Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ผ้าย้อมคราม กับสงครามกรุงทรอย

หนังฮอลลีวูดนี้ใช้เสื้อผ้าย้อมครามทั้งเรื่องจะเห็นนักแสดงหลัก ๆ ทุกคนแต่งตัวด้วยผ้าย้อมคราม เป็นผ้าจากจังหวัดสกลนคร ด้วยเหตุผลว่านอกจากสวยงามแบบคลาสสิกแล้ว ยังเป็นสีสันที่สะท้อนความ “โบราณและอมตะ”

เทพนม

ในพิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน มีศิลปวัตถุไม้แกะสลักชิ้นไม่ใหญ่สะดุดตาเป็นรูป “เทพนม” สำหรับชาวไทยแล้วประติมากรรม,ปูนปั้น, ลายประดับตกแต่งอาคาร รูป “เทพพนม” นั้น ชาวไทยพบเห็นอยู่ทั่วไปแทบจะทุกหนทุกแห่ง จากศาลพระภูมิในบ้าน, วัด, ราชวัง ฯลฯ

ทางอีศาน : “สิลิพอน-เพ็ดดาวอน” นักล่าฝัน…ไร้พรมแดน

คนไทยรู้จัก “สิลิพอน” มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ เมื่อเธอ Cover เพลง “แก้วรอพี่” ของพุ่มพวง ดวงจันทร์ เผยแพร่ทางช่องยูทูป Una studio จนมียอดวิวทะลุหลักล้าน แถมสื่อโซเชียลไทยยังหยิบมาเล่นข่าวกันครึกโครม นอกจากนี้ สิลิพอนยัง Cover เพลงดัง ๆ ของลาวอีกหลายสิบเพลง

รอยพระพุทธบาทในตำนานอุรังคธาตุ

ปาทลักษณะนิทาน หรือเรื่องราวของการประทับรอยพระพุทธบาทในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เป็นสาระสำคัญหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในตำนานอุรังคธาตุ ดังนั้น แนวคิดเรื่องรอยพระพุทธบาท จึงเป็นแนวคิดสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการแต่งตำนานอุรังคธาตุ

มัณฑเลย์… ส ะ พ า น ข้ า ม ก า ล เ ว ล า ตอนที่ ๑

แทบทุกครั้งที่หน้าประวัติศาสตร์ไทยมักจบลงที่การเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า อย่างไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่ครั้งนี้คือการได้มาไกลกว่าเดิมตามเส้นทางสองขาของเชลยศึก...ดิฉันได้มามัณฑเลย์สองครั้ง สิ่งที่น่าประทับใจของสถานที่นี้คือ วัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าในวิถีชีวิต...

แคนเก่าสุด 2,500 ปีมาแล้ว หมอแคนยุคแรกเป็นหญิง

แคนเก่าสุดอายุราว ๒๕๐๐ มีหลักฐานจากลายเส้นบนเครื่องมือสำริด พบฝังรวมกับศพที่เวียดนามและที่อื่น เช่น มณฑลยูนนานทางภาคใต้ของจีน และหมอแคนยุคแรกเป็นหญิง เพราะผู้หญิงเป็นเจ้าของงานศิลปะและวัฒนธรรมทั้งมวล รวมถึงหมอลำกับหมอฟ้อนก็เป็นผู้หญิง

ขัวหลวง เส้นทางสู่เมืองฟ้าพญาแถน

ขัวหลวง เส้นทางสู่เมืองฟ้าพญาแถน ปรัมปราคติว่าด้วยจักรวาลทัศน์ของคนตั้งแต่ครั้งบรรพกาล ที่แบ่งจักรวาลเป็นสองส่วน คือ เมืองฟ้าและเมืองลุ่ม อันเป็นความเชื่อเก่าแก่ของชาวอุษาคเนย์

ตาม “ลาว คำหอม” ไปเยี่ยมชายแดนใต้ (ตอนที่ ๑)

นานมาแล้วมีคณะครูได้พาเด็ก ๆ ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้กลุ่มหนึ่ง มาพบลุง “ลาว คำหอม” ที่ไร่ธารเกษม เด็ก ๆ วิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน ส่งเสียงกรี๊ดกร๊าดตามประสาเด็ก แต่เมื่อเวลาจะจากกันเด็ก ๆ ไม่อยากไป มีเด็กคนหนึ่งเข้ามากอดลุงแล้วร้องไห้บอกว่า “หนูไม่อยากกลับบ้าน หนูอยากอยู่กับคุณตาทีนี่” สะเทือนใจผู้ได้ยิน โถ! บ้านหนูผู้ใหญ่เขาห้ามไม่ให้ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านอย่างเสรีซินะ

พระพุทธเจ้าเสวยข้าวอะไร ?

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้คำตอบไว้ดังนี้ ได้เคยตั้งปัญหามาแล้วในบทก่อนว่า พระพุทธเจ้าเสวยข้าวอย่างที่เรากินกันอยู่ในเมืองไทยหรือข้าวอะไร ที่ตั้งปัญหาเช่นนี้ก็แพราะได้พยายามค้นดูในพระไตรปิฎกและอรรถกถาฎีกาแล้วไม่พบคำที่แปลว่า ข้าวจ้าวหรือข้าวเหนียว อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Rice อันแน่นอนสักคำเดียว

ทางอีศาน 52 ปิดเล่ม

แนวคิด Industry 4.0 นี้ จะเป็นการบูรณาการโลกของการผลิต เข้ากับการเชื่อมต่อทางเครื่อข่ายในรูปแบบ “The Internet of Things (IoT)” คือการทำให้กระบวนการผลิตสินค้าเชื่อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล หรือแม้กระทั่งทำให้ตัวสินค้าเองเชื่อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น การมีระบบป้อนข้อมูลให้เครื่องจักรสามารถผลิตสิ่งของตามแต่การสั่ง

วัฒนธรรมไท : ข้าว ผี ขวัญ แถน เงือก

ข้าพเจ้าพบว่า วัฒนธรรมไท(ทั้งหมด) ก่อนรู้จักพุทธพราหมณ์ สรุปรวบยอดได้ 5 คำ ข้าว ผี ขวัน(ขวัญ) แถน เงือก, ข้าว : การผลิตข้าวกำหนดให้เกิดพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบ 12 เดือน เป็นประเพณีสืบมา, ผี : คือระเบียบโลกที่คนต้องเคารพ

กลอนบทละคร (๑)

กลอนบทละครมีมาแล้วตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา แต่จะมีบทละครจบเรื่องครบถ้วนอย่างที่มาแต่งกันในยุครัตนโกสินทร์หรือไม่ ก็ตัดสินยาก เพราะต้นฉบับสูญหายไปครั้งกรุงแตก แต่หลักฐานมียืนยันได้ว่า มีการแต่งเป็น “บทร้อง” และก็น่าจะร้องเล่น (แสดงละคร) กันทั้งคืนเป็นเวลาหลายคืน

ตำนานหลังเสื้อยึด “หมาเก้าหาง” ของทางอีศาน

คนในสุวรรณภูมิเมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ยกย่องหมาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มี 9 หาง เอาพันธุ์ข้าวจากเมืองฟ้า ลงมาให้มนุษย์ปลูกกินเป็นอาหาร มีคำบอกเล่าของชาวจ้วง อำเภอหลงโจว ในมณฑลกวางสี มีความว่า แต่ก่อนคนเรายังโง่ ยังไม่มีข้าวกิน เพราะไม่รู้จักและไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ครั้งนั้นมีหมา 9 หางตัวหนึ่งขึ้นไปบนสวรรค์

วิจารณ์ “บันทึกการเดินทางในลาว” ของ เอเจียน แอมอนิเย

หนังสือแปล “บันทึกการเดินทางในลาว ภาคหนึ่ง พ.ศ.๒๔๓๘” กับ “ภาคสอง พ.ศ.๒๔๔๐” [๑] จากบันทึกของ เอเจียน แอมอนิเย (Etienne Aymonier) มาสำรวจหาศิลาจารึกทำสำเนาและสำรวจภูมิประเทศเพื่อสร้างแผนที่ก่อแนวเขตดินแดนสยาม-ลาว-เขมร เบื้องต้นตามอำเภอใจ ก่อนหน้า ๑๐ ปีจะเกิด “วิกฤตปากน้ำ ร.ศ.๑๑๒”

ที่มาของคำ “กระซิบรักบันลือโลก” ภาพฝาผนังวัดภูมินทร์ น่าน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพ ปู่ม่านย่าม่าน จิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ภาพนี้ เป็นสุดยอดของภาพเขียนในยุคร้อยกว่าปีที่ผ่านมา คงไม่มีคำพูดใดๆ จะกล่าวชื่นชมได้เหมาะสม ทั้งในแง่งามของสุนทรียศาสตร์ ความสมดุล อารมณ์ เฉดสี พลังที่กระแทกใจผู้ชม สรุปคำและความแล้ว ผมมักจะเรียกรวมด้วยความเคารพช่างเขียนท่านนี้ว่า เจริญทัศน์ นักหนา
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com