Category

อีสานบ้านเฮา

ลูกข้อยเด้อ

พ่อเฒ่าจารย์คูนมี ไทบ้านโพนสว่าง นับว่าเป็นเฒ่าบ้านเฒ่าเมือง อยู่ในศีลธรรมอันดีงามครองตนอยู่ในฮีตสิบสองคองสิบสี่ ตามประเพณีของคน “ทางอีศาน” มาอย่างสมํ่าเสมอ

ผลัดกันทํา

“พ่อเฒ่า…มื้อก่อนโน้นข่อยเห็นเจ้าซักผ้ามื้อวานนี้เห็นเจ้าถูบ้าน มื้อนี้เห็นเจ้าเข้าครัวเฮ็ดกับข้าว แม่เฒ่าไปไส…คือมีแต่เจ้าเฮ็ดเวียกคนเดียว?” “กูกับแม่เฒ่ามึงตกลงกันแล้วว่า ผลัดเปลี่ยนกันเฮ็ด!”

แนะนำนักเขียนใหม่ “หลานเหลียน” เปิดคอลัมน์ “บอกฮักด้วยพาข้าว”

“หลานเหลียน” สาวอีสาน ในวัยสามสิบต้น ๆ จากขอนแก่น เมืองหมอแคนดินแดนดอกคูน ผู้มีความสามารถหลากหลาย ทั้งงานด้านวิชาการและธุรกิจ แบบคนรุ่นใหม่ แต่ด้วยความภูมิใจในฮีตคอง ขนบธรรมเนียมประเพณี อีสานบ้านเกิด

ทองเปลี่ยน

บักทองก้อน มันเป็นลูกเขยพ่อเฒ่าทองเปลี่ยน มันชื่นชมพ่อเฒ่าของมันมากที่มีความสามารถในการเป่าแคน แต่ละวันเพลินกับเสียงแคนที่พ่อเฒ่าทองเปลี่ยนเป่าลายแมงภู่ตอมดอก ลายสุดสะแนน ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ฟังแล้วไพเราะจับใจเหลือเกิน

ข ว ย จี ห ล่ อ

“แม่นไผ บักใด๋เข้ามาขุดจีหล่อในวัดน่ะ บาปตกนรกหมกไหม้เด้อ บ่ได้ผุดบ่ได้เกิดเด้อ สิบอกให้ หยุดเด้อ! บาป ๆ” พูดแล้วหลวงพ่อก็ รีบเดินเข้าหาคนขุดจีหล่อ! พอหลวงพ่อเดินเข้าไปใกล้คนขุดจิ้งหรีด จึงเห็นว่าเป็นบักแก้วผู้เป็นลูกเขย “ที่ข่อยมาขุดจีหล่อนี่ก็จะเอาไปทอดมา ถวายหลวงพ่อนี่ละ!”

คำเต็มของ ตม.

พันตำรวจโทคำแพง เป็นนายด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) นครพนม ท่านมีลูกสาวสวย สิบตำรวจโทคำตา ประจำอยู่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ทำงานดีมาก จึงมีโอกาสได้เป็นลูกเขยของพ่อเฒ่าพันโทคำแพงแบบไม่ยากนัก

ปีวอก

ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ “ทางอีศาน” จำนวนมาก มีความเชื่อในการดูดวงชะตาราศี รวมถึงพ่อเฒ่าขำด้วยพ่อเฒ่าขำแกเป็นคนเชื่อเรื่องโชคลาง มักจะไปดูดวงชะตากับหมอดู ที่เขาลือว่าดูแม่นเสมอ ๆ แม้ระยะทางจะห่างไกลไปหน่อย พ่อเฒ่าขำก็จะไปดูดวงให้ได้ โดยอาศัยขอแรงให้บักสีผู้ลูกเขยขับรถพาไปดูดวงอยู่บ่อย ๆ บักสีมันก็ต้องทนปฏิบัติตามใจผู้เป็นพ่อเฒ่าของมัน

ที่ บ้ า น ก็ มี

บักน้อยจอมกะล่อน มันว่างงานอยู่บ้านกับพ่อเฒ่านมสองต่อสอง “พ่อเฒ่า...ช่วงนี้รถข้อยว่าง บ่ค่อยมีงานไปหากินเหล้า เว้าหยอกสาวน้อยกับข้อยบ่?” บักน้อยเอ่ย “ไปกินอยู่ไสล่ะ” เข้าทางพ่อเฒ่านมอีกแล้ว “ร้านหลบเมีย! ร้านนี้ลับตาคนดีมาก ผมเคยไปมาแล้ว มีสาวน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านบางคนอ๊อฟได้เด้อ สิบอกให้...เฮามาพากันหลอยไป ดีไหม?”

เ ส า ห ลั ก ฮั้ ว

พ่อเฒ่าช้าง เป็นคนชอบดื่มเหล้าขาวและยาดอง แต่ละวันถ้ามีเพื่อนพ้องน้องพี่มาชวนก็เป็นต้องตอบสนองทันที หรือยามไม่มีใครชวนก็เป็นฝ่ายออกปากหาพวกเสียเอง เมื่อได้เพิ่มดีกรีเข้าไปหน่อย คำพูดความคุยก็เริ่มพรั่งพรูออกมา แต่ละคนในวงเหล้า จะมีเรื่องสัพเพเหระเล่าสู่กันฟัง บางเรื่องมีเนื้อหาสาระความรู้ บางคนก็เล่าเรื่องตลกขบขัน แกล้งกันในวงเหล้าก็เคยมี แต่ก็ถือเป็นเรื่องสนุกสนาน ไม่ถือสากัน แม้เป็นเรื่องโป้หรือคำหยาบบ้างก็ถือเป็นเรื่องปกติ

ข้ า ว จุ ก ค อ

สองพ่อลูกรักผูกพันกันมาก เนื่องจากลูกชายเป็นเด็กช่างพูด ถึงจะช่างพูดแต่ก็น่ารักสองพ่อลูกไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ ต่อมาวันหนึ่งพ่อชวนลูกชายไปเยี่ยมเพื่อนที่ต่างหมู่บ้านเพื่อนของพ่อดีใจมากถึงกับจับไก่มาเชือดทำลาบเป็นอาหาร แถมยังจับปลาในบ่อมานึ่งอีกต่างหากเมื่อได้เวลากินข้าว เพื่อนของพ่อพร้อมด้วยครอบครัว เชิญสองพ่อลูกให้กินข้าวด้วยกัน ผู้เป็นพ่อมีข้อบกพร่องประจำตัวที่แก้ไม่หาย นั้นคือเมื่อกินข้าวคราวใดมักจะเกิดอาการข้าวจุกคอ ทางเดียวที่ช่วยได้คือต้องกินนํ้ามาก ๆ

กินข้าวป่า (๒)

กินข้าวป่าครั้งนี้ นอกจากต้มปลา ปิ้งกบแล้ว ผมสนใจเรื่องปูนา เพราะเพื่อนคนที่ชวนพวกเรามากินข้าวป่า เขาถนัดเรื่องทำอาหารจากปูนามาก เริ่มจากพวกเราลงลุยนํ้า จับปูใส่ถังนํ้ามีปูอ่อน ปูแก่ ตัวเล็กตัวโตเอาหมด ได้ปูเยอะพอสมควร เราก็มาแยกปูออกล้างนํ้าให้สะอาด ปูอ่อนยังตัวนิ่ม ๆ สีขาว ๆ ส่วนปูไข่ตัวโตกระดองใหญ่ไข่เต็มท้อง ปูตัวขนาดกลางกระดองยังแข็งมากนักก็นำมาทำ “ตำปู”

พื้นสืบ

“พื้นสืบ” ในภาษาลาว หมายถึง เรื่องเล่าพื้นบ้าน มีเนื้อหาเล่าถึงประวัติของ บุคคล, เหตุการณ์, สถานที่, ชุมชน, บ้านเมือง ฯลฯ ดั้งเดิมเป็นวรรณกรรม “มุขปาฐะ” คือเรื่องเล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีการเขียนบันทึกเชิงประวัติศาสตร์ เนื้อหาของพื้นสืบถูกปรับปรุง ถูกตัดทอน ให้ดูเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ทางอีสานบ้านเรา เรียกวรรณกรรมประเภทนี้ว่า “หนังสือพื้น”

ภูมิใจ

พ่อเฒ่าสีโห ผัวแม่เฒ่าสีกา ไทบ้านท่ามะโก มีลูกเขยชื่อว่า ทิดโท “บักทิดโท” มันเป็นคนดี มีสัมมาคารวะ อยู่ในกรอบของฮีตเก่าคองหลังบ่คือพ่อเฒ่าสีโห ซึ่งมีนิสัยมักม่วน หยอกผู้สาวสํ่าน้อย เว้าเล่นแกมอีหลี จนผู้คนชาวบ้านคึดว่าเรื่องมาจากปากพ่อเฒ่าสีโหนั้นเป็นความจริงไปทั้งหมด! ทั้ง ๆ ที่บางเรื่องไม่เป็นความจริงเหมือนที่แกว่าเลย

กินข้าวป่า (๑)

“กินข้าวป่า” เป็นธรรมเนียม ประเพณีของชาวอีสานมาแต่โบราณ “กินข้าวป่า” คือการนัดแนะเปลี่ยนบรรยากาศไปกินข้าวนอกบ้านโดยจะนัดแนะกันในหมู่เพื่อนฝูงหนุ่มสาว หรือกลุ่มญาติ ๆ ไปจนถึงชุมชน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำให้สังคมชุมชนได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ ร่วมกิจกรรมให้เกิดความสามัคคีผูกพันในหมู่คณะ ถ้าเปรียบสมัยนี้ก็เหมือนกับนัดกันไปกินข้าวนอกบ้าน หรือไปปิกนิกแบบชาวตะวันตก

ข้าวขวางโลก

ต้องดัดนิสัยตัวเอง หัดมันตั้งสติให้เที่ยงจากนั้นก็ดัดนิสัยต้นข้าวในนาของเฮา... ให้มันปรับตัวกับดินที่บ่มีปุ๋ย บ่มีสารเคมี มันอาจจะบ่งามในระยะแรก แต่เมื่อปรับตัวได้ นิสัยดีแล้ว ในปีที่สามมันจะงามจนบ่อยากจะเชื่อ’ พ่อแดงเล่าด้วยอารมณ์ขันบนแคร่ริมกอไผ่ ลมเมษาพัดโชยมาจากทิศเหนือ หอบกลิ่นหอมรวงข้าวและความเย็นชื่นจากทุ่งนามาคลอเคลียร่างผอมสูง อารมณ์ดี แข็งแรงของชายชาวนาวัย ๖๐ ผู้เป็นลูกชายคนที่ ๒ ของพ่อแม่ แต่ทว่ากลับกลายเป็นเสาหลักและเป็นผู้นำให้กับพี่น้องของตน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com