ปิดเล่ม ทางอีศาน 129
หนังสือดีมีคุณค่าน่าหยิบอ่าน
“ทางอีศาน” งานของเฮาเอามาเผย
สารเด็ดเผ็ดมันครบครันเลย
แสนเสบยอ่านสบายหลายอารมณ์
ปิดเล่ม ทางอีศาน 128
สมมุติกาลเวลาปี ๒๕๖๕ กำลังสิผ่านไป ได้เห็นปรากฏการณ์ฟ้าฝนน้ำมาก ที่ลุ่มชุ่มฉ่ำและเสียหาย คนนาดอนข้าวงาม สายน้ำปีนี้ยังชี้บอกว่า ระบบเขื่อนสร้างปัญหาบ่จบให้กับระบบนิเวศ - ธรรมชาติ - มนุษย์
ยิ้มรับปีใหม่
ยิ้มจากความไร้เดียงสา ยิ้มโดยธรรมชาติ ยิ้มจากพลังบวก แม้เพียงปรากฏที่มุมปาก ที่ดวงตา ยิ่งยิ้มทั้งใบหน้า ย่อมทำให้ผู้รับสารและแม้กระทั่งโลกทั้งใบสดชื่นแจ่มใสมีชีวิตชีวาทันที
ทศวรรษสากลของภาษาพื้นเมือง
วันที่ ๙ สิงหาคมของทุกปี สหประชาชาติกำหนดให้เป็นวัน “ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก” ปัจจุบันชนเผ่าพื้นเมืองมีสัดส่วนร้อยละ ๖.๒ ของประชากรโลก มีภาษาพูดกว่า ๔,๐๐๐ ภาษา (ทั้งโลกมีภาษากว่า ๗,๐๐๐ ภาษา) ซึ่งภาษาจำนวนมากนี้กำลังเสี่ยงต่อการสูญหาย ดังนั้นจึงเกิดโครงการ “ทศวรรษสากลของภาษาพื้นเมือง (พ.ศ.๒๕๖๕ - ๒๕๗๕)” ขึ้น โดย ยูเนสโก (UNESCO) - องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เป็นผู้รับผิดชอบ
ปิดเล่ม ทางอีศาน 127
สรุปน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและท่วมขัง ระหว่างวันที่ ๒๘ กันยายน - ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๕ เกิดขึ้นในพื้นที่ ๕๙ จังหวัด ๓๒๘ อำเภอ ๑,๕๘๖ ตำบล ๙,๗๗๘ หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ ๔๔๓,๕๑๐ ครัวเรือน
[ข้อมูลจากข่าว ๓ มิติ]
“หนังสือ” ไม่มีวันตาย
สำหรับประเทศไทย ถือกันว่า “หมอบรัดเลย์” มิชชันนารีชาวอเมริกัน เป็นผู้นำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์อักษรไทยมาใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรกเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๘
ปิดเล่ม ทางอีศาน ๑๒๖
กรณีวิกฤต “โรคห่าตำปอด” ที่ลามระบาดไปทั่วโลกร่วม ๓ ปีนั้น แหละแล้ววันคืนที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง ต้องบันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโรคโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ นี้เป็นต้นไป
อาจารย์เสรี พงศ์พิศ มาพบผู้อ่านที่บูธ “ชนนิยม ~ แม่คำผาง ~ ทางอีศาน” E32
อาจารย์เสรี พงศ์พิศ มาพบผู้อ่านที่บูธ “ชนนิยม ~ แม่คำผาง ~ ทางอีศาน” E32 พร้อมมอบลายเซ็นด้วยไมตรีและเป็นที่รำลึก
ปิดเล่ม ทางอีศาน 125
บรรยากาศการเมืองช่วงหนึ่งเดือนกว่านี้ จากวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องเพื่อวินิจฉัยเวลาการทำงานของนายกรัฐมนตรีว่าครบ ๘ ปีหรือยัง ไปจนถึงภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๕ เรียกได้ว่าอยู่ในภาวะแย่งยื้อไขว่คว้าอำนาจนำของกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ
ภ า ษ า : มงกุฎวัฒนธรรม
ภาษาคือสุดยอดการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมของผู้คน ในแต่ละยุคแต่ละชุมชนทางการค้าผู้คนจากหลากหลายเผ่าพันธุ์จะรับรองใช้ภาษาหลักสื่อสารร่วมกัน เจ้าอาณานิคมเข้าครอบครองแผ่นดินใดได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ด้วยการลบกลืนภาษาถิ่นนั้นให้สิ้นซาก อารยชนใดด้อยค่าปล่อยทิ้งภาษาของตนก็จะเป็นเช่นผงธุลีที่ปลิวคลุ้งให้คนต่างด้าวท้าวต่างแดนเข้าเหยียบย่ำ
คำนำสำนักพิมพ์ – เสบียงความคิดฝัน
เรื่องราวของชีวิต ความคิด จินตนาการ แบบอย่างปฏิบัติของมนุษย์ที่เกิดมารุ่นแล้วรุ่นเล่าบนโลกนี้ ล้วนแต่เป็นบทเรียนชีวิตสอนชีวิตที่แท้จริง
จากใจสำนักพิมพ์แม่คำผาง
เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา คุณทองแถม นาถจำนง ได้พบหนังสือ “ทิพยนิมิต” ฉบับร้อยกรองบทละคร ประพันธ์โดย พลอากาศตรี นายแพทย์ทิพย์ นาถสุภา และเมื่อมีโอกาสจึงนำไปมอบให้อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ผู้เป็นบุตรคนเดียวของผู้ประพันธ์ พร้อมทั้งขออนุญาตจัดพิมพ์ อาจารย์ฉัตรทิพย์ดีใจมากที่คุณทองแถมเห็นคุณค่า ประกอบกับท่านกำลังจะจัดพิมพ์หนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงอาจารย์ฉลวย นาถสุภา ผู้เป็นมารดา จึงขอจัดพิมพ์หนังสือ “ทิพยนิมิต” เอง เป็นหนังสือแจกเล่มหนึ่งในงานนั้น
สาส์นจากทางอีศาน – เชิญชวนท่องเที่ยววัฒนธรรมทางอีศาน (ครั้งที่ ๓)
เชิญชวนท่องเที่ยววัฒนธรรมทางอีศาน (ครั้งที่ ๓) 0 “เที่ยวแอ่งอารยธรรมอีสานเหนือ ~ สกลนคร”
ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๕
ตุ้มโฮมเพื่อนมิตรโดย นิตยสาร|มูลนิธิ| “ทางอีศาน” # นำเที่ยวโดย รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ และคณะวิทยากรชำนาญการ
ติดต่อ/ประสานงาน คุณแตงกวา ๐๘๖ ๓๘๘ ๙๐๙๕, คุณปุ๊ก ๐๘๖ ๓๗๘ ๒๕๑๖
รากเหง้ามีทั้งดีและเน่าเสีย
คำขวัญของนิตยสารรายเดือนทางอีศาน คือ “ลึกซึ้งรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต” “รากเหง้า” ถ้าไม่ลึกซึ้งแล้ว เราจะไปเข้าใจและรู้ทันอะไรไม่ได้เลย
ปิดเล่ม ทางอีศาน 124
กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีการเลือกตั้งผู้ว่าทุก ๔ ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดก่อนรัฐประหารของ คสช. มีขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖ ผ่านมาถึง ๙ ปีจึงมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา