ปิดเล่ม ทางอีศาน 19 : ตำนานผาแดง-นางไอ่
คนไทในดินแดนเวียดนามยุค “สังคมแม่เป็นใหญ่” มีสองโคตรวงศ์ ต้องแต่งงานข้ามโคตรกันสองโคตรนั้นคือโคตรนกกับโคตรเงือก (ต่อมาใช้คำว่า “ลวง” และ “นาค”) “ซิ่นผี” ที่คนทรงนุ่งขณะเชิญผีบรรพชนเข้าทรงจะมีลายบ่งบอกโคตรวงศ์ คือ ลายนก กับลายนาค เงือกหรือลวงหรือนาคมีความหมายลึกลํ้ามากกับคนตระกูลไท-ลาว
เรื่องของอาหาร (๔)
อาหารมีหลายชนิดมีหลายประเภท ลิ้นจำรสชาติอาหารแต่ละชนิดแต่ละประเภทได้ ความสวยงามของอาหารมาจากความหลากหลายของรสชาติ สี และกลิ่น ความสวยงามของมนุษย์ก็คือความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ชีวทัศน์ และโลกทัศน์
ม่วนชื่นเจ้าแม่สองนาง
หมอ ช่วยบักวันชนะแหน่ วันชนะคือใครฉันไม่ได้สนใจ เบื้องหน้าฉันคือแมวที่กำลังทำท่ากระหายอากาศอย่างเอาเป็นเอาตาย หน้าบวม แถมเยือกเมือกเป็นสีม่วงคล้ำเช่นนี้ไม่ผิดแน่ อาการเป็นพิษจากยาพาราเซตามอล ไม่ทันได้ซักถามอะไรให้มากความเพราะถือเป็นกรณีฉุกเฉินที่ทุกวินาทีไม่ต่างจากทรายแห่งชีวิตที่กำลังร่วงหล่นสู่กระเปาะแก้วเบื้องล่าง
สภาพอีสานเมื่อ ๘๐ ปีก่อน จากชีวิตและปาฐกถาของผู้แทนราษฎรรุ่นแรก
หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ จะเห็นด้วยกับความดีเด่นในภาพร่วม ตามที่ ผศ.ดร.สมเกียรติได้ กล่าวไว้ นับเป็นครั้งแรกที่ “ผู้แทนราษฎร” ของจังหวัดต่าง ๆ ได้สะท้อนคติและความสำนึกที่ตนมีต่อท้องถิ่นของตน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสมัยใหม่ ที่เป็นรัฐเดี่ยวออกมาอย่างกระตือรือร้นและมีความหวัง ในส่วนของผู้แทนราษฎรของภาคอีสานชุดแรก ๑๙ คนนี้ ส่วนใหญ่ได้เป็นผู้แทนราษฎรครั้งนี้เพียงครั้งเดียว ยกเว้นรายของ นายเลียง ไชยกาล นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายทองม้วน อัตถากร และขุนวรสิษฐดรุณเวทย์ ในจำนวนผู้แทนราษฎรชุดแรกและชุดต่อ ๆ มาจนถึงปีที่เกิด “รัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐” นี้ มีผู้แทนราษฎรอีสานหลาย ๆ คน ที่อุทิศชีวิตให้กับงานการเมืองอย่างน่าประทับใจ
พรมแดนลาวสมัยเจ้าฟ้างุ่ม
ดังนั้นแล้ว พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงแต่งราชบรรณาการมาถวาย คือช้างพราย ๕๑ เชือก ช้างพัง ๕๐ เชือก ทองคำสองหมื่น เงินสองหมื่น นอแรดแสนนอ กับเครื่องบรรณาการอื่นๆ อีกอย่างละร้อย เจ้าฟ้างุ่มจึงไม่เสด็จไปตีกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นพระองค์จะให้ทำพิธีปฐมกรรมประหารชีวิตเจ้าเมืองที่จับได้นั้นทั้งหมดเพื่อฉลองชัยปราบดาภิเษก ความนี้ร่ำลือไปถึงหูพระมหาปาสะมันตะเถระเจ้าผู้เป็นอาจารย์ พระเถระเจ้าจึงมาขอบิณฑบาตชีวิตของเจ้าเมืองเหล่านั้นไว้ พระองค์ก็โปรดประทานอภัยโทษให้ และปล่อยให้คืนครองบ้านเมืองของตนต่อไป แล้วสมเด็จพระเจ้าฟ้างุ่มจึงยกทัพกลับคืนนครเวียงจันทน์...
อนาคตอีสาน เกษตรกรรายย่อยจะอยู่รอด ต้องติดอาวุธปัญญา
ชนชั้นบนในสังคมไทยรับรู้เรื่องนี้ดี ทุนใหญ่ทุนขนาดกลางของไทยไม่เพียงเตรียมตัวพร้อมแล้วแต่ยังรุกคืบหน้าไปมากด้วย เป็นต้นว่า ยุทธศาสตร์อาหารสำเร็จรูปของเซเว่น-อีเล็ฟเว่น จะลงไปถึงระดับหมู่บ้านต่างจังหวัด, ยุทธศาสตร์ข้าวของซีพีจะพัฒนาการทำนาเป็นอุตสาหกรรมฟาร์มขนาดยักษ์ ใช้เครื่องจักรกล โดยรวบรวมที่ดินจากเกษตรกรรายย่อย จัดตั้งชาวนาในรูปสหกรณ์แบ่งปันรายได้กับซีพี ซึ่งอาจจะพัฒนารูปแบบจากสหกรณ์ชาวไร่อ้อย, ฮับทางการแพทย์ ที่จะดึงเอาบุคลากรไป จนทำให้คนไทยชั้นกลางและชั้นล่างเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากขึ้น ฯลฯ