Tao Dialogue 4 บทสนทนาว่าด้วยคำ ‘เต้า’ จาก ‘เต้า’ จุดกำเนิด สู่ ‘เก๊ง~เคียง~เชียง’ ที่ตั้งมั่น

Tao Dialogue 4

บทสนทนาว่าด้วยคำ ‘เต้า’ จาก ‘เต้า’ จุดกำเนิด

สู่ ‘เก๊ง~เคียง~เชียง’ ที่ตั้งมั่น

โดย ชายชื้น คำแดงยอดไตย

ความท้า

သၢမ် ၶႃ ၵဵင်း (တီႈ တင်ႈ မၼ်ႈ)

สาม ขา เก๊ง (ตี้ ตั้ง หมั้น)

สามก้อนเส้า (ที่ตั้งมั่น)

ပီႈ ၼွင်ႉ သၢမ် ၸၢႆး

ปี้ น่อง สาม จ๊าย,

พี่น้องสามชาย

ၶဵၼ်း ၶဵၼ်း ႁူဝ် လၢႆး သဵၼ်ႈ လဵဝ်။

เค้น เค้น โห ล้าย เส้น เหลว

เคียน เคียน หัว ลาย เส้น เดียว

*โพกหัวด้วยผ้าที่มีลายเดียวกัน

ความท้า: เป็นวรรณกรรมไต ประเภท “ปริศนาคำทาย”;

คำตอบ คือ “เก๊ง” | เชียง*

รูปลักษณะของ “เก๊ง” เป็นโลหะสามขา หมายถึง พี่น้องสามชาย ข้างบนสุด มีโลหะเส้นวงกลม

หมายถึง ‘ผ้าโพกหัว’ มีผืนเดียว มีลวดลายเดียว ใช้โพกด้วยกันทั้งสามคน (ไม่ใช่ใช้โพกคนละผืน)

คำแปล: ‘เก๊ง’ คือ เตาสามขา ซึ่งมีที่มาจากการตั้ง ก้อนเส้า(หิน) สามก้อน

‘ฟีไฟ’ คือ ที่ไฟ อยู่ในรูปกรอบไม้สี่เหลี่ยม มี ‘เก๊ง’ วางอยู่ตรงกลาง

‘เค้น’ คือ เคียน, โพก, มัดไว้ ที่หัว

คำอธิบาย: ‘ลายเส้นเดียว’ หมายถึง การโพกหัวด้วยผืนผ้าทอมือ ที่มีลายทอเดียวกัน (เหมือนกัน) แสดงว่าเป็นพี่น้องเผ่าพันธุ์โคตรด้ำเดียวกัน ไม่ใช่ใครอื่นไกลที่ไหน;

‘ พี่น้องทั้งสามชาย’ ในที่นี้ ใช้ผ้าโพกหัวผืนเดียว (เท่านั้น) เป็นการโพกรวมเข้าด้วยกันทั้งสามคนพี่น้อง (ไม่ใช่ใช้ผ้าโพกคนละผืน) ผ้าโพกหัวผืนนั้นเป็นผ้าทอมือที่มีลวดลายสวยงาม;

รหัสนัย: ‘พี่น้องสามชาย’ มีตัวตนหรือไม่ หมายถึงใคร ? หรือสิ่งใด?

(๑) เป็นภูมินาม: ‘พี่น้องสามชาย’ หมายถึง สามขาเก๊ง

‘เก๊ง’ คือ ที่ตั้งมั่นคง; เป็นที่มาของ ‘คำนำหน้า ชื่อถิ่นที่ตั้งมั่น’

ต่อมาคำกลายเสียง |เก๊ง~เจ๊ง~เชียง| ซึ่งมีความหมายเดียวกัน

*เกิดการสร้างคำให้ใช้เรียกชื่อสถานที่อันเป็นภูมิลำเนาที่ชุมชน ‘ตั้งมั่น’ ได้แล้ว

ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกัน เช่น เชียงมั่น เชียงของ เชียงทอง เชียงดาว เชียงแสน เชียงราย เชียงใหม่ เชียงตุง

(๒) ‘เก๊ง’ เป็นโครงสร้างสังคม (ไต) หมายถึง (องค์กรทางสังคม) “สาม ป๋าน” เช่น ในคำว่า “สามป๋าน เจ๊ดแซ้น”

สามป๋าน คือ

๑. ป๋านก๊นหนุ่มหม่าวสาว (กลุ่มหนุ่มสาว)

๒. ป๋านแหม้เฮิ้นป้อเฮิ้น (กลุ่มแม่บ้านพ่อเรือน)

๓. ป๋านก๊นเถ้า (กลุ่มผู้สูงวัย)

*ทั้งสามป่าน (กลุ่ม) เป็นโครงสร้างแกนของกลุ่มปกครองร่วมกันภายในชุมชนชาวไต ที่ยังคงมีสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้.

อ่านรายละเอียดโดยพิสดารได้ใน มหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง

“เต้าตามไต เต้าทางไท” โดย #ชลธิราสัตยาวัฒนา2565

บทที่ ๑๔ เฮือนมีฮ้าน กว้านมีเสา หินสามเส้า น้ำเต้าสามแถว

บทที่ ๑๕ ดอยสามเส้า เวียงน้ำเต้า สายวัฒนธรรมน้ำเต้า

บทที่ ๒๐ เต้าตามไต ไปกับรหัส ‘เต้า’ ของเตาสามขา

Related Posts

เปิดตัวหนังสือ “มหากาพย์ชนชาติไทฯ”
กำหนดการงาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ
หนังสือ ๓ เล่มชุด “มหากาพย์ชนชาติไท : เต้าตามไต เต้าทางไท”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com