ส่องซอด ทางอีศาน ฉบับที่ 14
จอกหนึ่ง พอซิกริกจอกสอง พอแซกแรกจอกสาม พอแปลกความจอกสี่ หลงพี่หลงน้องจอกห้า เห็นป้าว่าแม่นเมียจอกหก ชกปากพ่อเฒ่าจอกเจ็ด แกล้มเป็ดแกล้มไก่จอกแปด ฟ้อนตากแดดว่าแม่นฝนตกรินจอกเก้า ข้าวอยู่เล้านึกอยากขายเกวียนละบาทก็ขายจอกสิบ หลิบพุ้นหลิบพี้จอกสิบเอ็ด ตึ่งลึ่งตึ่ง
ยี่สิบสี่ มิถุนา…
ถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี ผมจะนึกถึงเพลง...ยี่สิบสี่มิถุนา...ยน มหาศรีสวัสดิ์ ปฐมฤกษ์ ของรัฐธรรมนูญของไทยฯ...นึกได้ว่าที่ด้านซ้ายของลานพระบรมรูปทรงม้า หน้าประตูสนามเสือป่าจะมีหมุดฝังอยู่ มีข้อความจารึกว่า “ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”
ซ่างแต้มฮูป อีสาน ล้านนา สู่อารยธรรมสุวรรณภูมิ
ฉบับนี้ศิลปะนำชีวิตจะขอนำท่านผู้อ่านมารู้จักกับช่างวาดชาวอีสานย้ายถิ่นฐานไปอยู่ล้านนาไปตามหาความงามแห่งสุนทรียรสเลาะเลียบประเทศเพื่อนบ้าน เป็นซ่างแต้มฮูปตามภาษาอีสาน หรือภาษาทางนครหลวงเวียงจัน นครหลวงพระบาง หรืออีกหลายแขวง ภาษาก็คือ ๆ คล้าย ๆ อีสานบ้านเฮานี่แหละครับ
ความยั่งยืนและเป็นธรรม ของการจัดการน้ำขนาดเล็ก
นานเหลือเกินกว่าคนในสังคมแห่งนี้จะคิดขึ้นมาได้บ้างว่า ที่เราสร้างบ้านแปงเมืองกันมาจนเจริญรุ่งเรืองได้ขนาดนี้ การทำนาอย่างเช่นในภาคอีสานนี้ก็ด้วยการทำนาน้ำฝน ด้วยชลประทานขนาดเล็กของชุมชน ทำขึ้นมาด้วยสมองและมือของชาวนาตัวเล็ก ๆ ถึงปัจจุบันก็ยังคิดเป็นร้อยละ ๙๕ ของพื้นที่
การเดินทางสู่โลกของชาวนา ครัวเรือนชาวนา (๒)
ในงานวิจัยรางวัลโนเบลของนักเศษฐศาสตร์อย่าง เอลินเนอร์ ออสทอร์ม ที่มีบทที่พูดถึงการถือครองทรัพยากรของท้องถิ่นในแบบ “common property” อันเป็นแบบแผนเดียวกันของชาวนาในการตั้งถิ่นฐานและการถือครองกรรมสิทธิ ซึ่งปัญหาด้านการถือครองที่ดินนี้มักจะเป็นปัญหาขัดแย้งกับสังคมภายนอกที่มีระบบระเบียบกติกาที่แตกต่างไปจากโลกของพวกเขา ซึ่งเป็นที่มาของปฏิกิริยาทางสังคม-เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในหลายกรณีเมื่อชาวนาต้องอยู่ร่วมกับโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ความแตกต่างดังกล่าวได้สร้างความอึดอัดขัดแย้งและเกิดเป็นกรณีปัญหาขึ้นมากมายนำไปสู่การศึกษาวิจัยกันหลากมิติ
บทบาทนักการเมืองรุ่นแรกของอีสาน (๔)
ความขัดแย้งของสองขั้วอำนาจ อันดำรงอยู่ในปัจจุบัน คือระหว่างขั้วอำนาจเก่ากับขั้วอำนาจใหม่เคยเกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่เริ่มก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่มีสภายุคแรก (แต่งตั้ง ๗๐ คน) และตั้งแต่มีรัฐบาลชุดแรกจากระบอบใหม่ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย เผชิญกับแรงบีบคั้นจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ตระหนกตกใจกับ เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ของ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) อันมีลักษณะก้าวหน้าล้ำยุคและโน้มเอียงไปทางสังคมนิยมว่า เป็นแนวคอมมิวนิสต์จึงรวมหัวกันต่อต้าน
ม่วนชื่นเจ้าแม่สองนาง
หมอ ช่วยบักวันชนะแหน่ วันชนะคือใครฉันไม่ได้สนใจ เบื้องหน้าฉันคือแมวที่กำลังทำท่ากระหายอากาศอย่างเอาเป็นเอาตาย หน้าบวม แถมเยือกเมือกเป็นสีม่วงคล้ำเช่นนี้ไม่ผิดแน่ อาการเป็นพิษจากยาพาราเซตามอล ไม่ทันได้ซักถามอะไรให้มากความเพราะถือเป็นกรณีฉุกเฉินที่ทุกวินาทีไม่ต่างจากทรายแห่งชีวิตที่กำลังร่วงหล่นสู่กระเปาะแก้วเบื้องล่าง
สภาพอีสานเมื่อ ๘๐ ปีก่อน จากชีวิตและปาฐกถาของผู้แทนราษฎรรุ่นแรก
หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ จะเห็นด้วยกับความดีเด่นในภาพร่วม ตามที่ ผศ.ดร.สมเกียรติได้ กล่าวไว้ นับเป็นครั้งแรกที่ “ผู้แทนราษฎร” ของจังหวัดต่าง ๆ ได้สะท้อนคติและความสำนึกที่ตนมีต่อท้องถิ่นของตน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสมัยใหม่ ที่เป็นรัฐเดี่ยวออกมาอย่างกระตือรือร้นและมีความหวัง ในส่วนของผู้แทนราษฎรของภาคอีสานชุดแรก ๑๙ คนนี้ ส่วนใหญ่ได้เป็นผู้แทนราษฎรครั้งนี้เพียงครั้งเดียว ยกเว้นรายของ นายเลียง ไชยกาล นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายทองม้วน อัตถากร และขุนวรสิษฐดรุณเวทย์ ในจำนวนผู้แทนราษฎรชุดแรกและชุดต่อ ๆ มาจนถึงปีที่เกิด “รัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐” นี้ มีผู้แทนราษฎรอีสานหลาย ๆ คน ที่อุทิศชีวิตให้กับงานการเมืองอย่างน่าประทับใจ
สัญชาติลาวกลายเป็นไทยในบังคับสยาม
เรื่องนี้ผมจะยังไม่ปักใจเชื่ออย่างหนึ่งอย่างใดลงไป เพียงแต่รับฟังไว้เป็นข้อมูล จากมุมมองของคนต่างประเทศ ยังต้องนำมาใคร่ครวญให้สมเหตุสมผลต่อไปอีก เพราะผมคิดว่าการสืบค้นประวัติศาสตร์จะต้องกระทำด้วยท่าทีของผู้ซึ่งบรรลุวุฒิภาวะ โดยเฉพาะในคนรุ่นใหม่ ไม่บังควรทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นการสร้างความขัดแย้งใหม่ ๆ จากความขัดแย้งเก่าในประวัติศาสตร์ แต่ควรศึกษาประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในอดีตเพื่อเก็บรับเป็นบทเรียน เพื่อจะได้กำหนดท่าทีต่ออนาคตได้อย่างเหมาะสม
พ่อเฒ่าสีกับบักสอย
พ่อเฒ่าสีเป็นคนใจกว้าง แกมีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง ครึ่งหนึ่งแกแบ่งให้ลูกเขย อีกครึ่งหนึ่งแกขุดสระเลี้ยงหอยแบบธรรมชาติ ด้วยการไปเก็บหอยโข่งหอยขม ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาปล่อยลงในสระแล้วให้อาหาร หอยก็ขยายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ เก็บกินได้ เก็บขายก็ดี ส่วนบักสอยที่ได้ที่ดินติดกับพ่อเฒ่าสี มันคิดจะเลี้ยงหมี
มหัศจรรย์ ‘ภูพาน’ บันดาลใจ (๑)
รูปลักษณ์ของดอกเหียงแลดูคล้ายเครื่องหมาย “สวัสดิกะ” ของชาวพุทธฝ่ายมหายาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก “สวัสดิกะ” ของชาวฮินดู เพียงแต่หมุนกลับข้างกัน (ของฮินดูหมุนวนทางขวา ของฝ่ายพุทธหมุนวนซ้าย) เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์มงคล เป็นเครื่องหมายแห่งพลวัตร การเคลื่อนไหว...
วัฒนธรรมบ่อน้ำ น้ำส้าง น้ำส้างแส่ง
นึกย้อนไปถึงฤดูร้อน พ.ศ. ๒๕๐๗ ณ หมู่บ้านชาวกวยแถบเชิงเขาพนมดองแร็ก เมื่อคราวเป็นเด็กน้อยอายุ ๖-๗ ขวบ เคยตามแม่ไปตักน้ำตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่าง แม่ให้ไปเป็นเพื่อน สงสัยว่าทำไมต้องไปแต่เช้ามืดขนาดนี้ พอไปถึงก็เห็นผู้หญิงทั้งสาวและวัยกลางคนนั่งบ้าง ยืนบ้าง มือก็จับไม้คานไว้ รอคิวตักน้ำ ใครที่ได้ตักน้ำก่อนก็จะได้หาบน้ำใสสะอาดกลับบ้าน
คำโตงโตย ทางอีศาน 14
ดร.ปรีชา พิณทอง ท่านอธิบายว่า คนที่มีการศึกษาหาความรู้ใส่ตนเรียกว่าคนตื่น คนที่ไม่สามารถหาความรู้เรียกคนหลับ ถ้าอยากรู้อย่านอนหลับ อยากเห็นให้หมั่นเที่ยว การเที่ยวไปดูนั่นดูนี่เป็นทัศนศึกษา
ผู้ใหญ่ลี เพลงอารมณ์ขันกับการเมืองในรูปพ่อขุนอุปถัมภ์
สำหรับในแง่เพลงลูกทุ่งแล้ว เพลงที่ล้อเลียนจอมพลสฤษดิ์ ก็มีในตอนท้ายของเพลง โกนจุก สิงโต ต้นฉบับของ เพลิน พรหมแดน ที่ ครูสุรินทร์ ภาคศิริ เป็นผู้แต่ง ได้หยิบวาทกรรมของจอมพลท่านนี้มาใส่ในบทเพลงแต่เพลงที่ล้อเลียนการเมืองค่อนข้างชัดเจนในยุคนั้นหนีไม่พ้นเพลง ผู้ใหญ่ลี เวอร์ชั่น ศักดิ์ศรี ศรีอักษร นักร้องลูกทุ่งเมืองอุบลราชธานี ผลงานเพลงของคู่ชีวิตของเธอเองคือ ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์
กาลเวลาของชาวอีสานในอดีต
ชาวอีสาน เป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่และสวยงามที่เรียกว่า กลุ่มชนวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง หรือกลุ่มชนวัฒนธรรมไทลาว ซึ่งในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง เป็นกลุ่มชนที่มีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ในการเรียกชื่อเวลาหรือนับกาลเวลา