Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

หลวงพ่อพระมหาถาวร

ไม่ไกลจากสยามพารากอน ศูนย์การค้ากลางกรุง ท่ามกลางตึกและศูนย์การค้าทันสมัยของอาคารในยุคปัจจุบัน ยังมีสถานที่แห่งหนึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นสถานปฏิบัติธรรมกลางกรุงซึ่งเป็นพระอารามที่เคยเป็นสถานที่จำพรรษาของพระมหาเถรในฝ่ายกรรมฐานหลายรูป อย่างวัดบรมนิวาส วัดปทุมวนาราม

โตเปี๊ยะ (ตัวฟ้าผ่า) ของจ้วง เจ้าฟ้าแผดขวานคำ ของไทอาหม

หมาเก้าหาง ขึ้นไปขโมยเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก ตัวเปี๋ยะ ตัวเปี๊ยะใช้สายฟ้าขว้างใส่หมาเก้าหาง ถูกหางหมาขาดไปแปดหาง หมาเก้าหางหนีรอดมาได้ เหลือหางเพียงหางเดียวแต่ก็ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ ชาวจ้วงดึกดำบรรพ์จึงบูชาหมา

ผีปอบ

เรื่อง “ผีปอบ” เป็นข่าวอีก เพราะมีกรณีพรากลูกพรากพ่อแม่ ด้วยการขับไล่ออกจากหมู่บ้านด้วยข้อหาว่าเป็นผีปอบ ความจริงเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาหลายแห่ง แต่ไม่เป็นข่าว มีทีวีบางช่องไปเจาะข่าวแทนที่จะให้คำอธิบาย กลับทำให้สับสนมากขึ้นไป อีก เพราะไม่ได้ทำการบ้านเพียงพอ

ตำนานเกี่ยวกับเมืองสุวรรณโคมคำ ฉบับภาษาลาว

การก่อตั้งแว่นแคว้นทางภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบันตามตำนาน (ตำนานก็คือการเขียนประวัติศาสตร์ตามแบบของคนโบราณ) แว่นแคว้นแรกคือ “สุวรรณโคมคำ”

‘เบญจมินทร์’ ราชาเพลงรำวง

ทางอีศาน ในส่วนของ เสียงเมือง ฉบับนี้ขอพูดถึงขุนพลเพลงผู้ใหญ่ ซึ่งสำนักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประกาศเกียรติคุณให้เป็น “อมตศิลปินมรดกอีสาน” คนแรกของรางวัลนี้มอบแด่ศิลปินผู้ที่มีผลงาน และยังคงมีชื่อเสียงเป็นที่คุ้นเคยของประชาชนอย่างไม่มีวันเสื่อมคลายได้แก่ ตุ้มทอง โชคชนะ หรือ “เบญจมินทร์” ครูเพลงชาวอุบลราชธานีผู้เปี่ยมไปด้วยความสามารถทั้งการประพันธ์ การขับร้อง อีกทั้งยังเป็นผู้เขียน

ว่าด้วย เงือก (๒) “ตูเงียะ” เงือกของชาวจ้วงในกวางสี

ตามความเชื่อของนักวิชาการกวางสีโดยทั่วไปเชื่อว่า “ตูเงียะ” เป็นจ้าวแห่งนํ้าเช่นกัน แต่คือ จระเข้ เสียงคำว่า “เงียะ” นั้นคล้ายกับสำเนียงจีนกลางคำว่า “เง่อ” (หรือ เอ้อ) ที่แปลว่า “จระเข้” 鳄

๑๒ เดือนของไทมาว

“มาว” เป็นชื่อแม่น้ำ คือแม่น้ำมาว คนไทแถบนั้นก่อตั้งรัฐเมืองมาวหลวงขึ้น มีตำนานว่าก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ ๕๘๖ (ยุคโน้น ยังถูกครอบงำด้วยอำนาจของอาณาจักรหนานเจาหรือน่านเจ้า) ภายหลังจึงมีเอกราช (ตำนานขุนลู ขุนไล ในช่วงประมาณ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)

ยักษ์สะลึคึ ตำนานแม่น้ำโขง

ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว มียักษ์เพศผู้ตนหนึ่งหากินอยู่บริเวณที่เป็นอาณาเขตของประเทศจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ในปัจจุบัน ยุคนั้นบ้านเมืองต่าง ๆ ยังไม่มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ จะมีเพียงผู้คนอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามป่าเขา ชาวบ้านทั่วไปจะรู้จักยักษ์เพศผู้ตนนี้ดี เพราะเวลามันเดินทางไปหาอาหาร จะเกิดเสียงดังสนั่นเหมือนกับเกิดแผ่นดินเลื่อนหรือแยกออกเป็นร่อง พอชาวบ้านได้ยินเสียงดังกล่าวจะพากันอพยพหลบหนีไปซ่อนตัวตามหุบเขาให้พ้นเส้นทางที่ยักษ์ตนนี้เดินผ่านจะได้ปลอดภัย

แกะรอยคำว่า เงือก

การเปลี่ยนความหมายของ “คำ” เป็นเรื่องปกติ ความหมายดั้งเดิมของคำบางคำ เช่นคำว่า “เงือก” ในภาษาไท-ลาวโบราณ เปลี่ยนไปจนหมดเค้าเดิม ถ้าถามเด็ก ๆ ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบคือ “นางเงือก” (mermaid) ครึ่งคนครึ่งปลา ถ้าถามผู้ใหญ่ในอีสาน ว่า “เงือก” คือตัวอะไร คำตอบที่ได้ฟังบ่อยคือ เป็นสัตว์นํ้าประเภทปลาไหลไฟฟ้า , เป็นผีนํ้า ทำให้คนตาย ฯลฯ

วรรณกรรมสมัยกรุงธนบุรี เล่มที่สอง [๕]

มุขปาฐะเรื่องปาจิต อรพิม นี้ ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบโคลงในสมัยอยุธยา ตัวธรรมลาวปัญญาสชาดก แต่การบันทึกลายลักษณ์อักษรในฐานะ ตำนานเมืองพิมายนั้นเป็นการยืมโครงเรื่องของเรื่องเล่านิทานปรัมปราที่กลายเป็นชาดกนอกนิบาต และกลับกลายเป็นตำนานท้องถิ่น

พื้นสืบ

“พื้นสืบ” ในภาษาลาว หมายถึง เรื่องเล่าพื้นบ้าน มีเนื้อหาเล่าถึงประวัติของ บุคคล, เหตุการณ์, สถานที่, ชุมชน, บ้านเมือง ฯลฯ ดั้งเดิมเป็นวรรณกรรม “มุขปาฐะ” คือเรื่องเล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีการเขียนบันทึกเชิงประวัติศาสตร์ เนื้อหาของพื้นสืบถูกปรับปรุง ถูกตัดทอน ให้ดูเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ทางอีสานบ้านเรา เรียกวรรณกรรมประเภทนี้ว่า “หนังสือพื้น”

ฤกษ์งาม ยามดี : โลกเก่าที่เล่าซํ้าบนโลกใหม่

การแสดงจุดยืนด้วยท้องถิ่นนิยมที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมอีสานปัจจุบัน เช่น การรณรงค์อาหารอีสาน การเที่ยวเมืองอีสาน การรื้อฟื้นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน ตลอดถึงการฟื้นฟูภูมิปัญญาอีสาน

กลอนบทละคร (๑๕-๑๖)

บทพากย์ นางลอย ยุคอยุธยา เทียบกับพระราชนิพนธ์ ร.2 ขนบการประพันธ์ของไทยโบราณ ผู้ประพันธ์จะถ่อมตน บางเรื่องไม่แถลงนามผู้ประพันธ์ หลายเรื่องที่ลงท้ายเชิญให้ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าช่วยแก้ไขปรับปรุงให้ด้วย

ผู้หญิงแนวหลัง

ผู้หญิงแนวหลังที่ผมขอเอ่ยนามไว้ คือท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ นางนิวาศน์ ศิริขันธ์ นางบังอร ภูริพัฒน์ นางทองคำ ดาวเรือง นางบุญทัน อุดล และ นางแตงอ่อน จันดาวงศ์ ภรรยาของ นายครอง จันดาวงศ์ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้าที่ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ผู้หญิงแนวหลังกลุ่มนี้ เป็นผู้หญิงอีสานทั้งหมด ยกเว้นท่านผู้หญิงพูนสุข พนมยงค์ ต้องมีชีวิตที่ต้องต่อสู้ความรู้สึกทั้งภายใน และภายนอก

ปริศนาสุริยะเทพ

ประติมากรรมหินรูปสุริยะเทพ พบไม่มากในอาเซียน และที่พบในไทยและกัมพูชานั้นแตกต่างจากที่พบในชวาชัดเจน สุริยะเทพที่พบในไทยและกัมพูชาส่วนหนึ่งสวมหมวกแขกหรือที่เรียกว่า กีริฎมงกุฎ อีกส่วนหนึ่งสวมหมวกแขกเหลี่ยม บางรูปมีหนวดเครา (เช่นองค์ที่พบ ที่ศรีเทพ) สุริยะเทพสวมหมวกเหลี่ยมนี้ ผู้รู้ท่านว่าเป็นลักษณะพิเศษที่พบในอาเซียน แต่ไม่พบในอินเดีย ส่วนสุริยะเทพสวมหมวกแขกนั้นเป็นอิทธิพลช่างอินเดีย
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com