บทร้อยกรองของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ๒๕-๒๘
๒๕. ชายโสภาใจเย็นนักปราชญ์ ชายฉลาดหลีกเว้นคนผิด คนใช่มิตรผูกจ่องกรรมเวร คนมีเข็ญหาคุณบ่ได้ คนทุกข์ใฮ่เกี่ยวหญ้าหาฟืน บ่ฝ่าฝืนผิดเถียงดูหมิ่น ๒๖. คิดสู่ถิ่นทั่วโลกโลกา กะปูนาหาหัวบ่ได้ ไผหาให้เลี้ยงท้องเขาเอง พวกสัปโปงูเขียวงูเห่า ขึ้นต้นไม้เสือกแล่นตามดิน ตีนบ่มีแล่นไวปานม้า...
พระมงคลวัฒนคุณ (“หลวงพ่อเพิ่มบารมี”)
ผลงานกวีนิพนธ์ของหลวงพ่อมีเป็นจำนวนมาก กลอนแบบนิราศที่เขียนถึงจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยที่รวบรวมเอาอำเภอ จุดเด่นของแต่ละจังหวัด แทรกแง่ข้อคิดเชิงปรัชญาไว้ด้วยหรือบทธรรมทัวร์ทั่วไทย หรือชุดดอกไม้ในแดนธรรม ซึ่งรวบรวมชื่อดอกไม้มาเขียนเป็นกลอนดอกสร้อยไว้ครบครัน รวมทั้งบท มงคล ๓๘ ที่หลวงพ่อมักทำเป็นใบปลิวแจกญาติโยม ซึ่งออกแบบเป็นรูปพระเจดีย์ อ่านขึ้นตั้งแต่ฐานจนถึงบทจบของกลอน
บทกวี: จุดบั้งไฟยังไล่ล่า…
๏ ไฟบั้งเอ้อลังการตระการตา เชิดนาคาพ่นน้ำอร่ามล้น นางฟ้อนย้อนย้ายร่ายร่างทน เซิ้งขอฝนขอรางวัลขันแข่งนั้น หลายร่างชายป้ายแป้งแดงลิปสติก ทำซิกงิกจริตหญิงยิ่งน่าขัน บ้างหาบขยะกับตะกร้าควัน แต่งเพี้ยนกันพลันนึกพิลึกดี โชว์ปลัดขิกอีกเกมสมสู่ ทุกคุ้มสู้ลุ้นรางวัลพนันชี้ ต่างมึนเมาเหล้ายาประชาชี หมกมุ่นมีผีพนันพันละเก
วันนี้ของครูเพลง สัญญา จุฬาพร
แต่การจะกลับไปสู่ความเลวร้ายก็ใช่ว่าจะง่ายดาย ทั้งคู่ต้องเอาแรงเข้าแลก เพื่อหาเงินเป็นค่าเดินทางและค่าอยู่ค่ากินระหว่างทาง ต้องรับจ้างขุดดิน ตัดไม้ และงานใช้แรงงานสารพัดตลอดรายทางตั้งแต่อีสาน-สงขลา โดยใช้เวลาเดินทางไปและกลับร่วม ๓ เดือน และประสบการณ์ช่วงนี้เองที่เขาได้เอามาเป็นวัตถุดิบในการเขียนเพลง
คำโตงโตย
เห็นว่าปลาทอต้อน หมายซิตำปลาแดก บาดห่าต้อนเจ้าหลูคูเจ้าฮ้ง ซิพายข้องปึ่งดัง / ดร.ปรีชา พิณทอง อธิบายว่า ปลาออกันอยู่ที่หน้าต้อนเรียกว่าปลาทอหน้าต้อน “ต้อน” คือเครื่องมือจับปลา “หลู” คือทะลุ “ฮ้ง” คือน้ำไหลลอดคันต้อน พ่อค้าขายของเมื่อคนมาออกันที่หน้าร้านเพื่อดูสินค้า เจ้าของร้านดีใจว่าวันนี้แหละจะร่ำรวย...
เยี่ยวต้องมาก่อน
“แป๊ด !” เสียงตดบักสี... พ่อเฒ่าตันได้ยินชัดเจน...เสียงมันสอดคล้องกับเลข แปด...“เฮ้ย ! แปดมาแน่ งวดนี้...” พ่อเฒ่าตันว่าไปตามเสียงที่ได้ยิน และไม่นาน เสียงเยี่ยวบักสีก็ตามมาอีก“ฉี่ๆ” พ่อเฒ่าตันได้ยินอีกแล้ว...เสียงมันเหมือนเลข สี่...“ชัด ! สี่ต้องตามมาแน่ ๆ !” ว่าแล้วพ่อเฒ่าตันก็ออกจากบ้านไปแทงหวยกับเจ้ามือในหมู่บ้าน...
บุญบั้งไฟ
อย่างไรก็ตาม ชาวอีสานส่วนหนึ่งยังเข้าใจว่าการจุดบั้งไฟมีเฉพาะในภาคอีสานและ สปป.ลาว เท่านั้น อันที่จริงประเพณีการจุดบั้งไฟขึ้นฟ้าเพื่อเรียกฝนนั้น มีในคนไทและคนตระกูลภาษาไทกะได กลุ่มอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทโยน(ล้านนา) ไทลื้อ (ดูเรื่อง “จิบอกไฟ”), ไทใหญ่ในแม่ฮ่องสอน จุดบอกไฟในปอยเจดีย์ทราย เดือนมิถุนายน (กลุ่มอื่น ๆ มีในชนชาติผู้ญัย อำเภอซิ่งเหญิน มณฑลกุ้ยโจว-รอยต่อระหว่างกุ้ยโจว-ยูนนาน-กวางสี มีเทศกาล “จุดบอกไฟน้อย”) เป็นต้น
การเดินทางสู่โลกของชาวนา ก้าวแรกที่บ้านกระพี้
แม้สังคมทั่วไปในช่วงนั้นจะมองภาพของสังคมชาวนา/ชนบทในมิติเดียวด้วยทัศนะที่คับแคบ โดยสร้างวาทกรรมขึ้นพูดกันติดปากทั่วไปโดยเฉพาะจากคนของภาครัฐฯว่า “โง่ จน เจ็บ” ทั้ง ๆ ที่ลึก ๆ แล้วบรรดาข้าราชการอำมาตย์ทั้งหลายก็มีสภาพโง่/จน/เจ็บไม่แพ้ชาวนาเลย แถมหลาย ๆ คนมีการศึกษาขั้นโงหัวลืมตาอ้าปากชุบตัวผ่านระบบการศึกษาเล่าเรียนมาได้ ก็ด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของพ่อ-แม่ที่เป็นชาวนา/เป็นเกษตรกรมาทั้งนั้น!
‘น้าสนับ’ เพื่อนทุกข์ยามยาก ตอนที่ ๔
แม่หวานก็เหมือนเตี่ยเถ๊า ที่แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมแหล่งอบาย แต่ท่ามกลางกลิ่นคาวกามกลับแฝงและอบอวลด้วยปรัชญา แม่หวานมักพร่ำสอน ‘พี่’ เสมอว่า “พวกมึง คนเขามองว่าต่ำ ต้องทำตัวให้มันดีมึงไม่ได้ขอใครแดก มึงมาเพื่อหาเงินส่งพ่อแม่ เพื่อเลี้ยงครอบครัว ถ้ามึงไม่ทำตัวชั่ว มันไม่ใช่เรื่องชั่วหรอก”
โฉมหน้านักการเมืองรุ่นแรกของอีสาน (บทที่ ๓)
ตลอดห้วงเวลา ๘๐ กว่าปีที่ผ่านมา กลับเป็นห้วงเวลาแห่งความยุ่งยาก สับสน วกวนอยู่ในเขาคีรีวงกตแห่งความขัดแย้งของสองขั้วอำนาจ คือ ระหว่างขั้วอนุรักษ์นิยม กับขั้วประชาธิปไตย ขั้วหนึ่งยื้อยุดฉุดดึงไว้ทุกวิถีทาง…ขั้วใหม่ก็ยังไม่เข้มแข็งพอที่จะสถาปนาประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้ วัตถุประสงค์ของคณะราษฎรยังไม่บรรลุผล ประชาชนไทยหลั่งเลือดเสียชีวิตตามรายทางมาหลายครั้ง
เกลือ แร่ธาตุปฏิวัติสังคมชาติพันธุ์อีศาน
ภูมิปัญญาระดับชาวบ้าน นอกจากจะใช้เกลือในการบริโภคแล้ว ยังใช้เกลือในการรักษาอาการเจ็บป่วยอีกด้วย เช่น หากมีอาการมึนศีรษะ สมองไม่ปลอดโปร่งก็ใช้น้ำอุ่นประมาณ ๑ ถัง ผสมเกลือ ๒-๓ ช้อนแล้วอาบ เกลือจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดี มีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง, หากบังเอิญกินอาหารปนสารพิษเข้าไปหรือเกิดอาการอึดอัดอาหารไม่ย่อย และอยากให้อาเจียนออกมาก็ให้ดื่มน้ำเกลือเข้มข้นแก้วใหญ่ ๆ เพียงชั่วอึดใจก็จะอาเจียนพวกสารพิษออกมา, หากมีอาการคันตามผิวหนังให้ทาบริเวณที่คันด้วยน้ำเกลือ เชื้อราบริเวณนั้นจะสิ้นฤทธิ์, ถ้ายุงกัดจนเป็นตุ่มบวมคันก็ไม่ต้องเกาให้รีบใช้น้ำเกลือทาที่รอยแผล ไม่นานอาการคันก็จะหายไปและรอยบวมก็จะยุบหายไปด้วย
พญาแถน, พญาคันคาก และบั้งไฟ
การทำบุญบั้งไฟ เป็นประเพณี เพื่อจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาไฟแก่เทพเจ้าบนสวรรค์ผู้ดูแลน้ำฟ้า ที่ชื่อว่า วัสสกาลเทพบุตร ถ้าทำถูกใจท่าน ท่านก็จะประทานน้ำฝนให้ตามฤดูกาล แต่ที่เป็นจารึกบนใบลานอักษรไทน้อย เป็นความเชื่อของคนลาวและไทยอีสานมากที่สุด เห็นจะเป็น นิทานเรื่องพระยาแถนและนิทานเรื่องพระยาคันคาก เป็นนิทานลาวที่แพร่หลาย นับเป็นตำนานของการทำบุญบั้งไฟ ในลาวและในอีสานของไทย
จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
จุดที่หักเหชีวิตของจิตรมากจุดแรกน่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ นั่นคือการได้สนิทสนมและร่วมงานกับ ดร.วิลเลียม เจ.เก็ดนีย์ (Dr. William J. Gedney) จิตร ได้ย้ายไปอยู่กับ ดร.เก็ดนีย์ ที่ซอยร่วมฤดี ถนนสุขุมวิท ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกไกล ชาวอเมริกัน ช่วงแรก ดร.เก็ดนีย์ จ้างจิตรเดือนละ ๓๐๐ บาท ให้สอนภาษาไทยและวรรณคดีไทย ต่อมามีผู้ว่าจ้างให้ ดร.เก็ดนีย์ แปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย จิตรเป็นผู้ช่วยและแบ่งรายได้กันคนละครึ่ง
สายธาร นิทานอีสาน
นิทานเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนชีวิต ค่านิยม และความเชื่อของผู้คนในสังคม เป็นเรื่องราวที่ผู้คนบอกเล่าสืบต่อกัน จากรุ่นปู่สู่รุ่นพ่อ จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน สืบสานกันไปเรื่อย ๆ แฝงคำสอนใจ แฝงบทเรียนเป็นเสมือนมรดกตกทอดของแต่ละสังคม ภาคอีสานมีนิทาน ตำนานมากมายหลากหลายประเภททั้งนิทานชาดก นิทานกลอนลำ นิทานก้อม ซึ่งส่วนมากเล่ากันมาแบบปากต่อปาก (มุขปาฐะ)
ปิดเล่ม ฉบับที่ 13 ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๖
การปรับปรุงรูปเล่มในฉบับเดือนเมษายน มีเสียงสะท้อนด้านดี ชมเชยมาพอสมควร ทำนองว่าเดินมาถูกทางแล้ว ส่วนเสียงวิจารณ์ข้อผิดพลาดบกพร่อง เราน้อมรับเป็นข้อเตือนใจตลอดไป นักอ่านหลายท่านมาให้กำลังใจกันถึงบูธ “ชนนิยม” ในงานสัปดาห์หนังสือฯ