สู่เวิ้งจักรวาฬอันไพศาล
พุทธ๐ วนฺทิตฺวา สิรสา สสทฺธ มฺมคณุตฺตม๐ อิท๐ เตภูมิสังฺเขป๐ปวกฺมิ กกฺ อิธ (เมื่อได้วันทาพระพุทธ พร้อมทั้งพระสัทธัมมที่ประเสริฐ ด้วยเศียรด้วยเกล้าแล้ว ข้าพเจ้าจะกล่าวเตภูมิสังเขป) เมื่อครั้งที่โควิด-๑๙...Read More
พระไม้…ลมหายใจคนไทยอีสาน (จบ)
ระหว่างที่กำลังพูดคุยกันเรื่องที่มาของพญาไม้ ฉันสังเกตเห็นว่าบริเวณฐานพระลึกเข้ามาถึงพระบาทข้างซ้ายนั้นมีรอยต่ออยู่ พ่อคำอ้ายอธิบายว่าเวลาเตรียมไม้ต้องตัดลงมาเป็นระนาบตรงก่อน เพื่อไม่ให้เสียทรัพยากรไปเปล่า ๆ ส่วนเกินที่สกัดออกไปจึงนำมาต่อเป็นพระบาทและฐาน พร้อมกันนั้นปราชญ์สูงวัยยังได้หยิบวัตถุเรียวยาวสีดำออกมาจากย่ามที่พกติดตัว
พระไม้…ลมหายใจคนไทยอีสาน (๑)
บางสิ่งเราเห็นอยู่ทุกวันจนชินตา...จนลืมให้ความสำคัญ วันนี้ที่ฉันไปเที่ยวตลาดนัดจตุจักรจึงได้รู้ สิ่งที่ถูกสร้างจากสองมือด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนากลายเป็นสินค้าเฝ้าหิ้งชิ้นใหม่ของแผง...พระไม้
(๒) สู่เวิ้งจักรวาฬอันไพศาล
ฉบับที่แล้วฉันได้เล่าถึงมหานทีสีทันดรไป มานึก ๆ ดูก็รู้สึกจะข้ามขั้นตอนอยู่บ้าง ฉบับนี้จึงขอนอกกรอบของคอลัมน์ภาพกาก แล้วเล่าถึงภาพรวมของจักรวาฬ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเสพศิลปะแห่งภาพกากกันในคราวต่อ ๆ ไป ว่าแล้วเราก็มาน้อมจิตกันเสียก่อนที่จะเข้าเรื่องกันเถิด
เกร็ดในความกาก – (๑) กะหล่ำปลีสีทันดร
สิมวัดไชยศรี บ้านสาวะถี จังหวัดขอนแก่น ได้ชื่อว่ามีภาพฮูปแต้มสังสินไซที่สมบูรณ์ที่สุด ที่ว่าสมบูรณ์นั้นคือ เพียบพร้อมทั้งองค์ประกอบของภาพ และเรื่องราวที่มีครบทั้ง ๒ ภาค คือภาคแรกที่เป็นเรื่องราวการเดินดงผจญภัยข้าม ๗ ย่านน้ำ ๙ ด่านมหาภัย ของท้าวสินไซ
สังคมระบบบุญนิยม
ในยุคสมัยของโลกาภิวัตน์ คำที่ติดหูติดปากคงเป็นเรื่องของระบบ "ทุนนิยม" แต่ในวันนี้ข้าวต้มมัดถุงนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงการดำรงอยู่ของสังคมระบบ "บุญนิยม"
ตอนเปิดผ้าม่านกั้ง แรกหลงฮอยอีสาน
ไทบ้านเฮาก็บ่มีอีหยังดอก อาศัยความเพียงจริงใจเท่านั้นแหละหล่า ขณะที่ปล่อยให้เปลือกมะรุมปลิวคว้างไปกับสายลมของฤดูแล้งที่พัดมาจากทิศใต้.. รสชาติทั้งฝาดทั้งขมจนขื่นอยู่ในคอ หากแต่เพียงชั่วประเดี๋ยว น้ำลายที่กลืนตามลงไปกลับทำให้เกิดเป็นรสหวานชุ่มคอดีแท้ จนอดคิดเข้าข้างตัวเองไม่ได้ว่านี่อาจเป็นปริศนาธรรมที่ยายเคนบอกใบ้ไว้
ม่วนชื่นเจ้าแม่สองนาง
หมอ ช่วยบักวันชนะแหน่ วันชนะคือใครฉันไม่ได้สนใจ เบื้องหน้าฉันคือแมวที่กำลังทำท่ากระหายอากาศอย่างเอาเป็นเอาตาย หน้าบวม แถมเยือกเมือกเป็นสีม่วงคล้ำเช่นนี้ไม่ผิดแน่ อาการเป็นพิษจากยาพาราเซตามอล ไม่ทันได้ซักถามอะไรให้มากความเพราะถือเป็นกรณีฉุกเฉินที่ทุกวินาทีไม่ต่างจากทรายแห่งชีวิตที่กำลังร่วงหล่นสู่กระเปาะแก้วเบื้องล่าง
เมื่อม้ากัณฐกะไม่ได้มีสีขาวปลอดและม้าเฝ้าอุรังคธาตุน่ะมีสี
ม้าและมนุษย์มีความผูกพันกันมากว่า ๕,๐๐๐ ปีแล้ว ในวรรณกรรมต่าง ๆ ม้ายังเป็นตัวละครที่ช่วยเสริมอรรถรสด้วย เห็นในแต่ละเรื่องมีอภินิหารเป็นสุดยอดอาชาที่เก่งกล้าสามารถ แต่ก็ใช่ผู้แต่งจะเขียนบรรยายลักษณะกันเรื่อยเปื่อยนะ เชื่อไหมว่าเขามีการอ้างอิงตำราไม่ต่างจากนักเขียนนิยายสมัยใหม่เลยเชียว ตำราที่ว่านั่นคือ “ตำราม้าของเก่า” และ “ตำราม้าคำโคลง”
ข้างหลังภาพ…ฮูปแต้มม้าวัดไชยศรี
“นี่มันม้าพื้นบ้านชัด ๆ”
หลังพิศดูลักษณะจนคิดว่าใช่แน่แล้วหัวใจของฉันก็พองฟู แล้วรู้ได้อย่างไรว่าม้าในฮูปแต้มน่ะ ไม่ใช่ม้าเทศที่นำเข้ามาจากแดนไกล? ขอเรียกว่าข้อสันนิษฐานก็แล้วกัน อันดับแรกดูที่ส่วนสัดความสูง ม้าพื้นเมืองจะมีความสูงไม่มาก
อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : ที่จุดเริ่มต้นคือที่สุดท้าย – ตอนจบ
หลังกลับจากนมัสการพระธาตุหัวอก ฉันได้เริ่มเขียนบันทึกการพเนจรตามรอยบาทพระเจ้าเลียบโลกฉบับอีสาน เวลาล่วงผ่านจากฤดูร้อนครั้งนั้นบัดนี้มองผ่านหน้าต่างห้องช่อดอกคูนกลับมาบานอีกรอบแล้ว
อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : บุกดอยนันทกังฮี – ๓ (๗)
รอยพระพุทธบาทที่นี่แม้เป็นรอยที่เกิดโดยธรรมชาติ แต่แตกต่างจากที่เคยเห็นมาเป็นอันมาก คือ เป็นรอยเท้าขนาดใหญ่ แต่ปลายนิ้วทั้ง ๕ ดูคล้ายกับลื่นไถลนิดหน่อยก่อนจะฝากรอยจมลึกลงในโคลน ทาด้วยสีทอง
อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : บุกดอยนันทกังฮี – ๒ (๖)
ฮอยบาทพระเจ้าอยู่นี่ มีอยู่บ่เอื้อย” พนักงานต้อนรับของโรงแรมและมัคคุเทศก์สาวชาวลาวเวียงที่รอลูกค้าอยู่ในโถงล็อบบี้พร้อมใจกันย้อนถาม เมื่อฉันถามถึงตำแหน่งที่ตั้งของรอยพระพุทธบาท
อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : บุกดอยนันทกังฮี – ๑ (๕)
เมื่อ ๖ เดือนก่อน...ฉันได้รับอีเมลสำเนาเอกสารใบลานเรื่อง “ตำนานธาตุหัวอกพระเจ้า” ของวัดใหม่สุวรรณภูมาราม เมืองหลวงพระบาง จากพระอาจารย์ไพวัน มาลาวง
อุรังคธาตุ – นิทานพเนจร : พญานาคเกเรแห่งรอยพระพุทธบาท หมายเลข ๓ (๔)
หลวงพ่อเจริญเจ้าอาวาสวัดป่าแห่งหนึ่งในอำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี ที่ฉันให้ความเคารพเคยบอกไว้ตั้งแต่ยังเป็นเพียงเด็กสาวอ่อนเดียงสา เพราะเห็นว่าชอบอ่านนิทานพื้นบ้านตำนานต่าง ๆ ราวกับท่านได้เล็งเห็นว่าหากมีวิชาความรู้ก็เหมือนมีทรัพย์ที่จะได้ใช้ในอนาคต