Category

อาหารการกิน

ดอกมะเดื่อเป็นของหายาก…จริงหรือ?

คนในเมืองรู้เพียงว่า มะเดื่อเป็นชื่อต้นไม้ บ้างรู้ดีขึ้นไปอีกว่า ลูกมะเดื่อมักมีแมลงหวี่อยู่ข้างใน บ้างก็ว่าผลมะเดื่อฝรั่งนั้นอร่อยนัก คนชนบทเสริมว่า ใบและผลอ่อนของมะเดื่อกินได้ อีกคนบอกในป่ามีมะเดื่อลูกโต ผลสุกสีแดงหวานอร่อย

ผักหวานบ้าน-ผักหวานป่า

ผักหวานของคนในกรุง กับผักหวานของคนชนบท เป็นไม้คนละชนิดกัน เพื่อมิให้สับสนชาวกรุงจึงเรียกผักหวานแบบดั้งเดิมที่พวกเขารู้จักว่า ผักหวานบ้าน และเรียกผักหวานของชาวชนบทว่า ผักหวานป่า ส่วนชาวชนบทยังคงเรียกผักหวานของเขาเช่นเดิม ไม่รับรู้ทั้งผักหวานบ้าน และผักหวานป่า

จากใบชาถึงใบเมี่ยง

ถ้าไม่นับน้ำเปล่า ชาก็คงเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เมื่อเอ่ยถึงชา เรามักเชื่อมโยงไปถึง จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย และซีลอน แน่ละ ไม่มีไทย แต่เชื่อหรือไม่ ในความเผ็ดร้อน อ่อนละมุน ของวิถีชีวิตคนไทยนั้น มีรสชาติฝาดหวานของใบชาปะปนอยู่ด้วย อาจเป็นร้อยหรือพันปีมาแล้ว

ลูกเดือยกับซุปไก่ฟ้าในตำนาน

ได้ยินคำ "ลูกเดือย" หลายคนนึกถึงลูกเดือยในน้ำเต้าหู้ บ้างก็เคยกินข้าวต้มใส่ลูกเดือย ส่วนใหญ่กินเพราะเชื่อว่าดีต่อสุขภาพ อย่างที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำต้มธัญพืช ที่เฟื่องฟูเมื่อสักสิบกว่าปีก่อน ลูกเดือยมีความหมายเพียงแค่นี้หรือ คงไม่ใช่

มหัศจรรย์บัวหลวง

บัวหลวง หมายถึงบัวชนิดที่ใบอยู่เหนือผิวน้ำ ก้านใบและก้านดอกแข็ง ดอกมีเพียงสองสีเท่านั้น คือขาวและชมพู บางทีก็มีทั้งขาวทั้งชมพูในดอกเดียวกัน บัวชนิดนี้เองที่คนไทยใช้ถวายพระสงฆ์และไหว้พระพุทธ เรียกอีกอย่างว่า ปทุมชาติ ชื่อจังหวัดปทุมธานี ก็สื่อถึงบัวชนิดนี้

“ปลาแดก” นั้นฉันใด

ปลา คือเป็นกับข้าวหลัก หรือเป็นอาหารหลักของคนอีสานมาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จาก ปู่ ย่า ตา ทวด สอนลูกสอนหลานว่า ให้กินอาหารหลักเป็นประจำ คือ “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นแนวกิน” หมายถึง ให้กินข้าวเป็นหลัก ให้กินผักเป็นยา และให้กินปลาเป็นกับข้าว นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปลา มีความสำคัญต่อการบริโภคอาหารของคนอีสาน

กลิ่นข้าว กลิ่นดอกไม้ กลิ่นธูป และกลิ่นปิศาจ

วิทยาศาสตร์มองว่า กลิ่นเป็นสารเคมีที่เมื่อจับกับตัวรับกลิ่น ในส่วนบนของโพรงจมูกแล้ว ส่งสัญญาณไปยังสมอง หลังจากประมวลผลเปรียบเทียบกับกลิ่นและเหตุการณ์ในอดีต กำหนดเป็นการแสดงออกที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับกลิ่นนั้น และยังเชื่อมโยงไปถึงความรู้สึก และอารมณ์อื่น ๆ

ทองกวาว/จาน ในมิติทางการแพทย์

ในฤดูฝนและฤดูหนาว ทองกวาวมีใบเขียว ดูกลมกลืนไปกับไม้อื่น ๆ รอบข้าง แต่ในตอนปลายฤดูหนาวต่อต้นฤดูแล้งเมื่อใบไม้ร่วง เป็นช่วงเวลาที่ทองกวาวมีสีสันสวยงามที่สุด โดดเด่นกว่าไม้ต้นอื่น ๆ ข้างเคียง ด้วยดอกสีส้มแดงอย่างที่เรียกว่า สีส้มอินเดีย (Indian orange) เต็มล้นกิ่งที่ปราศจากใบ การเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีคนรู้จักดีเช่นนี้ น่าจะหมายถึงการมีคนรู้จักนำเอาส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายด้วย

ข้าว มะพร้าว ตาล : เมรัยพฤกษ์ของไทย

เราไม่รู้แน่ชัดว่าเหล้าเกิดขึ้นเมื่อไร นิทานพื้นบ้านของไทยหลายท้องถิ่นกล่าวไว้คล้าย ๆ กันว่า มีเหล้าเกิดขึ้นจากการหมักของผลไม้ที่ตกค้างอยู่ในโพรงไม้ ตอนแรกก็เป็นลิงหรือสัตว์ป่ามากิน ต่อมามนุษย์ก็กินตาม กินแล้วก็เมาสนุกสนาน จนเลยเถิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เล่าขานกันเป็นนิทานชื่อ “มูลละเหล้า” ชี้ให้เห็นเหตุอันควรละเลิกสุรา

คุยเรื่องพริกกับคนช่างสงสัย

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยทุกภาคคือรสเผ็ดและเป็นรสเผ็ดที่มาจาก “พริก” แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน หรืออาหารยอดนิยมอย่างผัดกระเพรา ล้วนไม่ขาดพริก น้ำพริกต่าง ๆ ก็ต้องมีพริก แม้แต่คนที่กินเผ็ดน้อยที่สุด ก็คงกินส้มตำโดยไม่ใส่พริกไม่ได้

‘ลาบปู’ กินสะเดาบานคู่กับลาบปูยามค่ำ

วิธีการปรุงลาบปูคือง่ายมาก โดยเริ่มจากใส่เกลือลงในอ๋อปูสักหนึ่งช้อนชา แล้วบีบมะกอกสุกตามลงไปสักลูก มะกอกสุกให้รสเปรี้ยวนวลเข้ากันได้ดีกับเมนูปูนาหน้าหนาว เครื่องชูรสมีแค่นี้ หากยังขาดเปรี้ยวและเค็มก็ให้เติมเกลือและมะกอกเพิ่ม หลังจากนั้นให้ใส่พริกป่นตามไป และใส่ข้าวคั่วพร้อมต้นหอมผักชีเป็นอันดับสุดท้าย

๓๖๕ น้ำพริก – ๑๗. น้ำพริกเต้าหู้พริกไทยอ่อน

พริกไทยเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุลม (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยต่าง ๆได้ พริกไทยอ่อนช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี นอกจากนั้นยังนิยมนำมาทำน้ำพริกพริกไทยอ่อน นิยมใช้พริกไทยอ่อนเป็นส่วนประกอบใน ผัดเผ็ด ผัดฉ่า แกงป่า น้ำพริกพริกไทอ่อน

๓๖๕ น้ำพริก – ๑๐. น้ำพริก ผกค. สูตร ๕ ปลาทูกับน้ำพริกผงชูรส

ผมเป็นหมอประจำกองร้อย ๘๕ เขต ๘ ดอยยาว-ผาหม่น จังหวัดเชียงราย แต่ก็ไม่ค่อยได้นอนในกองร้อยส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปทำงานชายขอบฐานที่มั่น งานประจำคือไปกับหน่วยลำเลียง ขนอาวุธลงเขาไปส่งสหายที่ขับรถปิคอัพมารับขนส่งไปที่เขตงานใหม่ ๆ ในภาคเหนือ แล้วก็แบกของลงจากรถปิคอัพกลับฐานที่มั่น ครั้งหนึ่งทำตัวเสียสละแบกรับงานหนัก รับแบกกระทะใบบัว

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๘. น้ำพริก ผกค. สูตร ๓ น้ำพริกส้มห้วยกับต้มหวายใส่ปู

ครั้งหนึ่งพักกินข้าวเที่ยงข้างห้วย เพราะแลเห็นกอหวาย มีกิ่งอ่อน ๆ เยอะ จึงก่อไฟต้มแกงกันสักหน่อย คนนึงไปตัดหวายมาปอก คนนึงไปหลก (ถอน ดึง) ตะไตร้น้ำ กับ ส้มห้วย อีกหลายคนพากันพลิกก้อนหินในห้วยเพื่อหาปูภูเขา

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๗. น้ำพริก ผกค. สูตร ๒ น้ำพริกแมงระงำ

ผมเป็น ผกค. ลูกกรุง หาอยู่หากินไม่เป็น อยู่ไหนก็ต้องพึ่งสหายชาวนา สหายชาวม้ง หาของกินมาเผื่อ อยุ่ในป่าดอยยาวสองปี ล่าสัตว์ได้ตัวเดียวคือ “อ้นตาบอด” ตัวเล็ก ๆ มันตาฟางเดินหลงขึ้นมาจากรู ผมจึงสามารถเอาไม้เคาะหัว หนีบติดตัวไปทำ “ป่น” หรือน้ำพริกใส ๆ
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com