ทางอีศาน 75 : ปิดเล่ม
หยิบค้นเจอหนังสือภาษาลาวเรื่อง “ภูมิใจในวัฒนธรรมลาว” เขียนโดย ดร.พันดวงจิด วงสา (สำนักพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งรัฐ ค.ศ. ๒๐๐๘ หน้า ๕๘-๖๐) อ่านถึงหัวข้อ “สภาพแวดล้อมภายนอกได้ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมของลาว” แล้วอดไม่ได้ ที่จะถ่ายทอดให้ญาติมิตรสหายเพื่อนพี่น้อง ดังต่อไปนี้
ปักหลักให้แน่น แก่นต้องมี
ท่ามกลางสังคมแสงสีเมืองใหญ่ ภาคส่วนอุตสาหกรรม ธุรกิจท่องเที่ยวบริการ ฯลฯ ที่มีเครื่องมืออุปกรณ์และการสื่อสารล้ำสมัย บันดาลให้กิจการการค้าขายเกิดดอกผลกำไรงาม แต่ในภาคส่วนการเกษตร ชีวิตชุมชนคนหมู่บ้านที่เปรียบดั่งกระดูกสันหลังประเทศ กลับไม่อาจหยัดยืนตรงให้คงมั่น ยิ่งนับวันยิ่งไร้หลักไร้แก่น ไร้ความคิดฝันจินตนาการ
ทางอีศาน 70 : ปิดเล่ม
อนึ่ง ขอโปรดเข้าใจว่า การคลี่ภาพมายาคติเพื่อถอดรหัส ‘สัญญปริศนา’ ที่ค้างคาใจในงานเขียนชุดนี้ ผู้เขียนดำเนินการวิเคราะห์และตีความหมายอย่างลุ่มลึกก็จริง แต่กล่าวในเชิงกระบวนการการวิจัยนั้นเป็นการทำได้เพียง “ส่วนเสี้ยวหนึ่ง” ว่าด้วยเรื่อง “ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เท่านั้น
ทางอีศาน 69 : ปิดเล่ม
แวดวงธุรกิจต้อง “ดิ้น” กันเต็มที่ ส่วนหนึ่งดิ้นเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ ส่วนหนึ่งซึ่งแม้เป็นยักษ์ก็ตามแต่ก็ต้องดิ้น เพราะยอดกำไรลดลงมากๆ เสียงกระซิบเบาๆ จากคน “วงใน” ของตลาดขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นในชีวิตประจำวันบอกว่า ยอดกำไรต่ำกว่าปี ๒๕๔๐ ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งเสียอีก!
ชูอาวุธ – “วัฒนธรรม” ขึ้น
ท่ามกลางความ “เน่าใน” ของทุกระบบสถาบัน ส่งผลให้สังคมไทยเสื่อมทรุดลงทุกด้านช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งถีบห่างความต่างทางความคิดของผู้คนไกลกันดั่งฟ้ากับก้นเหว อาวุธที่คนเล็กคนน้อยจะใช้ต่อสู้เพื่อปากท้อง และเทิดศักดิ์ศรีความเป็นคนของตนในห้วงเวลานี้ คือ “งานวัฒนธรรม”
ทางอีศาน 68 : ปิดเล่ม
เดือนธันวาคม “ข้าวนาปี” เริ่มเก็บเกี่ยวกันแล้ว ในสมัยโบราณชนเผ่าต่าง ๆ ทุกชนเผ่ามีการเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวธัญพืช ซึ่งอาจจะเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า “เทศกาลข้าวใหม่” ไม่ว่าธัญพืชนั้นจะเป็น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวชิงเคอ หรือข้าวจ้าว-ข้าวเหนียว ที่เป็นอาหารหลักของคนไท-ลาว
สูงเจิ้นเทิ้น
แดนอีศานที่ราบสูง-สูงเจิ้นเทิ้น อัศจรรย์เกินกล่าวขานประมาณไหน ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์อารยธรรมใด วิวัฒนาการสั่งสมไว้ให้มังมู
ทางอีศาน 61 : ปิดเล่ม
รัฏฐาธิปัตย์กำลังจะนำพาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ไปทางไหน ? มีเรื่องราวที่เราจะนำมาเสนอใน ทางอีศาน อีกมากในฉบับต่อ ๆ ไป เดือนนี้ขอนำวิสัยทัศน์ของรัฐที่เสนอไว้เมื่อปีที่แล้ว ๒๕๕๙ มาเสนออย่างย่นย่อก่อนเท่านั้น
ทางอีศาน 57 ปิดเล่ม
ทุกวันนี้ทั่วโลกใช้ปฏิทินระบบสุริยคติที่สันตะปาปาเกรกอรี่ ที่ ๑๓ ปฏิรูป เป็นสากล ถือวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ คนไท-ไต ดึกดำบรรพ์นั้นใช้ปฏิทิน หนไท ที่ตรงกับระบบปฏิทินโบราณของจีนสมัยราชวงศ์ซาง (ก่อนขงจื๊อเกือบพันปี) ส่วนชาวจีนนั้นมีการปฏิรูปปฏิทินครั้งสำคัญในยุคราชวงศ์ฮั่น
จดหมาย ทางอีศาน 57
ทุกความคิดเห็น ทุกคำแนะนำ คือเสียงสวรรค์ ชาวคณะกอง บ.ก. พร้อมน้อมนำใคร่ครวญเพื่อปรับปรุงแก้ไขครับ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเรามีจุดมั่นทิศหมาย ให้ก้าวเดินอย่างมุ่งมั่นและมั่นคง กรุณาแนะนำมาอีก และส่งข้อเขียนต่าง ๆ มาสบทบอย่าได้ขาดระยะนะครับ.
ทางอีศาน 56 ปิดเล่ม
การเมืองทั่วโลกปัจจุบันเป็นเรื่องของการต่อสู้แบบหมากัดกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ต้องการส่วนแบ่งก้อนโตที่สุดจากหีบสมบัติของภาครัฐ ภาวะปัจจุบันที่เรียกกันว่าการเมืองนั้น จริง ๆ แล้วไม่ใช่การเมือง แต่เป็น "สัมฤทธิ์ผลของกลุ่มผลประโยชน์” ถ้ามวลชนไม่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมการชูธงนำที่เป็นพิษ เช่น
สาส์นจาก ทางอีศาน 52
รศ. วราพร สุรวดี อดีตอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา ม.ศรีนครินทรวิโรฒ วัย ๘๐ ปี ได้มอบมรดกที่ดิน บ้าน - สิ่งปลูกสร้างที่เป็นสถาปัตยกรรมและสิ่งของเครื่องใช้ลํ้าค่า ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน โดยโอนให้กรรมสิทธิ์ กทม. ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๗ เมื่อเดือนที่ผ่านมา อาจารย์วราพรทราบว่าเจ้าของที่ดินข้างพิพิธภัณฑ์ฯมีแผนสร้างตึกสูง ๘ ชั้น ซึ่งจะบดบังทัศนียภาพพื้นที่สีเขียว
ทางอีศาน 49 : ปิดเล่ม
ทุนที่สมดุลสมานฉันท์ ไม่สร้างความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์ ระหว่าง ทุน กับ มวลมหาชน ทุนที่ความคิดสามานย์ สร้างความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์ ระหว่าง ทุน กับ มวลมหาชน ตัวอย่างรูปธรรมเช่น การใช้อำนาจรัฐบังคับถอดถอนสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพยากรของชุมชน, การสร้างมลพิษ การทำลายป่าต้นนํ้าฯลฯ
หมู่บ้าน มีร่างกาย ภูมิปัญญา และจิตวิญญาณ
เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว เมืองไทยของเราประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง ฟองสบู่แตก สาเหตุมาจากยุคโลกาภิวัตน์ ประเทศใหญ่ครอบกินประเทศเล็ก คนเมืองนำทรัพยากรของชาติไปเล่นแร่แปรธาตุ ใช้เงินต่อเงิน จนทำให้ประเทศแทบล้มละลาย ซึ่งในครั้งนั้นเราก็ได้ หมู่บ้าน รองซับรักษาความทุกข์ร้อนของผู้คนพลเมือง
เจาะซอกหาแก่นอีสาน
เริ่มต้นแม้แต่ชื่อเรื่องของบทนี้ก็มีประเด็นให้ซอกหากันแล้ว คือคำว่า อีสาน ซึ่งฟังเผิน ๆ เหมือนจะรู้ ๆ กันอยู่ แต่เมื่อเจาะลึกก็ทำเอาสะอึกและสะดุดคิดทันที อีสาน เป็นชื่อทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ใช่ชื่อชาติพันธุ์วรรณา คำเรียกขานถึงคนที่เกิดอยู่บนที่ราบสูงทางภาคอีสานว่า คนอีสาน หลายคนจึงยังไม่ปลงใจรับ