ประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน ยุคใกล้กึ่งพุทธกาล เชิงวิเคราะห์
ในเชิงโครงสร้างอำนาจรัฐ เริ่มจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๓๓) สยามได้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองลาวทั้งฝ่ายซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อการควบคุมและจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ กับทั้งเพื่อรับมือกับการรุกรานของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส
ประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน ยุคใกล้กึ่งพุทธกาล (พ.ศ.๒๔๗๕-๒๕๒๕)
เมื่อจะเขียนถึงประวัติศาสตร์การเมืองอีสานยุคใกล้ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๐๐ และระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นช่วงกึ่งพุทธกาล อันมีเหตุสำคัญผันแปรเกิดขึ้นมากมายหลายครั้งในทางการเมืองของประเทศไทยเรา ความรู้สึกแรกที่เกิดกับผู้เขียนคือ มันเป็นเรื่องใหญ่มีผลสะเทือนลึกซึ้งยาวไกล และแทบทุกเหตุการณ์ก็เกี่ยวพันมาถึงการเมืองอีสานอย่างแยกไม่ออก นักการเมืองและผู้นำคนสำคัญของอีสานได้รับอานิสงส์ไปกับเขาด้วยทุกครั้ง
ขะลำ วัฒนธรรมในชาติพันธุ์อีศาน
ชาติพันธุ์อีศาน มีระเบียบแบบแผนการ ปกครองบานเมืองและการควบคุมสังคมสืบเนื่องกันมายาวนาน นอกจากฮีต ๑๒ คอง ๑๔ เป็นแนวปฏิบัติแล้วยังมีข้อห้ามอีกคือขะลํา หรือคะลํา ซึ่งมีการอบรมบอกสอนลูกหลานรับช่วงกันมาเป็น ช่วง ๆ นับว่าเป็นมรดกตกทอดมาจากโบราณ เป็นความเชื่อดั้งเดิม ไม่ปรากฏในประมวลกฎหมายใด ๆ เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมา
แสงสว่างส่องทางสังคมไทย
ฮีต ๑๒ คอง ๑๔ ขนบธรรมเนียมและธรรมนูญชีวิตแต่โบราณ รวมทั้งแบบวิถีการบริหารจัดการตนเองที่ถูกกดทับ ระงับ ตั้งแต่ครั้งรวมศูนย์อำนาจจากทุกภาคเข้าไปอยู่เมืองหลวง เพื่อขีดเส้นแดนประกาศราชอาณาจักรขึ้นนั้น ถึงวันนี้โลกเปลี่ยนบ้านเมืองขยายตัวซับซ้อน ผู้คนพลเมืองมากล้นสังคมมีปัญหาหมักหมมมากมาย ชาวไทยจึงต้องสร้างองค์ความรู้ของตนขึ้นใหม่
อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) ผู้เปิดดินแดนอินโดจีนสู่สังคมโลก
อองรี มูโอต์ มีผลทำให้ 'นครวัดนครธม' กลายเป็นสิ่งที่เลื่องลือถึงความมหัศจรรย์ของโลกตะวันออก (ตอนนั้นยังไม่มีคำว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือคำว่าอุษาคเนย์) และก็เป็นผลทำให้ฝรั่งเศสสนใจในดินแดนอินโดจีนอย่างมหาศาล : ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
คำตัดสินใหม่ของ “สมเด็จพระพันวษา”
กูรู้ว่ามึงรักขุนแผน ควรจะสมรักแสนเสน่หา อ้ายขุนก็จงหยุดเพิ่มภรรยา ให้เกียรติเพศมารดาไม่หยามใจ อันมนุษย์สุดเลิศประเสริฐสุด คือให้เกียรติมนุษย์ยืนหยัดได้ เสมอศีลเสมอธรรมอำไพ กูให้มึงรับไปอีวันทอง ส่วนว่าอ้ายช้างจงฟังกู อย่าขี้ตู่เมียเขามีเจ้าของ แม้มึงจะรักไม่เป็นรอง ยกย่องวันทองยิ่งหญิงทั้งปวง ผิดศีลผิดธรรมกรรมวิบาก ด้วยพิษโศกโรคราคมันหนักหน่วง ร้อยเล่ห์เพทุบายร้ายลวง ชิงช่วงที่ออพลายมันไปทัพ
ขุนทึง : ตำนานหนึ่งของศรีสัตตนาคนหุต
มีนครแห่งหนึ่งชื่อ เชียงเงื้อม หรือเชียงใหญ่ มีกษัตริย์ นามว่า ขุนเทืองและนางบุสดี ปกครองบ้านเมือง ครั้งหนึ่งขุนเทืองต้องการจะออกเดินเที่ยวป่า จึงออกเดินทางจากเมืองไปในป่าประมาณ 2 เดือน จึงถึงแม่น้ำแห่งหนึ่งเป็นสวนของพญานาค นางแอกใค้ธิดาพญานาคเนรมิตสวนและศาลาไว้สวยงามมากดังนี้
สี่ตำนานครูเพลงอีสาน
ในมุมของคนปิดทองหลังพระอยู่เบื้องหลังนักร้องชื่อดังนั้น อีสานเองก็มี สี่ตำนานครูเพลงสร้างสีสันในวงการลูกทุ่งเมืองไทยอย่างมาก อาจเรียกได้ว่า ผู้สำแดงพลังลาวชาวอีสาน ผ่านเสียงเพลง สะท้อนภาพสังคม วิถีชีวิต และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บอกเล่าผ่านบทเพลงยุคสมัยได้อย่างคมชัดผนวกกับความสละสลวยทางภาษาที่นักแต่งได้แต่งขึ้นกลมกลืนกับเสียงร้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนของนักร้อง
ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๔)
หลังจากเสร็จศึกกับล้านช้างในปีพ.ศ.๒๓๒๒ กรุงธนบุรีก็เกิดจลาจลขึ้นในปีพ.ศ.๒๓๒๕ เจ้าพระยาจักรี(ก่อนหน้านี้คือเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก) ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากพระเจ้าตากสิน และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์มีพระนามว่าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(รัชกาลที่๑) และสถาปนาน้องชายคือ เจ้าพระยาสุรสีห์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาถ
ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๓)
จึงเป็นเหตุให้สยามได้ใช้โอกาสนี้หาเหตุยกทัพตีอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งหากเป็นดังเหตุที่ว่าก็ควรยกทัพทำศึกกับอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ แต่การหาเป็นดังนั้นไม่ สยามยกทัพตีอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และบังคับให้อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง เป็นเมืองประเทศราชด้วย
มหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคงเป็นเพราะการศึกษาเราสอนคนให้เรียนแต่หนังสือ ท่องจำเพื่อเอาไปสอบให้ได้คะแนนดี เป็นการศึกษาที่แปลกแยกจากชีวิตจริง เอาตำราเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตจริงมาเรียน มาแก้ปัญหามาพัฒนาให้ดีขึ้น
เครือญาติ
สิ่งที่น่าสนใจในหมู่เครือญาตินั้นคือ ความเชื่อและค่านิยมที่ได้รับการปลูกฝังและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน จนกลายเป็นรากแก้วหยั่งลึกแตกเป็นรากแขนง แตกเป็นรากฝอย ยากต่อการโค่นล้ม ทำลายล้าง อาจจะทำลายรากฝอยได้ทำลายรากแขนงได้ นั่นก็เป็นเพียงการทำลายเปลือกเท่านั้น
ชีวิตการอ่าน…กามนิต
"ถ้าจะดูโศกาดูรในหมู่สงฆ์ก็ในการร้องขับทำเพลง ถ้าจะดูความบ้าในหมู่สงฆ์ก็ในการเต้นรำ ถ้าจะดูความเป็นเด็กในหมู่สงฆ์ ก็ในอาการยิงฟันหัวเราะ" ที่จำได้เพราะเวลาผมไปวัดกับแม่ ผมจะแอบดูว่า หลวงพี่ทำอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ไหม เมื่อไม่นานมานี้ ผมไปพักโรงแรมระดับห้าดาวในกรุงเทพฯ เดินผ่านห้องประชุม ได้ยินเสียงหัวเราะเฮฮา ปรบมือเป็นจังหวะ นึกว่าคอนเสิร์ตถามบ๋อย ๆ บอกว่า ในห้องนั้นพระกำลังเทศน์
สดับหู สะดุดตา สะกิดใจ
"แต่ที่ผมจะตั้งข้อสังเกตต่ออาจารย์ธัญญาก็คือที่ว่า "นายผี" ปลุกคนจนลุกต่อสู้นั้น... นอกจากต่อสู้กับผู้แทนที่เห็นท่าแต่กล้าโกง เที่ยววิ่งอยู่โทงโทง เที่ยวมาแทะให้ทรมาน...นอกจากนี้ ยังมีใครที่ใหญ่กว่าผู้แทน ซึ่งก็โกงและกดขี่บีฑาหนักกว่าผู้แทนอีกหรือไม่ หรือหยุดอยู่แค่ผู้แทน ที่มีเพียงปากและมือใช้ในสภาเท่านั้น..."
พญาแถน, พญาคันคาก และบั้งไฟ
การทำบุญบั้งไฟ เป็นประเพณี เพื่อจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาไฟแก่เทพเจ้าบนสวรรค์ผู้ดูแลน้ำฟ้า ที่ชื่อว่า วัสสกาลเทพบุตร ถ้าทำถูกใจท่าน ท่านก็จะประทานน้ำฝนให้ตามฤดูกาล แต่ที่เป็นจารึกบนใบลานอักษรไทน้อย เป็นความเชื่อของคนลาวและไทยอีสานมากที่สุด เห็นจะเป็น นิทานเรื่องพระยาแถนและนิทานเรื่องพระยาคันคาก เป็นนิทานลาวที่แพร่หลาย นับเป็นตำนานของการทำบุญบั้งไฟ ในลาวและในอีสานของไทย