Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

“บุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ ประเพณีโบราณอีสาน สะท้อนพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ผ่านผืนผ้า”

“ผะเหวด” เป็นคำสำเนียงอีสาน ตรงกับคำว่า “พระเวส” หมายถึง พระเวสสัดร อดีตชาติของพระพุทธเจ้าเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดร เรียกว่า “เวสสันดรชาดก” ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก

ผ้าผะเหวด : บันทึกอีสานบนงานทอ

งานศิลปะที่เป็นการบันทึกเรื่องราวทางศาสนาของชาวสุวรรณทวีปในอดีต ไม่ว่าจะบนหลักหิน หรือบนผืนผ้า ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่นำไปสู่การศึกษาตีความเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในอดีต ที่ปรากฏเป็นองค์ประกอบอยู่ในงานศิลปะนั้น บนพื้นที่อีสานมีงานศิลปะแห่งศรัทธาที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ ผ้าผะเหวด

[๑๑] เส้นทางหนีของปาจิต อรพิม (กำเนิดเมืองพิมาย)

กลุ่มเส้นทางอีกกลุ่มหนึ่งคือ เส้นทางการหนีของปาจิตและอรพิม หลังจากที่ได้สังหารท้าวพรหมฑัต ซึ่งลักพาตัวนางอรพิมมาที่เมืองพิมายแล้ว โดยตำนานกล่าวว่านางอรพิมได้มอมเหล้าพรหมฑัต แล้วปาจิตซึ่งได้รับการต้อนรับจากพรหมฑัตอย่างดี

ตามรอยจาริกหลวงปู่มั่น จากอีสานสู่ล้านนา

“อย่าลดละท้อถอยความเพียร ธรรมเป็นสมบัติกลาง และเป็นสมบัติของทุกคนที่ใคร่ต่อธรรม พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดไว้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต่างมีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของได้ด้วยการปฏิบัติดีของตนด้วยกัน” (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม กับโครงการพัฒนาดนตรี-รำฟ้อน ให้แก่เยาวชน โดย “หมาเก้าหาง” – “มูลนิธิทางอีศาน” [ ๒ ]

ท่านได้พัฒนาวัดและพัฒนาคนไปพร้อม ๆ กัน ถึงพื้นที่แห่งนี้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และทัศนคติที่อาจจะเห็นต่างกันบ้าง แต่ท่านก็ได้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมาเป็นตัวสื่อกลางเชื่อมความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์

พ่อครูทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ศิลปินเกียรติยศ โหวดเสียงทองเทวดา

พ่อครูเล่าที่มาของโหวดว่าแต่เดิมเป็นของเล่นของเด็กเลี้ยงควาย ยังไม่ถูกเรียกเป็นเครื่องดนตรี ใช้เล่นในช่วงปลายฤดูฝนก่อนเกี่ยวข้าว เป่าเล่นเพื่อความสนุกขณะที่เลี้ยงควายตามทุ่งนา และใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเพื่อฟังเสียง ด้วยการต่อหางโหวดให้ยาวแล้วใช้เชือกคล้องหัวกับหางโหวด แกว่งให้หวดรอบศีรษะด้วยความเร็วสูงจะเกิดเสียงดังว่า “แงว ๆ” ฟังแล้วเกิดเสียงไพเราะ เรียกการแกว่งโหวดชนิดนี้ว่า “การแงวโหวด” ลักษณะของโหวดสมัยโบราณยังไม่มีความสวยงาม

ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางเมื่อ 1200 ปีที่ผ่านมา สื่อสารด้วยภาษามอญโบราณ

ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางเมื่อ 1200 ปีที่ผ่านมา (พุทธศตวรรษที่ ๑๔) สื่อสารด้วย ภาษามอญโบราณ ใช้อักษรหลังปัลลวะ จากหลักฐานจารึก พระพิมพ์เมืองฟ้าแดดสงยาง

จิตร ภูมิศักดิ์ : เพลงลาวแพน

เพลงลาวแพนนั้น เป็นเสมือนสำรวมใหญ่ของเพลงลาวพื้นเมือง กล่าวคือมีเพลงลาวพื้นบ้านตามชนบทรวมอยู่ในเพลงใหญ่นั้นหลายเพลง ทุกเพลงที่นำมารวมกันเข้าไว้นั้นต่างมีกลิ่นไอของชีวิตแบบลาวอยู่อย่างสมบูรณ์ คือมีลักษณะทำนองที่ส่อให้เห็นความรักในธรรมชาติเจือระคนอยู่ด้วย ถ้าจะพูดเป็นศัพท์ก็ต้องว่ามีลักษณะแห่งชนชาติ บรรจุอยู่อย่างเด่นชัดบริบูรณ์

รักนั้นเป็นฉันใด

๑๔ กุมภาฯ วันวาเลนไทน์-วันแห่งความรักทางโหราศาสตร์เรียกเดือนนี้ว่า ราศีกุมภ์ เป็นธาตุลม อันหมายถึงการเคลื่อนไหวไหลลื่นที่ไม่ปรากฏตัวตน ลมหรืออากาศที่ไม่อาจมองเห็นได้ มีสัญลักษณ์เป็นรูปผู้ชายถือหม้อน้ำ ซึ่งดูแล้วไม่เห็นจะเกี่ยวกับความรักตรงไหน แต่เพราะมีเหตุการณ์ที่มีการแสดงออกถึงการยึดถือความรักเป็นสรณะ เดือนนี้เลยกลายเป็นเดือนแห่งความรัก

วัฒนธรรมแถน (๖) พิธีส่งแถน

“ส่ง” คือการทำพิธีสังเวย เพื่อส่งเครื่องบริโภคเครื่องบูชาไปถึงผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เมื่อคนหรือบ้านเมืองประสบเคราะห์กรรม ซึ่งไม่อาจจะรักษาหรือแก้ไขได้ตามปกติ เชื่อกันว่าผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติเป็นผู้ทำให้เกิดเคราะห์กรรมนั้น จึงส่งเครื่องสังเวยบูชาไปให้เพื่อขอความเมตตาช่วยให้คนหายจากการเจ็บป่วย พ้นจากความทุกข์ ช่วยให้บ้านเมืองพ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ

วัฒนธรรมแถน (๕) ปู่แถน ย่าแถน

นิทานที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นนิทานที่คนเฒ่าคนแก่เล่ากันมาจนถึงปัจจุบันนี้ มันก็มีว่าคนภาคเหนือหรือคนล้านนาเรานี้เขาว่า การที่คนเรานั้นทำอะไรไม่สำเร็จหรือว่าเกิดป่วยเป็นนั่น ๆ นี่ ๆ ทำอะไรก็ล้มเหลวนั้นเขาว่าเกิดจากการที่ปู่ แถนย่าแถนนั้นแช่งให้เป็น บางครั้งก็มีการส่งแถนหรือว่าทำเครื่องพลีกรรมส่งให้แถนเพื่อให้เคราะห์ภัยต่าง ๆ นั้นหายไป...

อีศานปุระ

อีศาน (สันสกฤต), อีสาน (บาลี) แปลว่า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อีศาน, อีสาน แปลว่า พระศิวะ หรือพระรุทร อีศาน, อีสาน แปลว่า พระอีศาน-เทพเจ้าผู้ครองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อีศาน, อีสาน เคยเป็นชื่อแคว้นโบราณแคว้นหนึ่งในสุวรรณภูมิ ชื่อเต็มว่า อีศานปุระ

มรรควิธีวิทยา Methodology (1)

ปรัชญาเป็นวิทยาศาสตร์แห่งโลกทัศน์ ในขณะเดียวกัน ปรัชญาก็เป็นวิทยาศาสตร์แห่งมรรควิธีวิทยา โลกทัศน์กับมรรควิธีวิทยาพูดให้ถึงที่สุดแล้วคือสิ่งเดียวกัน เมื่อเราใช้โลกทัศน์ไปรับรู้และดัดแปลงโลก ไปค้นคว้าปัญหา ไปแสดงทัศนะ ไปชี้นำการงาน มันก็คือมรรควิธี มรรควิธีมาจากโลกทัศน์

ฮีตเดือนสิบสอง พระชาวเมืองปาฐาลุยโคลน

คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้ขึง หรือไม้สะดึง คือกรอบไม้สำหรับขึงผ้าเพื่อเย็บจีวรของพระภิกษุให้สะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีเครื่องมือที่จะใช้เย็บได้สะดวกเหมือนในปัจจุบัน การเย็บจีวรนั้นต้องเย็บผ้าหลาย ๆ ชิ้นติดต่อกัน ให้มีรูปแบบเหมือนคันนา

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๓)

ตรางู หรือ พญานาคนี้ ผู้รู้บางท่านก็บอกว่าคือตัว “พ” ซึ่งจะเป็นเท็จหรือจริงประการใดมาคอยติดตามกันครับ สัญลักษณ์นี้ผมมีความเห็นว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ได้ เพราะจากที่ผมได้ศึกษาพบว่าสัญลักษณ์นี้พบในเงินพดด้วง (เงินหมากค้อที่ชาวอีสานเรียกกัน) ที่ขุดพบที่เมืองศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย ซึ่งน่าจะเป็นเงินพดด้วงยุคแรก ๆ ของอาณาจักรสุโขทัย
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com