Category

บทกวี

กาพย์ไขผญา: เงิน-ทอง

๏ ใจหนอใจมนุษย์ จะสูงสุดเมื่อมีธรรม พื้นเดิมอาจมืดดำ โดยสันดานอันดิบดาย ธรรมดาก็ดูดี ไม่เห็นมีที่อันตราย มีญาติมีมิตรสหาย เกิดเจ็บตายเสมอกัน ถึงคราวร่วมทุนค้า หากำไรมาแบ่งปัน...อ่านต่อ

คำผญา คืออะไร?

คำผญา ไม่ใช่ถ้อยคำที่ถูกกล่าวหรือถูกเขียนขึ้นอย่างลอย ๆ แต่คำผญาเกิดจากการสั่งสมอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดท่ามกลางความสุขารมณ์ ความแร้นแค้น เป็นเรื่องเป็นราว เป็นบทเรียนของคนที่เจนจัดมาจากการดำเนินชีวิตที่ยาวนาน จนสามารถสรุปบทเรียนและแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

คำผญา : ความจน

ขึ้นชื่อว่าทุกข์จน หนอผู้คนย่อมชิงชัง รังเกียจดุจสังคัง ในสังคมชมคนมี คนทุกข์แทบซุกหน้า ใต้ผืนหล้าหลบหลีกหนี ใครใครไม่ว่าดี แม้น้องพี่พากันเมิน ต่อเมื่อเราหมั่นเพียร ฐานะเปลี่ยนเป็นนายเงิน มวลมิตรมากชิดเชิญ สุขเหลือเกินเพลินอุรา ใครใครใคร่ต้อนรับ นับพี่นับน้องญาติกา...

ต่อหน้าจิตกาธาน

ร่างของทนง โคตรชมภู กำลังถูกเผาไหม้ ภายในโครงครอบหนาทึบ ส่วนบนเป็นโลงบรรจุศพ ส่วนล่างอัดแน่นด้วยถ่านชุ่มน้ำมัน มีช่องเร่งไฟและปล่องควัน ญาติพี่น้องและเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมพันคนมาชุมนุมร่วมส่งสะการ มาเพื่อเรียน”วิชามนุษย์ที่ชื่อทนง โคตรชมภู”

คำสอนโลกคดีธรรม ภาษาลาว

ช่วงนี้กำลังค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือภาษาลาว ได้พบ “คำสอนโลกคะดีทำ” ในหนังสือ “คำพี อานาจักและทัมมะจัก แห่งทัมมะสาด กดหมายบูรานลาว” ของท่าน สำลิด บัวสีสะหวัด น่าเสียดายที่ท่านสำลิดไม่ได้บอกแหล่งที่มาของเรื่องนี้ และไม่มีอธิบายข้อมูลอะไรเพิ่มเติมไว้เลย ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นธรรมสอนใจดีมาก ใช้ได้ทั้งใน “วันวาน” และ “วันหน้า”

บทกวี ใ น ห้ ว ง ห า ว

เลือกมุมสูงมุ่งใจปีนป่ายฝัน โรงแรมชั้นสูงสุดคือจุดหมาย แดดระยิบลิบฟ้าสาธยาย ตึกอาคารเรียงรายสายตะวัน ดํ่าเจดีย์สีแดดอิฐแสดสด ปรางค์ปรากฏเป็นกลุ่มอีกมุมฝัน ตึกโอ่โถงอีกแถบอิงแอบกัน สารพันทันสมัยอยู่ใกล้ชิด

กาพย์ไขผญา ปากท้องของเต่า-แลน

ผญา: “เต่าหากินกุ้มปากเต่า แลนหากินกุ้มปากแลน” กาพย์: ตัวเต่าเดินหลังตุง กระดืบไต่ไปตามดิน ต้วมเตี้ยมให้ติฉิน ว่าหากินไม่ทันการ สัตว์อื่นสิตัดหน้า เต่าเชื่องช้าน่าสงสาร ที่แท้แม้เต่าคลาน ก็หาเคี้ยวคุ้มปากตน...

จ้วงเป็นบรรพบุรุษไทยหรือไม่?

จ้วงกับไท แยกกันอยู่ ตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจว (ก่อนขงจื๊อ) แล้ว จีนเรียกดินแดนที่จ้วงอยู่ว่า ซีโอว กับ ลั่วเยวี่ย สองชื่อ เรียกดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ลงมาของลั่วเยวี่ยว่า เยวี่ยชาง

โคลงลาว : มนต์มาลาหอม

เป็นที่ทราบชัดเจนมานานแล้วว่า คำประพันธ์ประเภทโคลงของลุ่มเจ้าพระยานั้นได้รับอิทธิพลต้นแบบมาจากล้านนาและล้านช้าง โดยเฉพาะล้านช้างนั้น มีโคลงภาษิตเก่าแก่ซุกซ่อนอยู่นมนาน เพื่อสอนสั่งเตือนสติลูกหลาน บัดนี้ขอขุดค้นมาเผยแผ่แก่หลานเหลนลูกเพื่อปลูกผญาอันไร้กาลเวลาและพรมแดน

ผญา ปรัชญากวี : สัตว์ใหญ่

๐ ช้างสารในไพรสัณฑ์ ได้พฤกษ์พันธุ์กำบังภัย เดินดั้นในดงใด โดยสวัสดิ์พิพัฒน์พร อยู่กินในถิ่นเถื่อน หลายปีเดือนไม่เคลื่อนคลอน จนแก่ใกล้ม้วยมรณ์ จึงเดือดร้อนด้วยโรคภัย ควานคว้าหาเทือกเถา คล้ายคนเรายามป่วยไข้ ยึดเอาเผ่าพงศ์ไว้ หวังอาศัยฝากชีวิน...

บทกวี “อีสาน”

ที่ไหลลึกทั้งหมดในตัวผม คือ “อีสาน” คือภาพวาดของศิลปินที่ยากจนและเก็บตัว เขาชอบสีน้ำตาล สีเขียวและฟ้าอ่อน เขาลากพู่กันเป็นสีเขียวสี่มุม

ดับแดนเกิด

ฝูงเขาสูญเสียความจริงใจให้กับความฉลาดจอมปลอม เขารู้มากขึ้น เอาเปรียบกันมากขึ้น ข่มขืน ชำเราโลกด้วยระบบวิทยาศาสตร์ ความฉลาดดิบ ๆ โลกร้อนเกินไป ไม่มีก้อนน้ำแข็งพอในหม้อน้ำร้อนขนาดใหญ่. เราย่นเวลาในบทสุดท้ายของมนุษยชาติเร็วเกินไปด้วยวัตถุเหลือคณานับ ดับแดน เกิดอันเป็นธรรมชาตินิรันดร เป็นตอนอวสานในฝูงสัตว์ทดลองของพระเจ้า.

ลานข่วงกวี : ผ้าไหมหนองปลาหมอ, บ้านเกิดเมืองนอน

สองมือพือพ่างอ้าง            ทางต่ำตามศิลป์ อวดองค์ลงลายมัด    หมี่ไหมมวลล้วน ดีคนด้าม                            งามหลายคนละต่ง จินตนาการเลิกล้ำ              เห็นแล้วเล่าสะออน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com