชญาโลกสะเทือน (๒)
“งูที่ไม่ลอกคราบจะตาย คนที่ถูกห้ามไม่ให้เปลี่ยนความคิดก็จะคิดไม่เป็น” (นิทเช่) นิทเช่ (1844-1900) ไม่ว่าใครจะเรียกว่าบ้าหรืออัจฉริยะ เขาคือ “ประกาศก” (prophet) ของยุคสมัยที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในยุคหลัง ๆ นี้ เขาเป็นนักปรัชญาที่กล้าที่สุดคนหนึ่ง งานของเขาปฏิวัติความคิดและประเมินคุณค่าสังคมใหม่หมด
นิทเช่นักปรัชญาโลกสะเทือน (๑)
“บางครั้งคนไม่ต้องการได้ยินความจริง เพราะมันทำลายความเพ้อฝันของเขา” (นิทเช่) ฟรีดรีช นิทเช่ (Friedrich Nietzsche 1844-1900) นักปรัชญาชาวเยอรมัน ที่คนสงสัยว่าถ้าไม่บ้าก็อัจฉริยะ เพราะแนวคิดของเขาประหลาดโลก แต่สั่นสะเทือนวัฒนธรรมตะวันตก ช็อคศาสนิกและศาสนจักรเพราะเขาบอกว่า “พระเจ้าตายแล้ว เราได้ฆ่าพระองค์”
สาส์นจาก “เสรี พพ”
สงกรานต์ปีนี้อาจจะไม่สนุกอย่างที่หลายคนหวัง เพราะโควิดระลอกใหม่มา ก็ลองเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสดูนะครับ ไม่ได้เดินทางท่องเที่ยวหรือไปฉลองที่ไหนก็อาจจะมีเวลาอ่านโพสท์ “ปรัชญา” ที่ผมได้เตรียมไว้