ผญา – ยอดวรรณกรรมอีสาน

ผญา เป็นสำนวนคำพูดที่ไพเราะ คมคายลึกซึ้ง สละสลวย คนอีสานนั้นเป็นคนมีโวหาร เจ้าบทเจ้ากลอน พูดจาเป็นคำคม มีสัมผัสคล้องจอง ไพเราะ น่าฟัง ไม่ว่าจะเป็นโอวาท คำสั่งสอน คำตักเตือน ห้ามปราม หรือคำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวอีสานในอดีต สมัยโบราณนั้นคนอีสานมักพูดเป็นสำนวนภาษาแบบผญาเป็นส่วนมาก

คำฉันท์ (7) วรรณลีลามรดกชาติ เสียงตก

อำ ทำไมจึงเป็นลหุได้ เป็นครุก็ได้ แต่ อัม เป็นครุเสมอไป ความจริงก็คือ อำ เหมือนกัน จะว่าคำนิคหิตในภาษาสันสกฤตเป็นลหุก็ไม่ถูกต้อง เพราะความจริงเป็นครุในภาษาบาลีเหมือนกัน ถ้าถือรูปอักษรเป็นเกณฑ์ก็อาจจะว่าได้ว่าต่างกัน แต่เมื่อนิคหิตในภาษาบาลี-สันสกฤตก็เป็นครุด้วยกันแล้ว จะอ้างคารมรูปอักษรก็ไม่ได้

๓๖๕ น้ำพริก – ๑. น้ำพริกมะยม

ผักจิ้ม ใช้ได้ทั้งผักสด ผักลวก และถ้าอยากอวดแขกที่มากินด้วย ก็ลงทุน ไปตัดดอกเข็มหน้ารั้วเพื่อนบ้านที่เขารวย มาล้างสะอาด คลุกแป้งโกกิ ทอดน้ำมันร้อน ๆ พอเหลือง ยกให้สะเด็ดน้ำมัน นำมาจัดสำรับให้สวย ถ้าเพื่อนบ้านรั้วใหญ่เขาหวงดอกเข็ม

กลิ่นข้าว กลิ่นดอกไม้ กลิ่นธูป และกลิ่นปิศาจ

วิทยาศาสตร์มองว่า กลิ่นเป็นสารเคมีที่เมื่อจับกับตัวรับกลิ่น ในส่วนบนของโพรงจมูกแล้ว ส่งสัญญาณไปยังสมอง หลังจากประมวลผลเปรียบเทียบกับกลิ่นและเหตุการณ์ในอดีต กำหนดเป็นการแสดงออกที่ยอมรับหรือไม่ยอมรับกลิ่นนั้น และยังเชื่อมโยงไปถึงความรู้สึก และอารมณ์อื่น ๆ

บทร้อยกรองของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 45 – 48

๔๕. ประเทศใดราชาอามาตย์ คนฉลาดยศยิ่งเสมอกัน มีมะหันต์เหลือหลายในเขต ในประเทศเมืองบ้านแห่งใด เป็นนิสัยมานะกระด้าง มักอวดอ้างบ่เชื่อคำกัน เกิดฆ่าฟันผิดเถียงหาเหตุ ในประเทศเมืองนั้นส่วยแหลม ๔๖. อุปมาดอกบัวในนํ้า ขึ้นบ่ได้อาทิตย์ ๗ ดวง บ้านเมืองหลวงอาชญามีมาก แสนลำบากไพร่ฟ้าจิบหาย

รายการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย – นิตยสารทางอีศาน

นิตยสารทางอีศาน ลึกซึ้งถึงรากเหง้า เข้าใจปัจจุบัน รู้ทันอนาคต รายการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย ออกอากาศวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 14:00 น ถึง เวลา 16:00 น ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม ชมรมคนมีบุญ FM 97.00 เมกกะเฮิร์ต และ106.75 เมกะเฮิรตซ์ ออกอากาศพร้อมกัน วัดบ้านอ้น ตำบลดงลาน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินรายการโดย ท่านทรภูไพร วันโพนทอง นายกสมาคมวิชาชีพสื่อวิทยุโทรทัศน์ภาคประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด

คําผญา (๑๙) “สุขทุกข์นี้ของกลางเทียมโลก บ่มีไผหลีกล้มลงหั้นสู่คน”

ความสุขความทุกข์เป็นสิ่งคู่กัน และก็เป็นสมบัติของโลก ใครเกิดมาในโลกนี้ต่างก็ได้รับความสุขความทุกข์กันทั่วหน้า โดยไม่มีใครหลีกได้พ้น มันเป็นความจริงที่มาก่อนความตาย สุขแล้ว ทุกข์แล้วจึงตาย บางคนอาจตายขณะที่อิ่มเอิบด้วยความสุข บางคนอาจตายขณะที่มีความทุกข์ทรมาน ความสุขความทุกข์เป็นสมบัติของทุกคน นับแต่ขอทาน ยาจกคนมั่งมีมหาเศรษฐี ฯลฯ

คำฉันท์ (4) วรรณลีลามรดกชาติ

เดิมทีกวีไทยมิได้ดัดแปลงฉันท์ในคัมภีร์วุตโตทัยให้เป็นฉันท์ภาษาไทยครบทั้ง ๑๐๘ ชนิด ต่อมานายฉันท์ ขำวิไล เป็นผู้ดัดแปลงเพิ่มเติม เป็นฉันทวรรณพฤติ เพิ่มจากที่ มหาสมณะเจ้า พระปรมานุชิตชิโนรส ทำไว้ ๕๐ ชนิด

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (46) สมุทโฆษคำฉันท์ (34)

นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่คำฉันท์เรื่องนี้ปรากฏต้นฉบับตัวเขียนเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่พบในปัจจุบันนี้ เป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยเส้นหรดาล ขนาดกว้าง ๑๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนติเมตร เขียนอักษรสองด้าน รวม ๑๐๔ หน้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

ทองกวาว/จาน ในมิติทางการแพทย์

ในฤดูฝนและฤดูหนาว ทองกวาวมีใบเขียว ดูกลมกลืนไปกับไม้อื่น ๆ รอบข้าง แต่ในตอนปลายฤดูหนาวต่อต้นฤดูแล้งเมื่อใบไม้ร่วง เป็นช่วงเวลาที่ทองกวาวมีสีสันสวยงามที่สุด โดดเด่นกว่าไม้ต้นอื่น ๆ ข้างเคียง ด้วยดอกสีส้มแดงอย่างที่เรียกว่า สีส้มอินเดีย (Indian orange) เต็มล้นกิ่งที่ปราศจากใบ การเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีคนรู้จักดีเช่นนี้ น่าจะหมายถึงการมีคนรู้จักนำเอาส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายด้วย

แกงขี้เหล็กสูตรกวย (เขมร)

ระหว่างต้มใบขี้เหล็กต้องแช่ข้าวสารจ้าวสักครึ่งถ้วยจนข้าวแตกพอง นุ่มน้ำ เรียกว่า “ข้าวเบือ” แล้วเอาข้าวเบือมาตำรวมกับใบย่านาง ตำให้แหลก ตำให้ละเอียด เข้ากันอย่างดี ถ้ามีเครื่องปั่นก็ใส่น้ำปั่นเอาเลย ตำแหลกละเอียดแล้วก็นำมาละลายในน้ำ กวนๆคนๆแล้วกรองเอาแต่น้ำไปใส่หม้อขี้เหล็กที่ตำแล้ว

“ปลาแดก” นั้นฉันใด

ปลา คือเป็นกับข้าวหลัก หรือเป็นอาหารหลักของคนอีสานมาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จาก ปู่ ย่า ตา ทวด สอนลูกสอนหลานว่า ให้กินอาหารหลักเป็นประจำ คือ “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นแนวกิน” หมายถึง ให้กินข้าวเป็นหลัก ให้กินผักเป็นยา และให้กินปลาเป็นกับข้าว นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปลา มีความสำคัญต่อการบริโภคอาหารของคนอีสาน

๓๖๕ น้ำพริก – ๑๐. น้ำพริก ผกค. สูตร ๕ ปลาทูกับน้ำพริกผงชูรส

ผมเป็นหมอประจำกองร้อย ๘๕ เขต ๘ ดอยยาว-ผาหม่น จังหวัดเชียงราย แต่ก็ไม่ค่อยได้นอนในกองร้อยส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปทำงานชายขอบฐานที่มั่น งานประจำคือไปกับหน่วยลำเลียง ขนอาวุธลงเขาไปส่งสหายที่ขับรถปิคอัพมารับขนส่งไปที่เขตงานใหม่ ๆ ในภาคเหนือ แล้วก็แบกของลงจากรถปิคอัพกลับฐานที่มั่น ครั้งหนึ่งทำตัวเสียสละแบกรับงานหนัก รับแบกกระทะใบบัว

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (43) สมุทโฆษคำฉันท์ (31)

หากพบช้างป่าตกมันก็ยิ่งอันตราย พระไอยการช้างจึงกำหนดว่า อนึ่งพระธินั่งเสดจ์เข้าต่อเถื่อน แลเถื่อนมีพาษี พระธินั่งต่ำตา อย่างควาน ควานอย่าให้ขอ อนึ่งจะทรงบาศ แลเถื่อนมีพาสีก็ดี ตรัสเรียกบาศ อย่ายื่น แลไอยการให้ควาน ๆ ทัง ๔ ประการดั่งนี้ ให้ขุนช้างชาวช้างว่าแก่ขุนตำรวจให้เอากราบมูลพระกรรุณาครั้งหนึ่ง...

ปลาน้ำจืดดิบ หอยลายดิบ ปลาร้าดิบ ต้นเหตุโรคเหน็บชา

พบรายงานผู้ป่วยอาการแขนขาอ่อนแรง ชาตามปลายมือ ปลายเท้า และชาตามร่างกาย 78 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 2 ราย วินิจฉัยพบว่า เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการขาดวิตามินบี 1 หรือภาวะเป็นโรคเหน็บชา

คำฉันท์ (๖)

อเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com