๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๗. น้ำพริก ผกค. สูตร ๒ น้ำพริกแมงระงำ

ผมเป็น ผกค. ลูกกรุง หาอยู่หากินไม่เป็น อยู่ไหนก็ต้องพึ่งสหายชาวนา สหายชาวม้ง หาของกินมาเผื่อ อยุ่ในป่าดอยยาวสองปี ล่าสัตว์ได้ตัวเดียวคือ “อ้นตาบอด” ตัวเล็ก ๆ มันตาฟางเดินหลงขึ้นมาจากรู ผมจึงสามารถเอาไม้เคาะหัว หนีบติดตัวไปทำ “ป่น” หรือน้ำพริกใส ๆ

“ฉันจะไปอนุสาวรีย์” ตอน อนุสาวรีย์จิตร ภูมิศักดิ์

ณ ชายทุ่งบ้านหนองกุง อ. วาริชภูมิ จ. สกลนคร สถานที่การสูญเสียอัจฉริยะทางวรรณศิลป์ ของปัญญาชนชื่อดังสมัยกึ่งพุทธกาล “จิตร ภูมิศักดิ์” ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ และวรรณคดี ผู้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมมีค่ามากมาย รวมถึงผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงการวิชาการไทยหลายเรื่อง

คำผญา (๓)

ตกหมู่แฮ้งเป็นแฮ้ง ตกหมู่กาเป็นกา เมื่อเราคบใครเราก็เป็นอย่างนั้น เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มของอีแร้ง เราย่อมเป็นอีแร้งด้วย

คำฉันท์ (๖)

อเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๔. น้ำพริกระกำ

ประโยชน์ใช้สอยสูงสุด คือตัดเอากิ่งระกำยาว ๆ มาสะ (วาง) เป็นรั้ว “สะ” คือการทำแนวรั้ว (ทำจากเอาไม้ ปักเสาแนวตั้ง แล้วก็วางกิ่งระกำเป็นแนวขวาง) ใครจะมุดเข้ามาในเขตสวนของเราก็ต้องแหวก “ระกำ” หนามแหลมยาวก่อน ประโยชน์รองลงมาก็คือได้กินผลระกำ

หน่อไม้-ต้นไผ่ เรื่องไหนรู้จริง

แทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักต้นไผ่ เราล้วนเคยเห็นป่าไผ่ กระท่อมไม้ไผ่ ตะกร้าสาน ขลุ่ยไม้ไผ่ ตะเกียบไม้ไผ่ ซุปหน่อไม้ ฯลฯ จนคุ้นเคยแบบหลับตาก็นึกภาพได้ แต่เอาเข้าจริง สิ่งที่เราคิดว่ารู้เกี่ยวกับต้นไม้พื้นบ้านชนิดนี้นั้น จริงเท็จแค่ไหน หวังว่าเรื่องราวต่อไปนี้ คงช่วยตอบคำถามที่หลายคนไม่เคยคิดจะถามได้บ้าง

คําผญา (๑๙) “สุขทุกข์นี้ของกลางเทียมโลก บ่มีไผหลีกล้มลงหั้นสู่คน”

ความสุขความทุกข์เป็นสิ่งคู่กัน และก็เป็นสมบัติของโลก ใครเกิดมาในโลกนี้ต่างก็ได้รับความสุขความทุกข์กันทั่วหน้า โดยไม่มีใครหลีกได้พ้น มันเป็นความจริงที่มาก่อนความตาย สุขแล้ว ทุกข์แล้วจึงตาย บางคนอาจตายขณะที่อิ่มเอิบด้วยความสุข บางคนอาจตายขณะที่มีความทุกข์ทรมาน ความสุขความทุกข์เป็นสมบัติของทุกคน นับแต่ขอทาน ยาจกคนมั่งมีมหาเศรษฐี ฯลฯ

กลอนลำฮีต-คอง ประเพณีเดือนสิบเอ็ด

ความโอ่ : โอ่จักหน่อยเถาะยกนี้ให้น้องนี้พี่ฟังเสร็จ ประเพณีเดือนสิบเอ็ดแม่นบุญออกพรรษาสิ้นปวารณาครบไตรมาสสามเดือน จุดประทีปธูปเทียนในมื้อขึ้นสิบห้าคํ่าฟังธรรมพร้อมโอ่ละนอ...นวล ๆ เอย

ทองกวาว/จาน ในมิติทางการแพทย์

ในฤดูฝนและฤดูหนาว ทองกวาวมีใบเขียว ดูกลมกลืนไปกับไม้อื่น ๆ รอบข้าง แต่ในตอนปลายฤดูหนาวต่อต้นฤดูแล้งเมื่อใบไม้ร่วง เป็นช่วงเวลาที่ทองกวาวมีสีสันสวยงามที่สุด โดดเด่นกว่าไม้ต้นอื่น ๆ ข้างเคียง ด้วยดอกสีส้มแดงอย่างที่เรียกว่า สีส้มอินเดีย (Indian orange) เต็มล้นกิ่งที่ปราศจากใบ การเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีคนรู้จักดีเช่นนี้ น่าจะหมายถึงการมีคนรู้จักนำเอาส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายด้วย

ผักปลูกในสารละลาย…มุมมองจากธรรมชาติ

ผักปลูกในสารละลายหรือ... รู้จักสิ... เขาเรียก “ไฮโดรโปนิกส์” ใช่ไหม อร่อยดีนะ เดี๋ยวนี้ราคาไม่แพง หาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ตามตลาดนัดก็ยังมี

ไก่นึ่งผักชีลาว

สำหรับเมนูนี้ นั่นก็คือเมนู "ไก่นึ่งผักชีลาว" เป็นเมนูอาหารประเภทนึ่งที่พิมทำทานบ่อยพอประมาณค่ะ แต่ว่าก็จะเปลี่ยนผักสมุนไพรไปเรื่อยๆ ตามชอบ บางทีมีโหระพาก็ใช้โหระพา บางทีมีใบแมงลักก็ใช้ใบแมงลัก บางทีมีแต่ตะไคร้อย่างเดียวก็ใช้ตะไคร้ บางทีไม่มีใบอะไรเลยก็เดินเข้าไปในสวน แล้วเด็ดกระเพรามาสัก 3-4 กิ่ง ทำเป็นไก่นึ่งใบกระเพรา

คำฉันท์ (3) วรรณลีลามรดกชาติ

ต้นกำเนิดของฉันท์นั้น เกิดขึ้นในสมัยพระเวทเมื่อราวสี่พันปีที่แล้ว ซึ่งถ้อยคำในคัมภีร์ฤคเวทเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือฉันท์ที่มีจำนวนคำไม่เกิน ๕๐ พยางค์ และฉันท์ที่มีพยางค์ ๕๐ – ๑๐๖ พยางค์

สกู๊ป งาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ

สกู๊ป งาน ~ “สู่ขวัญสุวรรณภูมิ” เสวนาวิชาการ เล่าขานเรื่องราวสุวรรณภูมิ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้อง Auditorium ชั้น 2 มหาวิทยาลัยรังสิต

คำฉันท์ (2) จากอินโด-อารยัน สู่สยามพากย์

เคยมีค่านิยมที่ผิดข้อหนึ่งว่า คำฉันท์ เป็นกวีนิพนธ์ที่สูงค่ากว่าบทกวีฉันทลักษณ์ประเภทอื่นค่าของกวีนิพนธ์เขามิได้วัดจากรูปแบบฉันทลักษณ์ ไม่ว่ารูปแบบฉันทลักษณ์แบบใด กระทั่งร้อยแก้วกวีนิพนธ์ – Poetic Prose ถ้าเขียนได้ถึง จริง ก็คือกวีนิพนธ์ที่ทรงคุณค่า

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (43) สมุทโฆษคำฉันท์ (31)

หากพบช้างป่าตกมันก็ยิ่งอันตราย พระไอยการช้างจึงกำหนดว่า อนึ่งพระธินั่งเสดจ์เข้าต่อเถื่อน แลเถื่อนมีพาษี พระธินั่งต่ำตา อย่างควาน ควานอย่าให้ขอ อนึ่งจะทรงบาศ แลเถื่อนมีพาสีก็ดี ตรัสเรียกบาศ อย่ายื่น แลไอยการให้ควาน ๆ ทัง ๔ ประการดั่งนี้ ให้ขุนช้างชาวช้างว่าแก่ขุนตำรวจให้เอากราบมูลพระกรรุณาครั้งหนึ่ง...
1 2 3 6
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com