Tao Dialogue 6 ต่อเต้าความ เรื่องสัญรูป|สัญอักษร “เต้าตี”

Tao Dialogue 6

ต่อเต้าความ เรื่องสัญรูป|สัญอักษร “เต้าตี”

ศิลปะวัตถุสำริด สมัยราชวงศ์ซาง-ราชวงศ์โจวตะวันตก

โดย ชลธิรา สัตยาวัฒนา

จอกเหล้าสำริดสามขา ใช้ในพิธีกรรม สมัยราชวงศ์ซาง

การสลักลวดลายสัญญะบนศิลปะวัตถุสำริด (Bronze vessels) สมัยปลายราชวงศ์ซาง ต่อเนื่องด้วยระยะต้นและระยะกลางของราชวงศ์โจวตะวันตก จัดว่าเป็น ‘ทวิสัญญะ’ ที่ทับซ้อนกัน คือมีทั้งส่วนที่เป็น ‘สัญรูป’ และ ‘สัญอักษร’ หรือนัยหนึ่งคือ ‘อักขระโบราณ’ แต่ดึกด้ำปางบรรพ์ ซึ่งจนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครอ่านออกและให้ความหมายได้ชัดเจน 

ระยะทศวรรษที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวในวงวิชาการตะวันตก โดยร่วมมือกับนักวิชาการจีน และขอความร่วมมือกับนักวิชาการทางสากลผ่านสื่อวิชาการออนไลน์ ให้ช่วยกันตีความและตรวจสอบการถอดรหัสความหมายของบางชิ้นงาน เช่นที่ผ่านทาง Academia.edu ซึ่งผู้เขียนก็ได้รับเชิญให้ร่วมออกความเห็นและประเมินความสมเหตุสมผลของการให้ความหมายด้วย

‘สัญรูป’ ที่ว่านี้ นักโบราณคดีทั่วไปและนักประวัติศาสตร์ศิลปะสายโครงสร้าง-หน้าที่นิยม เข้าใจว่าเป็น ‘ลวดลายทางศิลปะ’ ชนิดหนึ่ง ที่เรียกกันว่า ‘ลายเต้าตี’ [Taotie design]ในวงวิชาการของจีน  ต่อมาเริ่มมีการ ‘รื้อ~สร้าง’ แนวความเห็นนี้ โดยมีการถกเถียงในหมู่นักสะสมของเก่าโดยเฉพาะศิลปะวัตถุโบราณของจีน ในระดับโลก (เช่น Christie’s Auction International)

ที่คัดค้าน ‘การเหมารวม’ ลวดลายใน Bronze Culture ของจีนว่าเป็น ‘ลายเต้าตี’ ไปเสียทั้งหมด  ข้อคัดค้านที่ฟังขึ้นก็คือ ‘เต้าตี’ เป็นเพียงชื่อที่ใช้เรียกโดยอนุโลม มีปรากฏเพียงในเอกสารยุคสมัยหนึ่ง ในเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์ทางการของจีนบางฉบับเท่านั้น  การเรียกลายลักษณ์ที่ปรากฏในสมัยหนึ่งว่า ‘ลายเต้าตี’ อันเป็นผลให้ฝรั่งนักสะสมของเก่า วงการประมูลศิลปะวัตถุหายาก และนักวิชาการนานาชาติ รวมทั้งนักวิชาการไทย ก็ต้องเรียกตามนั้น 

ข้อโต้แย้งสำคัญคือ ศิลปะวัตถุโบราณที่ขุดพบในแหล่งโบราณคดีของประเทศจีนมีเป็นจำนวนมากมายมหาศาล สามารถจัดระเบียบเป็นยุคสมัยที่แน่นอน  การเรียก ‘ลายสัญญะ’ ที่มีอะไรบางอย่างใกล้เคียงกันว่า ‘เต้าตี’ และนิยามความหมายว่าเป็น ‘สัตว์ในปรัมปราคติของจีน ที่ดุร้าย’ อย่างเหมารวม  ชื่อและนิยามความหมายนี้ครอบคลุมห้วงเวลาหลายสหัสวรรษ นับพันๆ ปี จนพาให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆ แบบดาดๆ ผิวเผินเกินไป  จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับความลึกซึ้งซับซ้อนของลวดลายสัญญะต่างๆ ที่บรรพชนสอดใส่รหัสนัยไว้ ดังเช่นคำอธิบายว่า :

    “Taotie (饕餮) is an ancient Chinese mythological creature that was commonly emblazoned on bronze and other artifacts during the 1st millennium BC.” (Wikipedia, etc.)

หม้อหรืออ่างน้ำมนตร์ พร้อมฐานรองรับ, ศิลปะวัตถุสำริด ใช้ในพิธีกรรม สมัยราชวงศ์โจว

ในทศวรรษปัจจุบัน นักวิชาการชาวตะวันตกบางท่านเริ่มลงความเห็นว่า สัญรูปหน้ากาก ‘เต้าตี’ [Taoties] พรัอมด้วยลวดลายต่างๆ ประกอบหน้ากาก ‘เต้าตี’ อันหลากหลาย น่าจะเป็น “สื่อสัญญะ-มรดกร่วมทางวัฒนธรรม” ที่มีความหมายเชิงโครงสร้างระดับลึก จึงมีรูปแบบของ ‘หน้ากาก เต้าตี’ มากมาย หากแม้นว่าหมายถึง ‘สัตวเทพในปรัมปราคติ’ ก็มีมากกว่าหนึ่งเทวลักษณะ จนอาจเรียกได้ว่า ‘พหุลักษณ์ของลายเต้าตี’ แม้อาจเทียบกับที่มีปรากฏในสายวัฒนธรรมไทยสยาม เช่น ‘หน้ากาล’ ก็มี ‘พระราหู’ ก็มี และก็ยังมี ‘ท้าวจตุโลกบาล’ (จตุเทพ) ด้วย  ในมุมมองทางศิลปะ ก็อาจตีความ ‘mythical creatures’ ว่า เป็น หน้ากากรูปสัตว์นานาชนิดก็ว่าได้

นอกจากนี้ ลายหน้ากากอันเป็นมรดกร่วมเชื้อสายที่ว่านี้ ยังมักผนวกด้วย ‘จารึก’ อักขระโบราณ (Inscription) ที่แม้มีเค้ารูปใกล้เคียงกัน และมีใช้มาตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ซาง ต่อเนื่องมาถึงราชวงค์โจวด้วย  ในระหว่างห้วงเวลาที่กินเวลานับหลายพันปีย้อนขึ้นและวกลงมาอีกหลายพันปี สามารถแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ของแต่ละแว่นแคว้นและอาณาจักร ต่าง ๆ  มีการกระจายตัวของศิลปะวัตถุบรอนซ์ในพื้นที่ของรัฐและแว่นแคว้นใหญ่น้อยทางตอนกลางและตอนใต้ของจีน สัญรูปและสัญอักษรของแต่ละพื้นที่ ในแต่ละรัฐในอาณาบริเวณกว้างขวาง มีทั้งลักษณะร่วมและลักษณะต่าง ซึ่งต้องมีการสืบค้นวิจัยลงรายละเอียดเพื่อการตีความหมายอย่างจริงจัง  จึงควรมีการศึกษาเปรียบเทียบและจำแนกแยกแยะ รูปแบบของสัญญะ เพื่อดูความเชื่อมโยงระหว่างรัฐ ทั้งรัฐพันธมิตรและรัฐปฏิปักษ์ด้วย

เป็นเรื่องน่ายินดีที่การสืบค้นเรื่อง “เต้า” ทำให้เรามีความมั่นใจว่า บรรพชนชาวเยวี่ยของไทเราในบางแคว้น ได้มีการคิดประดิษฐ์ ‘อักขระ’ เป็นสัญญะเพื่อแสดงตน สะท้อนให้เห็น’ตัวตน’ อย่างชัดเจนในพื้นที่และแหล่งโบราณคดีที่ขุดพบ  ศิลปะวัตถุทรง ‘เต้า’, สัญรูป ‘เต้าตี’, และ สัญอักษรแบบ ‘เต้าตี’ ได้ทำการ ‘สื่อสาร’ สำแดง ‘อัตลักษณ์’ ของบรรพชนชาวไท|ไต|ลาว มาอย่างเงียบเชียบมาแต่โบราณกาล ในห้วงเวลาที่เคยถือกันว่าเป็น ‘สมัยก่อนประวัติศาสตร์’ ของจีน ที่ว่ากันมาว่า เป็นเพียงตำนานที่เล่าขาน มีแต่เรื่องราวในปรัมปราคติ ยังไม่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ของตนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  แต่สัญญะ ‘เต้า’ ในศิลปะวัตถุ ‘เตา~หม้อ สามขา (อวบ) ได้ประกาศคุณค่า ท้าทายกาลเวลา  อีกทั้งชี้แนะเส้นทางให้ว่า บรรพชนไท|ไต|ลาว ได้เดินทางไกลไปทิศทางใดบ้าง และได้สร้างบ้านแปงเมือง สร้าง ‘เชียง’ และ ‘เวียงสามเส้า’ หมุดหมายตนเองไว้ตาม ‘ดอยน้ำเต้า’ ฯลฯ เพื่อให้ลูกหลานวงศ์วานว่านเครือ ‘ตามรอย’ ได้ โดยไม่หลงทิศผิดทาง

“เต้า” เป็นคำไทดั้งเดิม เป็นคำพื้น ๆ ที่เลอค่า  เพราะ ‘คำ’ เป็นหน่วยพื้นฐานที่คนเราใช้สื่อสาร เพื่อถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึก จนตกผลึกเป็นความรู้

‘คำ’  คือ  “เสียงที่พูดออกมา ได้ความอย่างหนึ่ง ตามความต้องการของผู้พูดจะเป็นกี่พยางค์ก็ตาม เรียกว่าคำหนึ่ง” [ตำราวจีวิภาค, พระยาอุปกิตศิลปสาร]

‘คำ’  ยังมีอีกความหมายหนึ่ง คือ (ทอง)คำ เป็น ‘โลหะวัตถุที่ล้ำค่า’ นับแต่โบราณกาลสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ในวิถีสร้างคำและให้ความหมายของคำต่าง ๆ นั้น  หน่วยเสียงว่า ‘คำ’ ในความหมายของ (ทอง)คำ น่าจะเกิดขึ้นก่อนการกำหนดเรียก ‘ถ้อยสำเนียงภาษา’ ว่า คำ(พูด) คำ(จา) คำ(เว้า) คำ(สอน) คำ(กล่าว)  ตามหลักจิตวิทยา คนเราคงคิดเรียก ‘สิ่งรูปธรรม’ (ทอง)คำ ก่อนที่จะเอาผลจากการคิดแบบรูปธรรมนั้น ไปใช้แทนความหมายของถ้อยสำเนียงภาษาว่า ‘คำ’ 

บรรพชนไท มีความคิดที่ล้ำลึกยิ่งนัก  จึงได้นำเอา “คำ” (โลหะวัตถุที่มีค่าล้ำ) มาใช้แทน ‘หน่วยคำ’ (ในภาษาพูดและเขียน) ที่ใช้เพื่อสื่อความหมาย  เป็นการสร้างระบบความสัมพันธ์ของผู้ใช้ภาษากับสังคมวัฒนธรรมด้วยความเข้าใจในคุณค่าของ ‘ภาษา’ ที่มีคุณค่าเทียบเคียง (ทอง)คำ การศึกษา ‘คำ’ และเรื่องราวที่มาของแต่ละ ‘คำสำคัญ’  จึงเปรียบเสมือนการพบ ‘ขุม(ทอง)คำ’  เพราะช่วยให้เราเข้าใจระบบความคิด ค่านิยม และความเชื่อของผู้คนในสังคม  ‘การหลอมคำ’ เป็นเครื่องมือช่วยเราในการศึกษาปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมต่างยุคต่างสมัย สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  โดยนัยยะนี้ บรรพชนคงเห็นค่าเลิศล้ำของ ถ้อยสำเนียง ‘ภาษา’ ที่ท่านได้สอดใส่รหัสนัยไว้มากมาย

การนำเสนอมิติทางประวัติศาสตร์ของ “คำ เต้า” (และอีกหลายคำที่คัดสรรมาสนทนาในมหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง) ผ่านเรื่องราวต่างๆ ทั้งในปรัมปราคติ ตำนาน และประวัติศาสตร์  ชวนให้เราพินิจความหลากเลื่อนอันซับซ้อนของภาษาไท ใน ‘พหุสังคม’ ของชนชาติไท|ไต|ลาว อย่างไม่มีวันหมดสิ้น

*** เท่าที่ถกมา ยังไม่จบเรื่องราวอันเป็นยิ่งกว่ามหากาพย์ของคำว่า “เต้า” เพียงคำเดียวเท่านั้น

โปรดติดตามตอนต่อไป ใน Dam~Tao Dialogue 1 บทวิจารณ์ที่เสนอมุมมองของนักประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่มีต่อมหากาพย์ชนชาติไท บรรพสอง “เต้าตามไต เต้าทางไท” โดย ผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ ในบทวิจารณ์ที่มีชื่อว่า “เมื่อต้องรีดเลือดจากหิน… มหากาพย์ชนชาติไท” สัปดาห์หน้า

คำบรรยายภาพ

Shang Dynasty bronze tripod, ritual wine vessel

จอกเหล้าสำริดสามขา ใช้ในพิธีกรรม สมัยราชวงศ์ซาง

Sotheby’s in New York broke more records with its auction of Chinese art. Among the highlights was this small (9 3/8 inches or 24 cm tall) Shang Dynasty ritual wine vessel, c. 1200 to 1000 BCE:

Dr.Tao Wang, Head of Chinese Ceramics and Works of Art at Sotheby’s New York said:

“This was an extraordinary week in New York. Time and time again, we saw multiple bidders – sometimes as many as ten on a single lot – drive prices for the very best Chinese Works of Art far over the estimates. Collectors both in China and elsewhere continue to seek pieces that have been hidden in private collections, such as the Barbed Rim Dish which has never appeared on the market and went on to sell for $4.2 million.

Courtesy:  Dr.Tao Wang, Chinese Ceramics and Works of Art; Sotheby’s New York.

หม้อหรืออ่างน้ำมนตร์ พร้อมฐานรองรับ, ศิลปะวัตถุสำริด ใช้ในพิธีกรรม สมัยราชวงศ์โจว

Bronze ritual container with decorated base, Taotie

complex animal-like designs, Zhou Dynasty.

Bronze ritual vessels were probably first manufactured in China during the early part of the Shang Dynasty (1600 BC–1050 BC), and this continued, with various changes in shapes and decoration until the end of the Eastern Zhou period in the third century BC.

The earliest bronzes were decorated with narrow horizontal bands, with swirling ornamental lines centred on a pair of prominent eyes.

These abstract patterns were developed during the Shang Dynasty and Western Zhou period (1050 BC-771 BC) to become more complex animal-like designs.

The eyes provide a focus around which a more or less easily recognisable animal face gradually forms.

This symmetrical mask, known as a taotie, and a related mythical beast called a kuei dragon are the predominant decorative themes on Shang bronzes.

Courtesy :  © Ashmolean Museum, University of Oxford

Bronze tripod vessel, Taotie pattern,  Western Zhou Dynasty

เตา~หม้อ สามขา (อวบ), สลักสัญรูปและสัญอักษร, ศิลปะวัตถุสำริด ใช้ในพิธีกรรม

This li-ding depicts an almost fully-formed taotie, repeated once above each of the three legs.

The eyes are clearly outlined and two C-shaped horns, a snout and an upper jaw can be distinguished among the decorative curls.

The highly stylised body of the animal extends to either side of the eyes and ends in a curled tail.

This taotie, of Western Zhou Dynasty, like many other examples from this period, may also be interpreted as two confronted kuei dragons, joined at a central, vertical line.

The combination of two kuei dragons reappears in the band around the top of the vessel, although here the various elements of the face and body are less clearly defined.

Courtesy :  © Ashmolean Museum, University of Oxford

Bronze Ritual Food Vessel (Gui)

11th–10th century B.C.

หม้อ~โอ~โถสำริด สามขา ราชวงศ์โจวตะวันตก

*Hobart and Edward Small Moore Memorial Collection, Gift of Mrs. William H. Moore

1954.26.1

The use of bases to support vessels is characteristic of the changes in bronze casting that occurred during the Western Zhou dynasty, when new shapes and designs replaced those from the earlier Shang period. A lozenge pattern in low relief, several birds, and raised knobs fill the surface of this vessel, while baroque animal faces embellish the handles on either side.

Western Zhou dynasty (1046–771 B.C.E.)

Provenance: C.T. Loo (Ching Tsai Loo, dealer, 1880–1957), New York; sold to Mrs. William H. Moore (1858–1955), New York, by 1954; given to the Yale University Art Gallery, New Haven, Conn.,1954.

Courtesy:  Yale University Art Gallery

https://artgallery.yale.edu/collections/objects/14864

*The Yale University Art Gallery is the oldest university art museum in the Western Hemisphere. It houses a major encyclopedic collection of art in several interconnected buildings on the campus of Yale University in New Haven, Connecticut.

References:

Handbook of the Collections, exh. cat. (New Haven, Conn.: Yale University Art Gallery, 1992), 285, ill.

George J. Lee, Selected Far Eastern Art in the Yale University Art Gallery (New Haven, Conn.: Yale University Press, 1970), 121, no. 236, ill.

Tch’ou To-yi and Paul Pelliot, Bronzes antiques de la Chine appartenant a C. T. Loo et cie (Paris: G. Van Oest, 1924), pl. 4, ill.

Related Posts

เปิดตัวหนังสือ “มหากาพย์ชนชาติไทฯ”
กำหนดการงาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ
หนังสือ ๓ เล่มชุด “มหากาพย์ชนชาติไท : เต้าตามไต เต้าทางไท”
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com