By

กอง บ.ก.

รำลึก อ่ำ บุญไทย “กฤดาการบนที่ราบสูง”

ดังเช่น “... (ง) สมัยอำนาจกษัตริย์ ผู้ชกเก่งต่อยเก่ง คิดเก่ง รบเก่งได้ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ใช้หลักของผีหรือพระเจ้าและของศาสนาหรือศาสดาคุมกันเข้ากับแนวความคิดและประเพณีนิยมเป็นหลักกฎหมาย มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองอย่างพ่อใหญ่ดูแลทุกข์สุข มีข้าราชการแบ่งแยกงานไปช่วยทำแทนหูแทนตา...(จ) สมัยอำนาจประชาชน ต่อมาฝูงชนฉลาดขึ้น จึงเข้าช่วยคิดอ่านจัดการบ้านเมืองร่วมมือกับกษัตริย์ตามความต้องการของประชาชนเลือกตั้งผู้แทนเข้าออกเสียงแทนตน

รำลึก วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในขณะนั้น ได้พัฒนาก้าวข้ามแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเสรีนิยม ที่มองแรงงานว่าเป็นปัจจัยหนึ่งในกระบวนการผลิตแบบทุน หากแต่ได้นำเสนอมโนทัศน์ของแรงงานและราษฎร ในอีกลำดับขั้นของการพัฒนาที่เหนือกว่าและเป็นผลต่อเนื่องจากพัฒนาการในระบบทุนนิยมเอง เข้าสู่การเป็นเจ้าของและเป็นนายเหนือทุนและที่ดินเลย

บทบรรณาธิการ ทางอีศาน 14 นักการเมือง – งานการเมือง

นับจากประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มาถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ นี้ เป็นเวลา ๘๑ ปีแล้ว ยาวนานเท่ากับช่วงอายุของคนอายุยืนคนหนึ่ง

ผักปลอดสาร อาหารปลอดภัย กลุ่มบ้านหม้อ ขอนแก่น

ที่บ้านหม้อ ตำบลคูคำนี้ ถือเป็นแหล่งปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดขอนแก่น ผักปลอดสารพิษบ้านหม้อเป็นพืชผักที่ขึ้นชื่อและสร้างชื่อเสียงให้แก่อำเภอซำสูง ชาวบ้านหม้อปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้วิธีกางมุ้ง

ปิดเล่ม ฉบับที่ 13 ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖

การปรับปรุงรูปเล่มในฉบับเดือนเมษายน มีเสียงสะท้อนด้านดี ชมเชยมาพอสมควร ทำนองว่าเดินมาถูกทางแล้ว ส่วนเสียงวิจารณ์ข้อผิดพลาดบกพร่อง เราน้อมรับเป็นข้อเตือนใจตลอดไป นักอ่านหลายท่านมาให้กำลังใจกันถึงบูธ “ชนนิยม” ในงานสัปดาห์หนังสือฯ

เฮาอยู่ยะลา : เสี่ยดำ (คนขายเกิบ)

ในปี พ.ศ. นั้น ดำขาย ‘ภาพโปสเตอร์’ อยู่บนฟุตบาธกลางเมืองยะลาได้สามปีแล้ว พี่คนที่ชักนำให้ดำลงมาอยู่ยะลาย้ายกลับอีสานบ้านเฮา ไปสอบบรรจุเข้ารับราชการครูใหม่อีกครั้ง ปัจจุบันญาติผู้พี่ของดำท่านนี้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ “ช่วงเฮาขายโปสเตอร์ เฮาลำบากหลายเติบกินข้าวกับไข่ต้มเกือบทุกวัน บ้านก็เช่า ข้าวก็ซื้อ”

คำของ ‘ท่านกูฏ’ อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๓

ที่นี่ผมได้พบกับคนมีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี ถึง ๒ คน คนแรกคือ อาจารย์ไพบูลย์ สุวรรณกูฏ หรือที่คนในวงการศิลปะเรียก “ท่านกูฏ” ศิษย์รุ่นแรกของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอีกท่านคือ ศิลปชัย ชาญเฉลิม หรือ “นายหนหวย” นักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ และยังเป็นนักจัดรายการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากท่านทั้งสองมาบวชที่วัดสุปัฏวนาราม และเป็นโอกาสดีที่ผมได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดท่านทั้งสอง

ผักกะแญง แรกแย้ม: อัตชีวประวัติ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ตอนที่ ๑

ตอนเรียนอยู่ ม.๕ ไปหาซื้อของเร่ขาย ขายแป้งบาหยัน ขายสบู่ ร้องเพลงเลาะขาย สมเกียรติมาบอกแม่ว่า อ้ายพงษ์ไปเลาะขายของบ่ไปโรงเรียน แม่ใจหายวับเป็นห่วงลูก ย่านลูกเรียนบ่จบ ไอ้พงษ์มันแปลกบ่คือผู้ได๋ เกือบลูกบ่จบ ม.๖ อาจารย์เฉลิม สุขเสริมมาบอกแม่ว่า ลูกเจ้าบ่เข้าเรียนสิบ่ได้สอบ แม่ได้ขอครูให้ลูกสอบ ถึงบ่เข้าเรียนลูกกะบ่แม่นคนชั่วบ่มีนิสัยเกเร มันไปเรียนรู้ตามอารมณ์ของมัน ครูเลยให้สอบ ผลการเรียนออกมา ไอ้พงษ์สอบได้ที่ ๑

“ตลาดนัดสีเขียว” สุรินทร์ ประชาธิปไตยที่กินได้

ตลาดนัดสีเขียว คือเครื่องมือสำคัญ เป็นพื้นที่ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ถูกนำร่องทดลองตั้งขึ้นในหลายพื้นที่ เช่น สงขลา เชียงใหม่ ขอนแก่น มหาสารคาม สุรินทร์ ยโสธร

จักรินทร์ สร้อยสูงเนิน

ผมเป็นนักเขียนได้เกิดจากการอ่านหนังสือคนจะเขียนหนังสือต้องอ่านหนังสือ ถ้านักเขียนคนไหนไม่อ่านหนังสือ คุณจะเป็นนักเขียนได้แค่เศษสวะ และเป็นวรรณกรรมที่มาแล้วหายไป จะไม่มีชื่อปรากฏในวงการนักเขียนไทย

คำโตงโตย : ทางอีศาน 12

อย่าได้วาจาเพี้ยงเขาฮอขมขื่น คำปากอย่าได้ตื้นคือหม้อปากแบน อย่าได้แสนแพนหน้าวาจาเว้าอ่ง ฝูงพี่น้องพงษ์เชื้อซิบ่มี(วรรณคดี “ย่าสอนหลาน”)

มองเครือข่ายชาวบ้านราษีไศล

การชุมนุมปิดล้อมหัวงานเขื่อนเป็นเวลา ๖ เดือนในปี ๒๕๕๒ ปีที่ ๑๖ ในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของชาวราษีไศลและเขื่อนหัวนาเป็นช่วงเวลาแห่งการก้าวกระโดดครั้งใหญ่

สองอาจารย์ศิลปะแห่ง มข.

ทางอีศาน ๑๑: ศิลปะนำชีวิตขอนำเสนอบุคคลที่เป็นอาจารย์และศิลปิน ซึ่งเริ่มต้นบนเส้นทางศิลปะคล้าย ๆ กัน เพราะทั้งสองท่านมาจากรั้วจามจุรีหรือจุฬาฯ คือ อาจารย์เอรุ่นพี่ อาจารย์บีรุ่นน้องชื่อเล่นจริง ๆ ที่ไม่ใช่นามสมมุติไม่ใช่นามแฝง ทั้งสองเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญด้านการศึกษาวิชาศิลปะ สิ่งที่เหมือนกันคือการเข้ามาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สัมภาษณ์ คุณวรพันธ์ โลกิตสถาพร “สถาพรบุ๊คส์”

ในบ้านเราทุกวันนี้ ยิ่งเศรษฐกิจเติบโตก็ยิ่งเกิดช่องว่างระหว่างรายได้ เกิดช่องว่างระหว่างฐานะมากขึ้น อันนี้จะกลายเป็นปัญหาในอนาคต สิ่งที่เราคิดมาตลอดคือ ทำยังไงเราจึงจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำหน้าที่ปิดช่องว่างทางสังคม ปิดช่องว่างในด้านโอกาส
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com