Tag

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ประวัติและที่มา ทำไมตำราหมอดู ดูผิดบ้างถูกบ้าง

นิทานปรัชญาชาวบ้านปรัมปราเรื่องนี้ ได้เสนอแนวคิดเรื่องการดูหมอให้คนอื่น การทำนายทายทักชีวิต โดยที่ผู้อื่นไม่เคยรู้ชีวประวัติความเป็นมา เป็นไปได้หรือที่เขาคนอื่นนั้นจะรู้เรื่องชีวิตเราและพูดได้ถูกต้อง พร้อมทั้งดูความเป็นไปในชีวิตเราที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากดูตามเหตุผลแล้วไม่มีใครจะรู้เท่ากับตัวเราเองไปไม่มี

อยุธยา มรดกโลก ไม่รู้ความเป็นมา

เสียนหลอ หมายถึงลาวปนเขมรก็ได้ เพราะเสียน คือ สยาม (สุพรรณบุรี) อยู่ฟากตะวันตกลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นบริเวณที่กลุ่มลาวเคลื่อนย้ายลงมาจากสองฝั่งโขง ส่วนหลอ คือ ละโว้ (ลพบุรี) อยู่ฟากตะวันออกลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นเครือญาติใกล้ชิดกับเขมรเมืองพระนครที่โตนเลสาบ

ปริศนามอม (๓) การบูชาหมาในยุคดึกดำบรรพ์

ในหมู่บ้านบางแห่งของชาวจ้วงในกวางสี ยังนิยมตั้งหมาหิน ไว้หน้าหมู่บ้าน หรือหน้าเรือน และมีมากเป็นพิเศษในคาบสมุทรเหลยโจว (ตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง เป็นถิ่นฐานของชนตระกูลภาษาไท กะได มาก่อน) ที่สำคัญคือกลุ่มชาว Tay ไต่ ในจังหวัดลางเซิน เวียดนามภาคเหนือ จะมีหมาหิน ตั้งไว้หน้าบ้านทุกบ้าน

โฉมหน้านักการเมืองรุ่นแรกของอีสาน (บทที่ ๓)

ตลอดห้วงเวลา ๘๐ กว่าปีที่ผ่านมา กลับเป็นห้วงเวลาแห่งความยุ่งยาก สับสน วกวนอยู่ในเขาคีรีวงกตแห่งความขัดแย้งของสองขั้วอำนาจ คือ ระหว่างขั้วอนุรักษ์นิยม กับขั้วประชาธิปไตย ขั้วหนึ่งยื้อยุดฉุดดึงไว้ทุกวิถีทาง…ขั้วใหม่ก็ยังไม่เข้มแข็งพอที่จะสถาปนาประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้ วัตถุประสงค์ของคณะราษฎรยังไม่บรรลุผล ประชาชนไทยหลั่งเลือดเสียชีวิตตามรายทางมาหลายครั้ง

เกลือ แร่ธาตุปฏิวัติสังคมชาติพันธุ์อีศาน

ภูมิปัญญาระดับชาวบ้าน นอกจากจะใช้เกลือในการบริโภคแล้ว ยังใช้เกลือในการรักษาอาการเจ็บป่วยอีกด้วย เช่น หากมีอาการมึนศีรษะ สมองไม่ปลอดโปร่งก็ใช้น้ำอุ่นประมาณ ๑ ถัง ผสมเกลือ ๒-๓ ช้อนแล้วอาบ เกลือจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดี มีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง, หากบังเอิญกินอาหารปนสารพิษเข้าไปหรือเกิดอาการอึดอัดอาหารไม่ย่อย และอยากให้อาเจียนออกมาก็ให้ดื่มน้ำเกลือเข้มข้นแก้วใหญ่ ๆ เพียงชั่วอึดใจก็จะอาเจียนพวกสารพิษออกมา, หากมีอาการคันตามผิวหนังให้ทาบริเวณที่คันด้วยน้ำเกลือ เชื้อราบริเวณนั้นจะสิ้นฤทธิ์, ถ้ายุงกัดจนเป็นตุ่มบวมคันก็ไม่ต้องเกาให้รีบใช้น้ำเกลือทาที่รอยแผล ไม่นานอาการคันก็จะหายไปและรอยบวมก็จะยุบหายไปด้วย

ปริศนาตัวมอม (๒) บูชาหมา

เรื่องดังกล่าวนี้คงเป็นที่เชื่อถือกันในชาวจ้วงหลายกลุ่ม เพราะในพิธีกินข้าวใหม่ทุกปีของชาวลีซอ หลังจากไหว้ผีแล้ว จะเอาข้าวใหม่ และเนื้อที่ปรุงในพิธี ส่งให้หมากินก่อน เช่นเดียวกับชาวไทใต้คง ในยูนนานก็ให้หมากินข้าวใหม่ ในวันสุนัข เดือนอ้าย ส่วนชาวปู้ไต่ ในจังหวัดเหวินซาน มณฑลยูนนาน พอถึงเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ จะมีประเพณีหุงข้าวให้หมากินเพราะเชื่อกันว่าหมาเป็นผู้นำพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์

วัฒนธรรมแถน (๓)

การศึกษาเรื่อง “แถน” ที่ยังค้างหลงเหลือเป็น “รหัสวัฒนธรรม” อยู่ในสังคมไทสยามนั้นจำเป็นต้องศึกษาเปรียบเทียบกับร่องรอยที่ปรากฏในวัฒนธรรมไท/ไต ทุกกลุ่ม ซึ่งมันทำได้ยาก ผู้เขียนจะพยายามค้นคว้ามาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื้อหาในบทแรก ๆ นี้ จึงมีความหลากหลายในการตีความ “ถอดรหัสวัฒนธรรมแถน” เป็นการปูพื้นฐานปรับข้อมูลให้รับรู้ตรงกันเสียก่อน แล้วในตอนท้าย ๆ ผู้เขียนจึงค่อย ถอดรหัสออกมาตามแนวคิดเห็นของตนเอง

ปริศนาตัวมอม (๑) หมานำพันธุ์ข้าวมาให้คน

เมื่อผู้คนมีไฟใช้หุงต้มอาหาร สุขภาพร่างกายจึงแข็งแรงขึ้นมาก และเมื่อละเลิก ขนบจารีตการกินเนื้อคนแก่แล้ว สัตว์ที่จะกินเป็นอาหารก็ลดน้อยลงเรื่อย ๆ ไม่พอจะกินกัน ผู้คนจึงไปปรึกษา ปู้ลัวทัว - ผู้หลวกทั่วอีก.. ผู้หลวกทั่วจึงสั่งให้หมาเก้าหางขึ้นไปขโมยพันธุ์ข้าวบนฟ้า

ม่วนชื่นเจ้าแม่สองนาง

หมอ ช่วยบักวันชนะแหน่ วันชนะคือใครฉันไม่ได้สนใจ เบื้องหน้าฉันคือแมวที่กำลังทำท่ากระหายอากาศอย่างเอาเป็นเอาตาย หน้าบวม แถมเยือกเมือกเป็นสีม่วงคล้ำเช่นนี้ไม่ผิดแน่ อาการเป็นพิษจากยาพาราเซตามอล ไม่ทันได้ซักถามอะไรให้มากความเพราะถือเป็นกรณีฉุกเฉินที่ทุกวินาทีไม่ต่างจากทรายแห่งชีวิตที่กำลังร่วงหล่นสู่กระเปาะแก้วเบื้องล่าง

สภาพอีสานเมื่อ ๘๐ ปีก่อน จากชีวิตและปาฐกถาของผู้แทนราษฎรรุ่นแรก

หากได้อ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ จะเห็นด้วยกับความดีเด่นในภาพร่วม ตามที่ ผศ.ดร.สมเกียรติได้ กล่าวไว้ นับเป็นครั้งแรกที่ “ผู้แทนราษฎร” ของจังหวัดต่าง ๆ ได้สะท้อนคติและความสำนึกที่ตนมีต่อท้องถิ่นของตน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสมัยใหม่ ที่เป็นรัฐเดี่ยวออกมาอย่างกระตือรือร้นและมีความหวัง ในส่วนของผู้แทนราษฎรของภาคอีสานชุดแรก ๑๙ คนนี้ ส่วนใหญ่ได้เป็นผู้แทนราษฎรครั้งนี้เพียงครั้งเดียว ยกเว้นรายของ นายเลียง ไชยกาล นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายทองม้วน อัตถากร และขุนวรสิษฐดรุณเวทย์ ในจำนวนผู้แทนราษฎรชุดแรกและชุดต่อ ๆ มาจนถึงปีที่เกิด “รัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐” นี้ มีผู้แทนราษฎรอีสานหลาย ๆ คน ที่อุทิศชีวิตให้กับงานการเมืองอย่างน่าประทับใจ

พรมแดนลาวสมัยเจ้าฟ้างุ่ม

ดังนั้นแล้ว พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงแต่งราชบรรณาการมาถวาย คือช้างพราย ๕๑ เชือก ช้างพัง ๕๐ เชือก ทองคำสองหมื่น เงินสองหมื่น นอแรดแสนนอ กับเครื่องบรรณาการอื่นๆ อีกอย่างละร้อย เจ้าฟ้างุ่มจึงไม่เสด็จไปตีกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นพระองค์จะให้ทำพิธีปฐมกรรมประหารชีวิตเจ้าเมืองที่จับได้นั้นทั้งหมดเพื่อฉลองชัยปราบดาภิเษก ความนี้ร่ำลือไปถึงหูพระมหาปาสะมันตะเถระเจ้าผู้เป็นอาจารย์ พระเถระเจ้าจึงมาขอบิณฑบาตชีวิตของเจ้าเมืองเหล่านั้นไว้ พระองค์ก็โปรดประทานอภัยโทษให้ และปล่อยให้คืนครองบ้านเมืองของตนต่อไป แล้วสมเด็จพระเจ้าฟ้างุ่มจึงยกทัพกลับคืนนครเวียงจันทน์...

อนาคตอีสาน เกษตรกรรายย่อยจะอยู่รอด ต้องติดอาวุธปัญญา

ชนชั้นบนในสังคมไทยรับรู้เรื่องนี้ดี ทุนใหญ่ทุนขนาดกลางของไทยไม่เพียงเตรียมตัวพร้อมแล้วแต่ยังรุกคืบหน้าไปมากด้วย เป็นต้นว่า ยุทธศาสตร์อาหารสำเร็จรูปของเซเว่น-อีเล็ฟเว่น จะลงไปถึงระดับหมู่บ้านต่างจังหวัด, ยุทธศาสตร์ข้าวของซีพีจะพัฒนาการทำนาเป็นอุตสาหกรรมฟาร์มขนาดยักษ์ ใช้เครื่องจักรกล โดยรวบรวมที่ดินจากเกษตรกรรายย่อย จัดตั้งชาวนาในรูปสหกรณ์แบ่งปันรายได้กับซีพี ซึ่งอาจจะพัฒนารูปแบบจากสหกรณ์ชาวไร่อ้อย, ฮับทางการแพทย์ ที่จะดึงเอาบุคลากรไป จนทำให้คนไทยชั้นกลางและชั้นล่างเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากขึ้น ฯลฯ

ประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน ยุคใกล้กึ่งพุทธกาล เชิงวิเคราะห์

ในเชิงโครงสร้างอำนาจรัฐ เริ่มจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๓๓) สยามได้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองลาวทั้งฝ่ายซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อการควบคุมและจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ กับทั้งเพื่อรับมือกับการรุกรานของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส

ประวัติศาสตร์การเมืองอีสาน ยุคใกล้กึ่งพุทธกาล (พ.ศ.๒๔๗๕-๒๕๒๕)

เมื่อจะเขียนถึงประวัติศาสตร์การเมืองอีสานยุคใกล้ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๐๐ และระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นช่วงกึ่งพุทธกาล อันมีเหตุสำคัญผันแปรเกิดขึ้นมากมายหลายครั้งในทางการเมืองของประเทศไทยเรา ความรู้สึกแรกที่เกิดกับผู้เขียนคือ มันเป็นเรื่องใหญ่มีผลสะเทือนลึกซึ้งยาวไกล และแทบทุกเหตุการณ์ก็เกี่ยวพันมาถึงการเมืองอีสานอย่างแยกไม่ออก นักการเมืองและผู้นำคนสำคัญของอีสานได้รับอานิสงส์ไปกับเขาด้วยทุกครั้ง

ขะลำ วัฒนธรรมในชาติพันธุ์อีศาน

ชาติพันธุ์อีศาน มีระเบียบแบบแผนการ ปกครองบานเมืองและการควบคุมสังคมสืบเนื่องกันมายาวนาน นอกจากฮีต ๑๒ คอง ๑๔ เป็นแนวปฏิบัติแล้วยังมีข้อห้ามอีกคือขะลํา หรือคะลํา ซึ่งมีการอบรมบอกสอนลูกหลานรับช่วงกันมาเป็น ช่วง ๆ นับว่าเป็นมรดกตกทอดมาจากโบราณ เป็นความเชื่อดั้งเดิม ไม่ปรากฏในประมวลกฎหมายใด ๆ เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมา
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com