มหัศจรรย์ ‘ภูพาน’ บันดาลใจ (๑)
รูปลักษณ์ของดอกเหียงแลดูคล้ายเครื่องหมาย “สวัสดิกะ” ของชาวพุทธฝ่ายมหายาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก “สวัสดิกะ” ของชาวฮินดู เพียงแต่หมุนกลับข้างกัน (ของฮินดูหมุนวนทางขวา ของฝ่ายพุทธหมุนวนซ้าย) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์มงคล เป็นเครื่องหมายแห่งพลวัตร การเคลื่อนไหว...
วรรณคดีและชีวิตสามัญ คือคลังแห่งภาษา
รู้ภาษาหลายภาษาเท่าใดก็ยิ่งดี สมองคนเราคิดจากภาพออกมาเป็น คำศัพท์ คนเรารู้คำศัพท์มากเท่าใด ก็ยิ่งคิดได้มากคิดได้กว้างได้ลึกกว่าคนที่รู้คำศัพท์น้อย อย่านึกว่า การเรียนวิชาภาษาไทย ให้อ่านวรรณกรรม วรรณคดี มาก ๆ มันไม่มีความหมายไร้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
จากกรรมกรสู่คอลัมนิสต์ นักเขียน ป.๔ “เสรี ทัศนศิลป์”
เขาบอกอย่างไม่เคยอายใครว่า เขาจบการศึกษาเพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากบ้านเกิดอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จับพลัดจับผลูเข้ามาเป็นกรรมกรลูกจ้างในโรงงานรองเท้า และขยับฐานะเป็นเจ้าของธุรกิจ ปัจจุบันเขามีโรงงานทำรองเท้าเล็ก ๆ แบบอุตสาหกรรมในครอบครัวเป็นของตัวเอง มีลูกน้องบริวารร่วมงานกว่า ๒๐ ชีวิต และลูก ๆ อีก ๒ คน ที่ต้องดูแลร่วมกันกับภรรยา
Visions for Mo Lam in Mainland Southeast Asia : การก้าวข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรมดนตรี
In the old days music of Isan or Northeast Thailand was rarely known or appreciated by outsiders. It was considered an inferior music; the musicians and singers (molam) were looked down by people or musicians of other cultures. The Isan people themselves, especially educated people---college students and professors, also felt insecure in their arts.
สายธาร นิทานอีสาน
นิทานเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนชีวิต ค่านิยม และความเชื่อของผู้คนในสังคม เป็นเรื่องราวที่ผู้คนบอกเล่าสืบต่อกัน จากรุ่นปู่สู่รุ่นพ่อ จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน สืบสานกันไปเรื่อย ๆ แฝงคำสอนใจ แฝงบทเรียนเป็นเสมือนมรดกตกทอดของแต่ละสังคม ภาคอีสานมีนิทาน ตำนานมากมายหลากหลายประเภททั้งนิทานชาดก นิทานกลอนลำ นิทานก้อม ซึ่งส่วนมากเล่ากันมาแบบปากต่อปาก (มุขปาฐะ)
วัฒนธรรมบ่อน้ำ น้ำส้าง น้ำส้างแส่ง
นึกย้อนไปถึงฤดูร้อน พ.ศ. ๒๕๐๗ ณ หมู่บ้านชาวกวยแถบเชิงเขาพนมดองแร็ก เมื่อคราวเป็นเด็กน้อยอายุ ๖-๗ ขวบ เคยตามแม่ไปตักน้ำตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่าง แม่ให้ไปเป็นเพื่อน สงสัยว่าทำไมต้องไปแต่เช้ามืดขนาดนี้ พอไปถึงก็เห็นผู้หญิงทั้งสาวและวัยกลางคนนั่งบ้าง ยืนบ้าง มือก็จับไม้คานไว้ รอคิวตักน้ำ ใครที่ได้ตักน้ำก่อนก็จะได้หาบน้ำใสสะอาดกลับบ้าน
เนียง ด็อฮ ทม นางนมใหญ่
ตำนานเรื่อง “เนียง ด็อฮ ทม” (นางนมใหญ่) แพร่หลายอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ มีนิทานเกี่ยวกับนางนมใหญ่ (ด็อฮ ทม หรือ เดาะทม) อยู่สองเรื่อง คือเรื่องเกี่ยวกับเมืองภูมิโปน กับเรื่องเกี่ยวกับเมืองสุรพินทนิคม เดือนนี้ขอเล่าเรื่องแรกก่อนครับ
น่าเสียดายที่ผู้คนผ่านไปผ่านมาทางสุรินทร์โดยไม่รู้ว่า ที่อำเภอสังขะมีโบราณสถานปราสาทวัฒนธรรมเจนละที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทยตั้งอยู่ นั่นคือปราสาทภูมิโปน
นิทานประจำถิ่น ปาจิต อรพิม และฉบับตำนานเมืองพิมาย [๓]
คำว่า ปาจิต อรพิม เป็นคำที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อแสดงความเป็นกลาง ท่ามกลางความหลากหลายของการสะกดชื่อตัวละครเอกของนิทานเรื่องนี้ ในปัญญาสชาดก เรียก พระปาจิตตนางอรพิมพ์ ในวรรณกรรมคำกลอน เรียก พระปาจิตต นางออระภิม
ของชิ้นเอกเมืองอุบลฯ
ผมควรจะเขียนเรื่องนี้ก่อนเป็นปฐมแต่ก็ไม่ได้เขียน เพราะไปเขียนเรื่องของชิ้นเอกแต่ละชิ้นแต่ละแห่งของเมืองอุบลฯ ที่ตัวเองชอบชื่นชม ตระเวนไปแบบไร้ระบบ คิดถึงที่ไหนก็ไปที่นั่น แยกแยะกันไปตามความชอบ บางแห่งก็ผ่านเลยไปในขณะที่มันมีความสำคัญมากมากซึ่งต้องดูก่อนที่อื่นอื่นเพื่อความเข้าใจและสะดวกในการติดตาม แต่ผมก็ไม่ได้ทำกลับพาไปดูงานศิลปกรรมอันลํ้าค่าทางความงามอย่างตามใจตัวเอง ที่มาเขียนเรื่องของชิ้นเอกเมืองอุบลฯ ตามหลังนี่ก็เพราะคิดถึงความงามของชิ้นงานอันสำคัญที่พาผมให้รู้จักบ้านเกิดตัวเองดีขึ้น
ศีลธรรมกับวัฒนธรรม
ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และเบญจธรรม คือ ศีล ๕ และธรรม ๕ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สะดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญสังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้
“คนตง” มังกรไห่หนาน : จากตงซิคิวถึงประสาท ตงศิริ ตอนที่ ๑ ย้อนรอยบรรพชนแต๊ต๋ง
วันที่ครอบครัวญาติพี่น้องลูกหลานของ...ตระกูลตง...ต้องร่ำไห้เสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสูญเสียบุคคลที่รักยิ่ง ผู้เป็นตำนานสร้างคุณงามความดี ริเริ่มพัฒนาสกลนครในหลายด้าน ต่อสู้กับความอยุติธรรมมาตลอดชีวิต วันที่ เฮียอ้อด เสี่ยอ้อด หรือ “อ้อด ละเบ๋อ” - คุณประสาท ตงศิริ จากลาเพื่อนพ้องน้องพี่ไปอย่างไม่มีวันกลับปิดตำนานประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง มังกรตงไห่หนาน ตงฮีนอ้อด...
ข้าวหรือขนม
ขนมของคนไทยโบราณ ที่เชื่อว่ามีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และสืบทอดต่อมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์
เป็นขนมที่มีเรียกกันให้เป็นปริศนาชวนสงสัย ขนมที่ว่านี้ก็คือ
ขนมไข่กบ ขนมนกปล่อย ขนมนางลอย และขนมไอ้ตื้อ
ขนมที่ว่านี้ มีชื่อเรียกกันสั้น...สั้นว่า “ขนมสี่ถ้วย” คือจะต้องเป็นของคู่กันตามงานบุญ งานกุศล งานมงคล
พุกาม : มรดกโลกใหม่ของพม่า
มิถุนายน 2562 ในที่สุดองค์การยูเนสโกก็ประกาศขึ้นทะเบียน พุกาม เป็นเมืองมรดกโลกแห่งใหม่ล่าสุดของพม่า เมืองที่เซอร์ เจมส์ สก็อต ประพันธกรชาวอังกฤษ ถึงกับพรรณนาไว้ในหนังสือ “The Burma, His Life and Notions” ตั้งแต่ พ.ศ.2425 หรือเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้วว่า...
“…ในบรรดาเมืองที่เกี่ยวข้องกับศาสนาในโลก ไม่ว่าจะเป็นเยรูซาเร็ม โรม เคียฟ พาราณสีไม่มีเมืองใดที่มีวัดวาอารามอยู่มากมายเป็นที่เชิดหน้าชูตาของเมืองเท่าพุกาม…
ศาสตร์และศิลป์กับคนอีสาน
ภาคอีสานเป็นสังคมปิดมานาน ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับต่างชาติ ต่างวัฒนธรรมมากเหมือนคนใต้ ที่ทะเลเปิดทั้งซ้ายขวา ไม่ว่าแขกจีน อาหรับ ฝรั่งก็มาเทียบท่า ย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยปะปนมาหลายร้อยปี ทำให้คนใต้คุ้นเคยกับคนแปลกหน้า และกลายเป็นความไม่ไว้ใจไปด้วยภาพโดย สุชีลา เพชรแก้ว เพราะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับคนแปลกหน้าจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้มาดี คนใต้รู้จักเงินตราและค้าขายกับคนต่างถิ่นก่อนคนไทยภาคอื่น ๆ
เส้นทางวัฒนธรรมคืออะไร [๒]
เรื่องของพระปาจิตและนางอรพิม เป็นเรื่องราวที่เล่าต่อ ๆ กันมาในหมูชุ่มชนชาวอีสานและลาว ที่มีความโดดเด่นในด้านการเล่าเรื่องจากสถานที่ เป็นการบอกที่มาของภูมิศาสตร์และชื่อบ้านนามเมือง เช่นการบอกที่มาของชื่อภูเขาแม่นํ้า เนิน โคก ต้นไม้ ดอกไม้ ที่มีลักษณะแปลกรวมทั้งที่มาของชื่อหมู่บ้านว่ามีที่มาอย่างไร จึงเป็นที่มาของการจัดการรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับภูมินามเหล่านี้ ให้เป็นเส้นทางที่ต่อเนื่องกันจนกลายเป็นเส้นทางวัฒนธรรม