วัฒนธรรมแถน (๕) ปู่แถน ย่าแถน
นิทานที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นนิทานที่คนเฒ่าคนแก่เล่ากันมาจนถึงปัจจุบันนี้ มันก็มีว่าคนภาคเหนือหรือคนล้านนาเรานี้เขาว่า การที่คนเรานั้นทำอะไรไม่สำเร็จหรือว่าเกิดป่วยเป็นนั่น ๆ นี่ ๆ ทำอะไรก็ล้มเหลวนั้นเขาว่าเกิดจากการที่ปู่
แถนย่าแถนนั้นแช่งให้เป็น บางครั้งก็มีการส่งแถนหรือว่าทำเครื่องพลีกรรมส่งให้แถนเพื่อให้เคราะห์ภัยต่าง ๆ นั้นหายไป...
อีศานปุระ
อีศาน (สันสกฤต), อีสาน (บาลี) แปลว่า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
อีศาน, อีสาน แปลว่า พระศิวะ หรือพระรุทร
อีศาน, อีสาน แปลว่า พระอีศาน-เทพเจ้าผู้ครองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
อีศาน, อีสาน เคยเป็นชื่อแคว้นโบราณแคว้นหนึ่งในสุวรรณภูมิ ชื่อเต็มว่า อีศานปุระ
มรรควิธีวิทยา Methodology (1)
ปรัชญาเป็นวิทยาศาสตร์แห่งโลกทัศน์ ในขณะเดียวกัน ปรัชญาก็เป็นวิทยาศาสตร์แห่งมรรควิธีวิทยา โลกทัศน์กับมรรควิธีวิทยาพูดให้ถึงที่สุดแล้วคือสิ่งเดียวกัน เมื่อเราใช้โลกทัศน์ไปรับรู้และดัดแปลงโลก ไปค้นคว้าปัญหา ไปแสดงทัศนะ ไปชี้นำการงาน มันก็คือมรรควิธี มรรควิธีมาจากโลกทัศน์
ฮีตเดือนสิบสอง พระชาวเมืองปาฐาลุยโคลน
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้ขึง หรือไม้สะดึง คือกรอบไม้สำหรับขึงผ้าเพื่อเย็บจีวรของพระภิกษุให้สะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีเครื่องมือที่จะใช้เย็บได้สะดวกเหมือนในปัจจุบัน การเย็บจีวรนั้นต้องเย็บผ้าหลาย ๆ ชิ้นติดต่อกัน ให้มีรูปแบบเหมือนคันนา
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๓)
ตรางู หรือ พญานาคนี้ ผู้รู้บางท่านก็บอกว่าคือตัว “พ” ซึ่งจะเป็นเท็จหรือจริงประการใดมาคอยติดตามกันครับ สัญลักษณ์นี้ผมมีความเห็นว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ได้ เพราะจากที่ผมได้ศึกษาพบว่าสัญลักษณ์นี้พบในเงินพดด้วง (เงินหมากค้อที่ชาวอีสานเรียกกัน) ที่ขุดพบที่เมืองศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย ซึ่งน่าจะเป็นเงินพดด้วงยุคแรก ๆ ของอาณาจักรสุโขทัย
ผีบ้าตาวอด : ผีน่ากลัวในฤดูดอกทองกวาวบาน
ผีนั้นเรียกกันว่า ผีบ้าตาวอด “ผีบ้าตาวอด เป็นครึ่งคนครึ่งผีหรืออมนุษย์จำพวกยักษ์ อวัยวะส่วนที่เป็นตาของมันนั้นดูเหมือนตาบอด แต่มันไม่บอด ในความเป็นจริงแล้วสามารถมองเห็นได้ดี เพียงแต่มันไม่มีแววตาอันเป็นคุณสมบัติของอมนุษย์จำพวก
ยักษ์
ดอกจาน [Palasha] ‘เล็บแดงแห่งกามเทพ’…มิ่งไม้มหามงคล
สีแดงเริงร่าแห่งดอกจานยามบานตระการมีพลังร้อนแรงจนฝรั่งตั้งฉายาว่า “เปลวไฟในพนา” - frame of the forest แต่ชาวภารตะเปรียบเปรยได้งดงามไพเราะกว่าว่า ดอกจานคือ “กามเทวนะขา – เล็บ (แดง) แห่งกามเทพ” เจาะดวงใจผู้มีรัก...
พระอุปคุตปราบมาร
พระอุปคุต เป็นนามพระเถระที่มีบทบาทสำคัญ ในคติความเชื่อของคนในลุ่มแม่น้ำโขงพบว่า ในพิธีกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวอีสาน เช่น งานบุญผะเหวด งานบวช งานกฐิน นิยมสร้างหอพระอุปคุตและทำพิธีนิมนต์ท่านมาร่วมในงานพิธี ด้วยคติความเชื่อที่ว่าท่านมีฤทธิ์มาก สามารถปราบมารไม่ให้มาก่อกวนในงานพิธีได้
[๑๐] ถํ้าเป็ดทอง และจารึกปฏิวัติ
ถํ้าเป็ดทอง อยู่ในเส้นทางขันหมาก หากเราศึกษาในระดับตำนาน ก็จะได้เพียงเรื่องเล่าที่ดูเหมือนไม่มีมูลความเป็นจริง ที่ว่าเป็นสถานที่ที่พระปาจิตนำส่วนหนึ่งของขันหมากคือ เป็ดทองมาไกลถึงที่แห่งนี้ เพราะอยู่ในเขตลำนํ้ามาศเหมือนกันกับ ลำปลายมาศ และบ้านกงรถ แต่เมื่อได้เดินทางไปสำรวจ ศึกษาเอกสาร และสถานที่ในบริเวณนี้กลับกลายเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญด้านโบราณคดีในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นที่ตั้งของร่องรอยประวัติศาสตร์และโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐานก่อนสมัยนครวัด
จาก “หมา” สู่ “สิงมอม” ?
คติความเชื่อของชนในตระกูลภาษาไท กะได เกี่ยวกับ “ข้าว” เชื่อกันว่า “หมา” (สุนัข) เป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ ชาวจ้วง (ในกวางสี) มีนิทานเรื่อง “หมาเก้าหาง” เล่าว่า หมาเก้าหางไปขโมยเมล็ดพันธุ์ข้าวจาก “ตัวฟ้า” (โตเปี๊ยะ ในภาษาจ้วง) “ตัวฟ้า” ใช้อาวุธ (สายฟ้าผ่า) ขว้างใส่หมาเก้าหาง สายฟ้าผ่าตัดหางหมาไปแปดหาง แต่หมาเก้าหางรอดชีวิต นำพันธุ์ข้าวที่ติดมากับหาง (ที่ยังเหลืออยู่หนึ่งหาง) มาให้มนุษย์ มนุษย์จึงปลูกข้าวกินได้
ฮีตเดือนสิบเอ็ด (๑) วันปวารณาเปิดโอกาสชี้แนะ
คำว่า ปวารณา หมายถึง การยอมให้ใช้ ยอมให้ขอ ยอมให้ว่ากล่าว ยอมให้ตักเตือน วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ เป็นประเพณีนิยมที่สืบทอดกันมานาน เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา ออกจากที่อยู่ประจำในฤดูฝนของพระสงฆ์ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งตามกำหนดไม่ไปค้างแรมที่อื่น ตั้งแต่วันเข้าพรรษา แรม ๑ คํ่า เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ เมื่ออยู่ครบ ๓ เดือนเรียกว่า ไตรมาส วันออกพรรษาเรียกอีกอย่างว่า วันปวารณา ในวันนี้พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์ทำปวารณาแทนอุโบสถสังฆกรรมคือ ไม่ต้องสวดพระปาฏิโมกข์
ที่นี่…เมืองบางขลัง : ปฐมบทแห่งชาติไทย
เมื่อกล่าวถึง “เมืองบางขลัง” ตำบลเล็ก ๆ ตำบลหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย น้อยคนนักที่จะรู้จัก รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณแห่งนี้ เมืองที่ถือกำเนิดขึ้นมาร่วมสมัยกับเมืองเก่าสุโขทัย เมืองเก่าศรีสัชนาลัย เมืองที่ปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อย่างกระท่อนกระแท่นแต่ก็ทรงไว้ซึ่งความสำคัญ
ใบสีมา ใบเสมา โบสถ์ อุโบสถ วิหาร
ใบสีมา หรือ ใบเสมา คือแผ่นหินทั้งที่มีลวดลายและไม่มี ปักไว้แปดทิศ คือซ้าย ขวา หน้า หลัง มุมทั้งสี่ มีทั้งแบบหนึ่งชั้นสองชั้นและสามชั้น เป็นเครื่องหมายบอกว่าเขตโบสถ์(อุโบสถ) เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรม ใช้เฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น
ความหมายของขันหมากเบ็ง ลาวล้านช้างโบราณ
ขันหมากเบ็งจ์ หรือ ขันหมากเบ็ง เป็นเครื่องสักการะชั้นสูง มีมาแต่โบราณในอาณาจักรไท ทั้งในล้านนา
(หมากสุ่ม หมากเบง) ล้านช้าง (ขันหมากเบ็ง หมากเบญจ์) เป็นบายศรีโบราณ อายุนับหลายพันปี มีจารึก
ในใบเสมาทวารวดี ประวัติที่ชัดเจนของขันหมากเบ็งจ์ตามหนังสือผูกใบลานกล่าวถึงขันหมากเบ็งจ์ ดังนี้
“ศักราชได้สมัยพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช พระเจ้าแผ่นดินชวาเชียงทอง (ล้านช้าง)
ฮีตเดือนสิบ เกิดจากคติเรื่อง “เมียหลวงอิจฉาเมียน้อย”
คำว่า ข้าวสลาก หรือ ข้าวสาก หรือข้าวกระยาสารท แปลว่า ของกินในฤดูสารท และคำว่า หม้อข้าว ข้าวทิพย์ ข้าวปายาส (ปายาด) ข้าวมธุปายาส ข้าวปาด ข้าวสัปปิยาคู ก็มีความหมายเดียวกันแต่เรียกต่างกัน คำว่า ข้าวสลาก มาจากคำว่า สารท (ศรทฺ) ในภาษาสันสกฤต (ภาษาบาลีมาจากคำว่า สรท) ต่อมาออกเสียงสากหรือสาด