[๘] เส้นทางตามหาอรพิม ตอนที่ ๑
เริ่มตามเนื้อเรื่องที่ปาจิตเดินทางจากบ้านเกิด เมืองพรหมพันธุ์นครหรือนครธม ออกตามหานางอรพิม ไล่มาตามตำนานเมืองพิมายและนางรอง ตั้งแต่บ้านจารย์ตำรา ตามตำนานว่าปาจิตเดินทางมาถึงบริเวณนี้จึงกางแผนที่ หรือตำราดูว่าบ้านนางอรพิมอยูที่ใด เดินต่อไปจึงถึงบ้านสนุ่น มีต้นสนุ่นอยู่ใกล้ตรงนี้ และบ้านท่าหลวงจากนั้นจึงเดินต่อไปพบนางบัวแม่นางอรพิมที่บ้านสำเร็จ หรือบ้านสำริด ช่วยนางบัวทำนาจน
กระทั่งจะคลอดนางอรพิม จึงไปตามหมอตำแยมาจากบ้านตำแย เมื่อนางอรพิมหัดคลานบริเวณนั้นจึงเรียกว่า ถนนนางคลาน เมื่อหัดเดินบริเวณที่หัดเดินได้ชื่อว่าบ้านนางเดิน ซึ่งเพี้ยนเสียงมาเป็นนางเหริญ
พระธาตุพนม
พระธาตุพนม พระธาตุที่มีผู้คนเคารพกราบไหว้เป็นที่พึ่งทางใจมายาวนานทั้งสองฝั่งโขง มีประวัติยาวนานคู่มากับอีสาน ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จักและเดินทางมาเพื่อกราบไหว้บูชาพระธาตุด้วยความศรัทธาปสาทะในความศักดิ์สิทธิ์และน้อมนำให้ระลึกถึงความเป็นชาวพุทธ
ฮีตเดือนแปด เข้าพรรษา : เหตุจากการจาริกไปทั่ว, การค้างแรม และกติกา
พระพุทธเจ้าได้บัญญัติกำหนด
เขต วัน เวลา ให้พระสงฆ์สามเณรให้
อยูป่ ระจำ ณ สถานที่แหง่ ใดแหง่ หนึ่งตลอดช่วงระยะ ๓ เดือนในฤดูฝนโดยไม่ให้ไปพักแรมค้างคืนที่ไหนจนกว่าจะหมดฤดูฝน เรียกว่า เข้าพรรษา...
บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 7
จากเหตุการณ์นี้เอง พระยากลาโหมราชเสนาได้พบเจอพระแก้วขาว ที่วัดพระแก้ว จึงได้มีใบบอกลงมายังกรุงเทพฯ รัชกาลที่2 จึงโปรดฯให้นำพระแก้วขาวลงมายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชพระแก้วขาวองค์นี้
ชมปราสาทหินพิมาย เสพกลิ่นอายวัชรยาน
ปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทหินในอารยธรรมขอมโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ อำ เภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ในกาลนี้ผู้เขียนขอชวนท่านผู้อ่าน “ชมปราสาทหินพิมาย เสพกลิ่นอายวัชรยาน” โดยสะท้อนสาระสำคัญผ่านเรื่องราว ๕ ประเด็น ได้แก่ เรียนรู้ภูมิประวัติ ปริทรรศน์วิมายะปุระ ตามรอยวัชรยาน แผนผังจักรวาลสู่ความหลุดพ้น และมณฑลพระชินพุทธะ
สาวคำม่วงรอรัก
...มีพล็อตเรื่องราวเกี่ยวกับสาวผู้ไทหลายเพลง บังเอิญคิดถึงคำพูดของแม่บ้านผู้ไทกาฬสินธุ์ที่อยากให้แต่งเพลงกาฬสินธุ์บ้าง ก็คิดหาพล็อตจะเริ่มจากไหนดี นึกถึงสาวผู้ไทคิดถึงผ้าไหมแพรวาต้นกำเนิดมาจากอำเภอ “คำม่วง” คิดประโยคแรกของเพลงขึ้นต้นได้ว่า “วิจิตรสดใส ผ้าไหมอำเภอคำม่วง พี่หลงใหลเหมือนใจโดนบ่วง ห้วงเหวรักเพียงได้ยิน”
ลายแคนเสียงรถไฟ – พ่อสมบัติ สิมหล้า
ลายแคน ประดิษฐ์โดย พ่อสมบัติ สิมหล้า ที่เลียนมาจากเสียงรถไฟ แสดงในงานเสวนากึ่งสาธิตทางดนตรี “ลายดนตรีแคนในวัฒนธรรมหมอลำ” ในนิทรรศการ “แคนล่องคะนองลำ” ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน 28 มีนาคม พ.ศ. 2558
รากเหง้าวัฒนธรรมอาเซียน?
แต่เดิมนั้น ผมสนใจศึกษาเรื่องไป่เยวี่ยแต่เพียงในด้านที่บรรพชนของชนเผ่าไทเป็นส่วนหนึ่งของไป่เยวี่ย มาถึงตอนนี้เรื่องไปเยวี่ย กลายเป็นเรื่องของแหล่งอารยธรรมดึกดำบรรพ์ของโลก เช่นเดียวกับวัฒนธรรมอียิปต์ วัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย วัฒนธรรมจีนแม่น้ำหวงเหอ
อักษรบนกลองมโหระทึกดองซอน คล้ายกับอักษรไทดำ
พบมีผู้อธิบายเรื่องอักษรบนมโหระทึก ดองซอนว่า คล้ายคลึงกับตัวอักษรไทดำ ในดินแดน ลั่วเยวี่ย (จีนฮั่นเรียกดินแนดกวางสีภาคใต้และเวียดนามภาคเหนือว่าลั่วเยวี่ย ชาวลั่วเยวี่ยมีสัญลักษณ์ภาพที่อาจพัฒนาเป็นตัวอักษรได้ใช้อยู่ก่อนที่ตัวอักษรฮั่นจะแพร่เข้าไป รูปที่หนึ่งเป็นตัวอย่างตัวอักษร ที่นักวิชาการเวียดนามเรียกว่า อักษรไฟ
บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 6
เจ้าบ่าวถือว่าเงิน 16 บาท ที่พ่อแม่เจ้าสาวเรียกร้องนั้นสูงเกินไป เงินสินสอดที่มอบให้แม่เจ้าสาวนั้น แม่เจ้าสาวจะมอบให้ลูกสาวเพียงครึ่งหนึ่ง หากมีการผิดเถียงกัน พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะทวงเอาเงินสินสอดนั้นจากลูกเขย หากหย่าร้างกันเด็กอายุยังน้อยจะอยู่กับแม่
นทีสีทันดร
คำว่า นทีสีทันดร ประกอบด้วยคำว่า นที กับคำว่า สีทันดร.คำว่า นที แปลว่า แม่น้ำ.ส่วน สีทันดร คือสายน้ำทั้ง ๗ สาย ที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ และคั่นอยู่ระหว่างภูเขา ๗ เทือก ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุอยู่. สายน้ำ ๗ สาย นั้น คั่นอยู่ระหว่างเทือกเขาเทือกหนึ่งกับอีกเทือกหนึ่ง ซึ่งเรียงซ้อนกันมาเป็นชั้น ๆ.
ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๕)
ความต่อจากครั้งที่แล้ว เมื่อรัชกาลที่๑ โปรดให้เจ้าอินทวงศ์ไปครองเวียงจันทน์หลังจากเจ้านันทเสนสิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพฯ ในปีพ.ศ.๒๓๓๘ ในระหว่างนี้เจ้าอนุวงศ์ผู้เป็นอนุชาได้แสดงความสามารถในการรบให้เป็นที่ประจักษ์ และทำความชอบให้กับสยามไม่น้อย จึงเป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่๑ ทั้งยังเป็นพระสหายกับเจ้าฟ้าฉิม(ต่อมาคือรัชกาลที่๒)
เทพทันใจ ผีอารักษ์ในสังคมพม่า
กรณีมีการอัญเชิญ เทพทันใจ จากเมียนมาร์ มาให้คนไทยสักการะที่ท้องสนามหลวงเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เทพองค์ดังกล่าวมีนามว่า โบโบยีนัต 1 ในนัตศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมียนมาร์นับถือ แต่ไม่ปรากฏในคติความเชื่อของสังคมไทย จึงน่าสนใจว่า นัตคือใคร มีความสำคัญอย่างไร และเป็นเทพหรือเป็นผีกันแน่ ?
เรื่องเกี่ยวกับช้าง
พิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง เป็นพิธีในศาสนาผีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์สุวรรณภูมิอุษาคเนย์ แรกมีราว 3,000 ปีมาแล้ว ดูหลักฐานได้จากภาพเขียนสีรูปช้างขนาดโตสุดที่ผาแต้ม อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี
บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 5
นอตอง (Notons) ได้บันทึกไว้ว่า “มีธาตุเจดีย์จำนวนมหาศาลหลบซ่อนอยู่ในป่าดง หลังจากที่บรรดาธาตุได้ถูกทำลายไปครั้งหนึ่ง ก็มีต้นไม้เกิดขึ้นมาค้ำจุนเองตามธรรมชาติ พยุงธาตุเจดีย์เหล่านั้นต่อไป พฤษชาติแบบธรรมชาตินั้น ผสมผสานกับพฤกษชาติหินได้เป็นอย่างดี สีเทาของพื้นทำให้มีลักษณะเหมือนหินแข็ง สีเศร้าหมองลงด้วยอากาศ ทองแดงและสำริด