Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

(๒) สู่เวิ้งจักรวาฬอันไพศาล

ฉบับที่แล้วฉันได้เล่าถึงมหานทีสีทันดรไป มานึก ๆ ดูก็รู้สึกจะข้ามขั้นตอนอยู่บ้าง ฉบับนี้จึงขอนอกกรอบของคอลัมน์ภาพกาก แล้วเล่าถึงภาพรวมของจักรวาฬ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเสพศิลปะแห่งภาพกากกันในคราวต่อ ๆ ไป ว่าแล้วเราก็มาน้อมจิตกันเสียก่อนที่จะเข้าเรื่องกันเถิด

นิทานเรื่องนางตันไต หรือปัญจะตันตระ (ตอนที่ ๑)

ผู้เขียนเคยเดินทางไปที่เวียงจันทน์เมื่อหลายปีมาแล้ว ได้มีโอกาสไปเยี่ยมหอสมุดแห่งชาติลาว และได้ซื้อหนังสือเกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีลาวมาหลายเล่ม เล่มที่สำคัญคือ นิทานนางตันไต ผู้เขียนได้อ่านนิทานนางตันไตด้วยความเพลิดเพลินและสนุกสนานที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ต่าง ๆ ที่พูดได้ และผู้เขียนเคยถอดความของบทแรก ๆ ออกเป็นอักษรไทย และนำไปตีพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพของญาติสองสามครั้งเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ได้รับหนังสือนั้นไป

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน แหล่งภูมิปัญญาชาวอีสาน

“โรงเรียนฝึกหัดครู” ในอดีตนั้น ต่อมาก็คือ “วิทยาลัยครู” เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สถาบันราชภัฏ” และปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” สถาบันนามนี้ยุคสมัยหนึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัยคนยาก” ฉายานี้ได้มาเพราะคนในชนบทสมัยก่อน ๆ แม้จะเรียนเก่งปานใด โอกาสที่จะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในเมืองนั้นยากเต็มที่

อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ ขยายความเรื่องประวัติศาสตร์ “ผู้ไท” “ขุนบรม” วีรบุรุษในตำนานของผู้ไท

ผู้ไทจากเมืองแถน (เวียดนาม) เป็นบรรพชนต้นทางคนไทยในเมืองไทย (คือรัฐอยุธยา) พบเบาะแสเค้ามูลอยู่ในลาวเมื่อพวกผู้ไทโยกย้ายจากเมืองแถนไปตั้งหลักแหล่งอยู่แขวงซำเหนือ (ใกล้แขวงหลวงพระบาง ในลาว) ถูกพวกลาวนับเป็นไทย คือไม่นับเป็นลาว

ประวัติและที่มา ทำไมจึงเรียกงานแต่งงานว่า “กินดอง”

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อครั้งอดีตที่ผ่านมานั้นยังมีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ของกินนานาชนิด จึงเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายเผ่าพันธุ์ได้เข้าอาศัยอยู่ ตามแหล่งน้ำดังกล่าวนี้ได้มีสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ฝูงปลาเล็กใหญ่ต่างแหวกว่ายไปมาตามหนองน้ำใส ฝู

ลักษณะลาว

คำถามที่เกิดขึ้นกับคนโดยทั่วไป เช่นคำถามที่ว่า อะไรคือ ลาว อย่างไรจึงเป็นลาว หรือ อะไรคือ ไทย อย่างไรจึงเป็นไทย คำถามเหล่านี้ดูน่าสนใจ แต่ยากที่จะให้คำตอบที่ได้ความชัดเจน เนื่องจากคำตอบมักจะผูกพันกับความเป็นรัฐ เป็นชาติ (nationstate) ซึ่งเป็นอิทธิพลของฝรั่งชาติตะวันตกที่นำไปเผยแพร่ทั่วโลก

“คารคี” ฤๅษีหญิงแห่งโลกตะวันออก

โลกปรัชญาตะวันออกของภารตประเทศหรืออินเดียโบราณได้เคยมีปรากฏการณ์ทางปรัชญาของบรรดานักปรัชญาหญิงในยุคพระเวท (1500-500 BCE) ที่ถือกันว่าเป็นยุคแรกของอารยธรรมอารยันในอินเดีย ชาวภารตะโบราณเรียกนักปรัชญาในยุคนี้ว่า “ฤๅษี” คำว่า ฤๅษี มาจากคำว่า Rishis ในภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึงฤๅษีชาย ส่วนฤๅษีหญิงนั้นภาษาสันสกฤตใช้คำว่า Rishikas คัมภีร์ฤคเวท (Rig Vedic)

จิตรกรรมฝาผนัง วัดทุ่งศรีเมือง ภาพฉายวิถีชีวิตคนอุบลฯในอดีต

วัดเป็นสถานที่รวบรวมศิลปะแต่ละสมัยไว้ได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ภาพจิตรกรรมฝาผนัง” พระอารามเก่า ๆ มักมีภาพจิตรกรรมฝาผนังยุคที่วัดนั้น ๆ สร้างขึ้นมาปรากฏอยู่ และแน่นอนว่า ช่างเขียนภาพในโบสถ์ วิหารต่าง ๆ ย่อมเป็นช่างเขียนชั้นดี อย่างน้อยก็ดีที่สุดเท่าที่ทางวัดนั้น ๆ จะเฟ้นหามาได้

แผ่นดินใหญ่ใช้เงินมหาศาลในการจัดระเบียบและถ่ายทำ “The General History of China”

แผ่นดินใหญ่ใช้เงินมหาศาลในการจัดระเบียบและถ่ายทำ "The General History of China" จำนวน 100 ตอน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตอนนี้ใช้เวลาเพียง 75 ชั่วโมงเพื่อดูการขึ้นลงของประวัติศาสตร์ 4,700 ปีของชาติจีน

ปาฐกถาของนายสี จิ้นผิง ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 [4/4]

เราต้องปฏิบัติตามนโยบายเกี่ยวกับ “หนึ่งประเทศสองระบบ” “ชาวฮ่องกงบริหารฮ่องกง” "ชาวมาเก๊าบริหารมาเก๊า” และ “การบริหารตนเองในระดับสูง” อย่างครอบคลุมและถูกต้อง ดำเนินการเพื่อให้ส่วนกลางใช้อำนาจปกครองและกำกับดูแลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและเขตบริหารพิเศษมาเก๊าอย่างครอบคลุม ดำเนินการเพื่อให้เขตบริหารพิเศษมีระบบกฎหมายและกลไกในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ

ปาฐกถาของนายสี จิ้นผิง ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 [ 3/4 ]

ความตั้งใจได้มาไม่ยาก ความยากอยู่ที่การปฏิบัติตามความตั้งใจอย่างเสมอต้นเสมอปลาย การใช้ประวัติศาสตร์อ้างอิง จะได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลง เราต้องใช้ประวัติศาสตร์สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต จากการต่อสู้เป็นเวลาหนึ่งศตวรรษของ พคจ. เป็นบทเรียนว่าเหตุใดเราถึงประสบผลสำเร็จได้ในอดีต และบทเรียนว่าทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จต่อไป เพื่อจดจำความตั้งใจและภาระหน้าที่ให้แม่นยิ่งขึ้น เป็นแบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น และสร้างสรรค์อนาคตที่ดีงาม

ปาฐกถาของนายสี จิ้นผิง ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 [ 2/4 ]

หนึ่งศตวรรษก่อน บุคคลหัวก้าวหน้าของ พคจ. ได้ก่อตั้ง พคจ. ขึ้น และก่อรูปขึ้นเป็นจิตวิญญาณแห่งการก่อตั้งพรรคอันยิ่งใหญ่ นั่นก็คือ ยึดมั่นทฤษฎี รักษาอุดมการณ์ ปฏิบัติตามความตั้งใจ แบกรับภารกิจ ไม่กลัวพลีชีพ ต่อสู้อย่างกล้าหาญ ซื่อสัตย์ต่อพรรค และไม่ให้ประชาชนผิดหวัง นี่คือแหล่งที่มาของจิตวิญญาณ พคจ.

ปาฐกถาของนายสี จิ้นผิง ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 [ 1/4 ]

วันนี้เป็นวันสำคัญและยิ่งใหญ่ทั้งในประวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ.) และประวัติของประชาชาติจีน เรามาชุมนุมกันที่นี่อย่างยิ่งใหญ่เพื่อร่วมกับประชาชนชนเผ่าต่าง ๆ ทั่วประเทศเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ย้อนทบทวนกระบวนการอันรุ่งโรจน์ในการมุมานะบากบั่นต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา และมองไปสู่อนาคตอันกว้างไกลในการฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองของประชาชาติจีน

บทเรียนจักรวรรดิโรมัน (๔/จบชุด)

จักรพรรดิโรมันในยุคสุดท้าย ในศตวรรษที่ 5 นั้นไปพำนักที่เมืองราเวนนา ทางเหนือของอิตาลีปัจจุบัน ขณะที่ชนเผ่า Goth ที่ถูกโรมันรุกไล่จนไม่มีที่อาศัย ได้รวมพลกลับมาบุกอิตาลี ลงไปถึงโรม แต่ไม่ได้บุกเข้ายึดแม้ว่าจะทำได้

บทเรียนจักรวรรดิโรมัน (๓)

การรบที่ Alesia ตะวันออกเฉียงเหนือ “ฝรั่งเศส” แถบ “บูร์กุนดี” ในปัจจุบัน เป็นการรบครั้งใหญ่สุดและสำคัญ ที่ซีซาร์สามารถปราบชนเผ่าเยอรมานิกที่นำโดย Vercingetorix ที่รวมพลสู้กองทัพโรมัน ซีซาร์ล้อมเมืองไว้ สร้างกำแพงไม้ล้อมรอบ ไม่ให้ใครเข้าออกจนชาวเมืองหิวโหยและหมดกำลัง
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com