Tag

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน

ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสานหลายใบ มีภาพเล่าเรื่องนิบาตชาดกสลักตกแต่งอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ในจำนวนนิบาตชาดกมากมายหลายร้อยเรื่องพบว่าทศชาดก หรือชาดก ๑๐ ชาติสุดท้าย ได้รับความนิยมมาก เตมีย์ชาดกซึ่งเป็นชาดกเรื่องแรกในกลุ่มทศชาติ เป็นหนึ่งในเรื่องที่นำมาสลักไว้บนใบเสมาค่อนข้างมาก เช่น ใบเสมาจากเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ, ใบเสมาจากบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ และใบเสมาที่วัดโนนศิลาอาสน์ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ต้นกำเนิดนิทาน “ตาเจี้ย ตาลูน – ปลาบู่ทอง – เต่าคำ และซินเดอเรลล่า”

นิทานเรื่องปลาบู่ทองเป็นนิทานที่ชาวจ้วง –ลาว–ไท เล่าถ่ายทอดกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ ชาวไทยเรียก “ปลาบู่ทอง” ชาวล้านนาและไทใหญ่เรียก “เต่าน้อย อองคำ” หรือ “นางยีแสงก่อ” (คือนางเอื้อย) หรือ “นางอุทธรา” (คือนางเอื้อย) ทางลาวเรียก “เต่าคำ” ทางจ้วงเรียก “ตาเจี้ย” (นางกำพร้า, ‘ตา’ เป็นคำนำหน้าเรียกหญิงสาว, ‘เจี้ย’ แปลว่า กำพร้า)

เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว

ษุภมัสตุ พระราชอาจญาลายจุ้มสมเด็จบรมบพิตรพระเปนเจ้าตนเปน พระทรงพระราชกรูณาลูกพระยาขวาง ให้เอาหมู่ซุมแต่พ่อไปตั้งในเมืองฮม เขตแดนไร่นา งวดค่าอากรหลางกับเมืองฮมมีท่อใดให้จัดตราเอาทั้งมวล อันใดหลางขึ้นราชโกฎให้นำมาถวายตามจารีต

พระแซกคำ

พระแซกคำ พระพุทธรูปสำคัญซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดคฤหบดี แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม. นั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เป็นพระพุทธรูปจากประเทศลาว(ล้านช้าง) แต่จากประวัติศาสตร์ลาว มีบันทึกชัดเจนว่า พระเจ้าโพทิสาราช (โพธิสารราช) พระราชบิดาของพระเจ้าไชยเชถถาทิราช (ไชยเชษฐาธิราช) ขอไปจากนครเชียงใหม่-ล้านนา

ประเด็นประวัติศาสตร์ เหตุเกิดที่วัดโพธิ์ย้อย อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์

ในรัฐสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2444 เจ้าฟ้ากรมพระยานครสวรรค์วรพินิจ ได้เสด็จจากเมืองโคราชจะไปยังเมืองศรีโสภณผ่านมาที่ด่านปะคำ

ประวัติโบสถ์ไม้วัดโพธิ์ย้อย อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์

จากการสอบถามคุณยายยวง แป้นดวงเนตร ผู้เฒ่าผู้แก่เมื่อก่อนนั้นเล่าว่า เมื่อสมัยยายยังเป็นเด็ก ยายยังมีทวดอีกหลายคนและญาติพี่น้องในหมู่บ้าน เช่น ทวดคง ทวดมาก แม่เฒ่าเกิด การเขียนรายชื่อเหล่านี้เพื่อบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับ และคุณยายบอกว่าพ่อของคุณยายเคยอุ้มไปที่วัดโพธิ์ย้อย

จ.บุรีรัมย์ มีปราสาท|กู่โบราณสมัยขอม มากที่สุดในประเทศไทย

วันนี้เดินทางไปชื่นชม"ปราสาทโคกงิ้ว" อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ ทีมช่างกำลังลุยปรับปรุง ทำงานกันมาได้ 4 เดือนแล้ว ภายในต้นปีหน้าคงเสร็จสมบูรณ์

อุโบสถไม้ที่วัดโพธิ์ย้อย

วัดโพธิ์ย้อย ตำบลไทยเจริญ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ริมถนนสาย 224 ใกล้สามแยกปะคำ ภายในวัดมีอุโบสถไม้หลังเก่าซึ่งสร้างซ้อนทับลงบนฐานศิลาแลงสูงเด่น

ผ้าผะเหวด : บันทึกอีสานบนงานทอ

งานศิลปะที่เป็นการบันทึกเรื่องราวทางศาสนาของชาวสุวรรณทวีปในอดีต ไม่ว่าจะบนหลักหิน หรือบนผืนผ้า ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่นำไปสู่การศึกษาตีความเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในอดีต ที่ปรากฏเป็นองค์ประกอบอยู่ในงานศิลปะนั้น บนพื้นที่อีสานมีงานศิลปะแห่งศรัทธาที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ ผ้าผะเหวด

พ่อครูทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ศิลปินเกียรติยศ โหวดเสียงทองเทวดา

พ่อครูเล่าที่มาของโหวดว่าแต่เดิมเป็นของเล่นของเด็กเลี้ยงควาย ยังไม่ถูกเรียกเป็นเครื่องดนตรี ใช้เล่นในช่วงปลายฤดูฝนก่อนเกี่ยวข้าว เป่าเล่นเพื่อความสนุกขณะที่เลี้ยงควายตามทุ่งนา และใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเพื่อฟังเสียง ด้วยการต่อหางโหวดให้ยาวแล้วใช้เชือกคล้องหัวกับหางโหวด แกว่งให้หวดรอบศีรษะด้วยความเร็วสูงจะเกิดเสียงดังว่า “แงว ๆ” ฟังแล้วเกิดเสียงไพเราะ เรียกการแกว่งโหวดชนิดนี้ว่า “การแงวโหวด” ลักษณะของโหวดสมัยโบราณยังไม่มีความสวยงาม

ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางเมื่อ 1200 ปีที่ผ่านมา สื่อสารด้วยภาษามอญโบราณ

ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางเมื่อ 1200 ปีที่ผ่านมา (พุทธศตวรรษที่ ๑๔) สื่อสารด้วย ภาษามอญโบราณ ใช้อักษรหลังปัลลวะ จากหลักฐานจารึก พระพิมพ์เมืองฟ้าแดดสงยาง

จิตร ภูมิศักดิ์ : เพลงลาวแพน

เพลงลาวแพนนั้น เป็นเสมือนสำรวมใหญ่ของเพลงลาวพื้นเมือง กล่าวคือมีเพลงลาวพื้นบ้านตามชนบทรวมอยู่ในเพลงใหญ่นั้นหลายเพลง ทุกเพลงที่นำมารวมกันเข้าไว้นั้นต่างมีกลิ่นไอของชีวิตแบบลาวอยู่อย่างสมบูรณ์ คือมีลักษณะทำนองที่ส่อให้เห็นความรักในธรรมชาติเจือระคนอยู่ด้วย ถ้าจะพูดเป็นศัพท์ก็ต้องว่ามีลักษณะแห่งชนชาติ บรรจุอยู่อย่างเด่นชัดบริบูรณ์
1 2 3 22
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com