ภูมินามแม่นํ้าโขง : หลันชางเจียง กิวลุ่งเกียง เก้าลวง กาหลง
เรื่องราวของแม่นํ้าโขงเป็นมหากาพย์หลากสีสันที่เล่าขานไม่มีวันจบสิ้น ไม่ว่าจะหยิบยกประเด็นใดที่เกี่ยวกับแม่น้ำโขงขึ้นเสวนาล้วนแต่สร้างสีสันอันน่าติดตามทั้งสิ้น สายน้ำที่มีความยาวถึง ๔,๙๐๙ กิโลเมตรที่พาดผ่านจากจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา ถึงเวียดนาม ย่อมทําให้แต่ละท้องถิ่นมีนามเรียกขานแม่น้ำโขงที่แตกต่างกันออกไป และต่างมีเรื่องเล่าที่พยายามอธิบายความหมายของแม่นํ้าโขงตามทัศนะของตน ดังที่จะได้ร่วมกัน “เปิดผ้าม่านกั้ง” เรื่องราวของ “ภูมินามแม่นํ้าโขง”
เข้าจํ้า ผอกผี
“เข้า” ในที่นี้หมายถึง ข้าว
“เข้าจํ้า” มีสองความหมาย คือ ๑. “ข้าวผอกผี” หรือ “เข้าควดผีเข้า” ๒. เป็นชื่อการละเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ๆ
จันทน์เทศ ไม้ที่มีค่าควรเมือง
ไม้รู้จักจันทน์เทศหรือครับ ไม่แปลกอะไร คนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักไม่เคยเห็น ไม่รู้ด้วยซํ้า ว่าเอาไปทําอะไร กลิ่นเป็นอย่างไรก็นึกไม่ออก ใครบางคนบอกก็อยู่ในเครื่องแกงมัสมั่นไง โธ่ ก็มีเครื่องเทศตั้งหลายอย่าง แยกกลิ่นไม่ได้หรอก
อมตะอีศาน
ท่ามกลางการยกทัพจับศึกไล่ล่าฆ่าตัดหัวยึดทรัพย์กวาดต้อนคนมาเป็นทาส ผ่านการกระทำถูกดูถูกเหยียดหยามกดทับของสังคม จนถึงยุคอาณานิคมแล่นเรือลำใหญ่ข้ามทวีปมาตียึดเมืองกัน แล้วเกิดสงครามโลก สงครามเย็น จนเข้าสู่ยุคทุนนิยมเต็มตัว ผู้คนบนที่ราบสูงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ภาคอีสานประเทศไทยก็สามารถต่อสู้ดำรงตนยืนหยัดสร้างบ้านแปงเมือง
สูงสุดสู่สามัญ
ที่โคนต้น เขาเฝ้าดูผู้คนปีนป่ายต้นไม้แห่งลาภ ยศ อันสูงลิบยอดเลือนหายไปในเวิ้งฟ้า อากาศ เป้าหมายจะไปให้สูงสุด เพื่อจะคืนสู่สามัญตามคำโบราณว่าไว้
ทางอีศาน 61 : ปิดเล่ม
รัฏฐาธิปัตย์กำลังจะนำพาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ไปทางไหน ? มีเรื่องราวที่เราจะนำมาเสนอใน ทางอีศาน อีกมากในฉบับต่อ ๆ ไป เดือนนี้ขอนำวิสัยทัศน์ของรัฐที่เสนอไว้เมื่อปีที่แล้ว ๒๕๕๙ มาเสนออย่างย่นย่อก่อนเท่านั้น