Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

เกษตรอินทรีย์ ฟื้นชีวิตเกษตร กอบกู้โลก

นอกจากข้าวอินทรีย์ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป ๑๐-๑๕ % เกษตรกรยังได้ผลดีหลายด้าน หลังพ้นระยะปรับเปลี่ยน ๓ ปีไปแล้วดินจะฟื้นฟูสภาพ ผลผลิตสูงกว่าเดิมต้นทุนผลิตลดลง สิ่งแวดล้อมในนา กบ เขียด ปู ปลา ก็กลับคืนมา ค่าใช้จ่ายครัวเรือนลดลงสุขภาพคนทำเกษตรอินทรีย์ดีขึ้น ความเป็นครอบครัวก็กลับคืนมาด้วย

“สุรวิทยาคาร” คู่สุรินทร์

พลิกดูประวัติของชาวสุรินทร์ที่มีชื่อเสียง มีผลงานสร้างสรรค์ความดีงามไว้ให้สังคมไทยมากมาย ล้วนจบการศึกษาจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร ร้อยกว่าปีที่ก่อตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นมา ผู้บริหารและคณาจารย์ร่วมกันพัฒนาการศึกษา อบรมนักเรียน สร้างทรัพยากรชั้นนำจำนวนมากให้แก่ประเทศไทย ล่าสุด (ธันวาคม ๒๕๕๕) โรงเรียนสุรวิทยาคาร จัดเป็นโรงเรียนที่ดีเด่นอันดับที่ ๗๑ ของประเทศไทย หมุดหมายสำคัญของโรงเรียนสุรวิทยาคารมีย่อ ๆ ดังนี้

บุญบั้งไฟ

อย่างไรก็ตาม ชาวอีสานส่วนหนึ่งยังเข้าใจว่าการจุดบั้งไฟมีเฉพาะในภาคอีสานและ สปป.ลาว เท่านั้น อันที่จริงประเพณีการจุดบั้งไฟขึ้นฟ้าเพื่อเรียกฝนนั้น มีในคนไทและคนตระกูลภาษาไทกะได กลุ่มอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทโยน(ล้านนา) ไทลื้อ (ดูเรื่อง “จิบอกไฟ”), ไทใหญ่ในแม่ฮ่องสอน จุดบอกไฟในปอยเจดีย์ทราย เดือนมิถุนายน (กลุ่มอื่น ๆ มีในชนชาติผู้ญัย อำเภอซิ่งเหญิน มณฑลกุ้ยโจว-รอยต่อระหว่างกุ้ยโจว-ยูนนาน-กวางสี มีเทศกาล “จุดบอกไฟน้อย”) เป็นต้น

กราบอาจารย์มานิต วัลลิโภดม และอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

ในการนำเรื่องราวแอ่งอารยธรรมสกลนครขึ้นปกนี้ ถือเป็นปฐมแห่งการเรียนรู้ผลงานทรงคุณค่าของอาจารย์ทั้งสองท่าน ผู้ร่วมรุ่นบุกเบิกและได้หักร้างถางพงงานด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มนุษยวิทยา ฯลฯ มาด้วยชีวิต อาจารย์มานิต ท่านเป็นข้าราชการกองโบราณคดี กรมศิลปากร ในระดับปราชญ์ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีรุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย

เขาบอกว่า “เสี้ยวจันทร์” เป็น “นักปั้นซีไรต์”

เสี้ยวจันทร์ : ความจริงใจ ความเชย ถ้างานเขียนเหมือนหนัง ปัญญา เรณู ที่ บิณฑ์ บันลือฤทธิ์ กำกับ หนังดีมาก ตลาด ๆ แต่อาร์ตนะ มันออกมาจากข้างใน ชอบตุ๊กกี๊ อยากให้ตุ๊กกี้เขียนบทกวี จะส่งประกวด/ ถาม : งานเขียนของคนอีสานนักเขียนอีสานมีอะไรที่น่าสนใจบ้างไหม/ เสี้ยวจันทร์ : ฟ้าบ่กั้น ลาว คำหอม ภูเขาใหญ่ ดอกอะไรก็ไม่รู้ สุรชัย จันธิมาธร/ ถาม : จุดอ่อนของงานเขียนของนักเขียนอีสานของเราคืออะไร/ เสี้ยวจันทร์ : ขาดความเป็นสากล ซึ่งความเป็นสากลนั้นต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบศิลป์มากมาย เหมือนตัดต้นไม้ทั้งป่า แต่ทำเก้าอี้ได้ตัวเดียว

คำผญา คืออะไร?

คำผญา ไม่ใช่ถ้อยคำที่ถูกกล่าวหรือถูกเขียนขึ้นอย่างลอย ๆ แต่คำผญาเกิดจากการสั่งสมอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดท่ามกลางความสุขารมณ์ ความแร้นแค้น เป็นเรื่องเป็นราว เป็นบทเรียนของคนที่เจนจัดมาจากการดำเนินชีวิตที่ยาวนาน จนสามารถสรุปบทเรียนและแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

มะอื่อสูง… สวัสดีปีใหม่ (๕)

คำว่า /มะอื่อสูง/ หรือที่เขียนกันในชั้นหลัง ว่า |ใหม่สูง| เป็นคำทักทายที่ชาวไทใหญ่ใช้เมื่อ พบปะกัน มีความหมายทำนองเดียวกับคำ “สวัสดี” ที่ใช้กันทั่วไปในภาษาไทยกลาง |สวัสดี| เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตว่า |savasati| คำนี้มีที่ใช้ในภาษาเขมรด้วย ออกเสียงว่า /suasadey/ ในภาษาไทใหญ่ /มะอื่อ/ คือคำที่ออกเสียงได้ค่อนข้างยากสำหรับคนไทยทั่วไป

ฮีตเดือนสี่

คำว่า “ผะเหวด” เป็นชื่อของพระโคตมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แสดงถึงพระจริยวัตรเมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์เวสสันดร มีการจารเป็นหนังสือชาดกเรื่องยาวถึง ๑๓ ผูก มักจัดงานบุญผะเหวด หรือบุญมหาชาติหลังออกพรรษาแล้ว จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ เพราะเดือนนี้ว่างไม่มีประเพณีใด ปราชญ์อีสานจึงจัดไว้เดือนนี้ซึ่งเป็นฤดูแล้ง ชาวบ้านว่างจากการทำไร่ทำนา

ตอนเปิดผ้าม่านกั้ง แรกหลงฮอยอีสาน

ไทบ้านเฮาก็บ่มีอีหยังดอก อาศัยความเพียงจริงใจเท่านั้นแหละหล่า ขณะที่ปล่อยให้เปลือกมะรุมปลิวคว้างไปกับสายลมของฤดูแล้งที่พัดมาจากทิศใต้.. รสชาติทั้งฝาดทั้งขมจนขื่นอยู่ในคอ หากแต่เพียงชั่วประเดี๋ยว น้ำลายที่กลืนตามลงไปกลับทำให้เกิดเป็นรสหวานชุ่มคอดีแท้ จนอดคิดเข้าข้างตัวเองไม่ได้ว่านี่อาจเป็นปริศนาธรรมที่ยายเคนบอกใบ้ไว้

ฮีต-คอง : อิ่มแล้ว…พาน้องไปเล่นวัด

อิ่มแล้ว...พาน้องไปเล่นวัด ประโยคนี้ให้สิ่งที่เป็นคุณค่าแก่คนอีสานมากกว่าอรรถหรือพยัญชนะ อิ่มแล้ว โดยอรรถหมายถึง อิ่มจากการรับประทานมื้อเย็น ซึ่งเป็นมื้อที่เย็นจริง ๆ คือ ข้าวไม่ร้อน เพราะยังไม่ถึงเวลาอุ่นข้าวเนื่องจากยังไม่เย็นมาก ... ยังไม่ถึงยามแลง-ยามงาย เป็นช่วงที่พ่อ-แม่ยังวุ่นอยู่กับงาน ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องหุงหาอาหาร เป็นการกินเพื่อรองท้อง มากกว่าจะกินเอาอิ่มเอาออกและสะท้อนให้เห็นว่า ภารกิจนำน้องไปวัดนั้นต้องใช้เวลา และใช้พลังงานมาก จึงต้องรองท้องให้มีแรงก่อน

“ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เป็นการสาวรกรากต้นตอคนไท|ไต|ลาว|สยาม|ไทย ผ่าน “สัญญปริศนา”

“ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไท” เป็นการสาวรกรากต้นตอคนไท|ไต|ลาว|สยาม|ไทย ผ่าน “สัญญปริศนา” ในภาพชุดประติมากรรมบนฝากลองมโหรทึกและหม้อใส่เบี้ยของอาณาจักรเตียนในยูนนาน โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎี “อรรถปริวรรตกรรม”

การปรากฏตัวของนักการเมืองคนกล้า กับฉากอำลาตำแหน่งนายกฯ ของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (๕)

ก่อนจะพูดถึงบทบาทของ ส.ส. อีสานรุ่นที่ ๒ จากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และเป็นกลุ่มนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน และของประเทศไทย ควรจะทำความเข้าใจบทบาทชีวิตทางการเมืองของพันเอกพระยาพหลฯ นายทหารนักประชาธิปไตย เพื่อจดจำรำลึกถึงคุณูปการของท่านเพิ่มเติมจากที่เขียนไว้ในบทที่สี่

‘น้าสนับ’ เพื่อนทุกข์ยามยาก ตอนที่ ๔

แม่หวานก็เหมือนเตี่ยเถ๊า ที่แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมแหล่งอบาย แต่ท่ามกลางกลิ่นคาวกามกลับแฝงและอบอวลด้วยปรัชญา แม่หวานมักพร่ำสอน ‘พี่’ เสมอว่า “พวกมึง คนเขามองว่าต่ำ ต้องทำตัวให้มันดีมึงไม่ได้ขอใครแดก มึงมาเพื่อหาเงินส่งพ่อแม่ เพื่อเลี้ยงครอบครัว ถ้ามึงไม่ทำตัวชั่ว มันไม่ใช่เรื่องชั่วหรอก”

ปรีชา พิณทอง ช่วยมองโลกมองชีวิต

ปรีชา พิณทอง ควรได้รับการยกย่องให้เป็น “บรมครู” หรือ“ปรมาจารย์” ด้วยประวัติและผลงาน ที่ได้สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมด้วยการ “สืบทอด ถอดรหัส พัฒนา” ภูมิปัญญาอีสาน พ่อปรีชา พิณทอง เกิดที่อำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี ๒๔๕๗ บวชเรียนตั้งแต่ยังเด็ก สอบได้นักธรรมตรี โท เอก ตั้งแต่เป็นสามเณร และสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยครับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาของสงฆ์ในจังหวัดได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระศรีธรรมโสภณ” ก่อนจะลาสิกขาเมื่อปี ๒๕๐๕

บ้านปากอูน : จากหมู่บ้านปลาชุม (แต่ขาดข้าว) มาเป็นตลาดสดห้าดาว

บ้านปากอูนเป็นหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งของอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำสงคราม ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในแอ่งสกลนคร และเป็นแม่น้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ที่สุดของภาคอีสาน หมู่บ้านนี้จึงเคยเป็นหมู่บ้านที่จำหน่ายปลาสด ปลาแห้ง ปลาร้า ไปทั่วทั้งอีสานเหนือ และหลายจังหวัดในแอ่งโคราช
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com