ปฏิญาณสหาย : รำลึกวีรชนอีสานใต้

ที่ที่มีเพื่อนมีญาติมิตร มีเลือดเนื้อชีวิตยิ่งใหญ่ เก็บฝังอดีตไว้ในดวงใจ หว่านฝันเราไปให้ผลิบาน... อนุสรณ์สถานฯทั่วไทถิ่น เทิดชีวินลูกไทยใจห้าวหาญ เสริมความรักพร้อมพรักอุดมการณ์ ปฏิญาณแห่งสหายอุทิศพลี เสียสละสูงสุดเพื่อชาติ องอาจไม่กลัวตายไม่ถอยหนี ซื่อสัตย์พิทักษ์ประชาชี สังคมใหม่บังเกิดมีปรีด์เปรม... ที่ที่มีเพื่อนมีญาติมิตร มีเลือดเนื้อชีวิตยิ่งใหญ่ เก็บฝังอดีตไว้ในดวงใจ หว่านฝันเราไปให้งอกงาม

กาพย์ไขผญา: เงิน-ทอง

๏ ใจหนอใจมนุษย์ จะสูงสุดเมื่อมีธรรม พื้นเดิมอาจมืดดำ โดยสันดานอันดิบดาย ธรรมดาก็ดูดี ไม่เห็นมีที่อันตราย มีญาติมีมิตรสหาย เกิดเจ็บตายเสมอกัน ถึงคราวร่วมทุนค้า หากำไรมาแบ่งปัน...อ่านต่อ

คำฉันท์ (๖)

อเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน

คําผญา (๑๙) “สุขทุกข์นี้ของกลางเทียมโลก บ่มีไผหลีกล้มลงหั้นสู่คน”

ความสุขความทุกข์เป็นสิ่งคู่กัน และก็เป็นสมบัติของโลก ใครเกิดมาในโลกนี้ต่างก็ได้รับความสุขความทุกข์กันทั่วหน้า โดยไม่มีใครหลีกได้พ้น มันเป็นความจริงที่มาก่อนความตาย สุขแล้ว ทุกข์แล้วจึงตาย บางคนอาจตายขณะที่อิ่มเอิบด้วยความสุข บางคนอาจตายขณะที่มีความทุกข์ทรมาน ความสุขความทุกข์เป็นสมบัติของทุกคน นับแต่ขอทาน ยาจกคนมั่งมีมหาเศรษฐี ฯลฯ

บทร้อยกรองของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 45 – 48

๔๕. ประเทศใดราชาอามาตย์ คนฉลาดยศยิ่งเสมอกัน มีมะหันต์เหลือหลายในเขต ในประเทศเมืองบ้านแห่งใด เป็นนิสัยมานะกระด้าง มักอวดอ้างบ่เชื่อคำกัน เกิดฆ่าฟันผิดเถียงหาเหตุ ในประเทศเมืองนั้นส่วยแหลม ๔๖. อุปมาดอกบัวในนํ้า ขึ้นบ่ได้อาทิตย์ ๗ ดวง บ้านเมืองหลวงอาชญามีมาก แสนลำบากไพร่ฟ้าจิบหาย

บทร้อยกรองของ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 50-53

๕๒. ศาสตรศิลป์เป็นเงินเป็นทรัพย์ ไปสำหรับกับผู้ตกไกล ปัญญาไวเป็นเงินของฝาก ยามเมื่อยากเกิดเหตุจิบหาย ธรรมทั้งหลายของดีเฮาก่อ เป็นของห่อต่อไว้ยามตาย ศีลทั้งหลายเป็นเงินเป็นแก้ว บ่ฮู่แล้วทุกเมื่อทุกยาม

ผักปลูกในสารละลาย…มุมมองจากธรรมชาติ

ผักปลูกในสารละลายหรือ... รู้จักสิ... เขาเรียก “ไฮโดรโปนิกส์” ใช่ไหม อร่อยดีนะ เดี๋ยวนี้ราคาไม่แพง หาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ตามตลาดนัดก็ยังมี

มหัศจรรย์บัวหลวง

บัวหลวง หมายถึงบัวชนิดที่ใบอยู่เหนือผิวน้ำ ก้านใบและก้านดอกแข็ง ดอกมีเพียงสองสีเท่านั้น คือขาวและชมพู บางทีก็มีทั้งขาวทั้งชมพูในดอกเดียวกัน บัวชนิดนี้เองที่คนไทยใช้ถวายพระสงฆ์และไหว้พระพุทธ เรียกอีกอย่างว่า ปทุมชาติ ชื่อจังหวัดปทุมธานี ก็สื่อถึงบัวชนิดนี้

A song about a friend

ได้รับคำเชิญจากคุณ Marlena Zim ผู้อำนวยการของ Polish Vladimir Vysotsky's Museum เมือง Koszalin (city in north-western Poland, near the Baltic sea) ให้แปลบทเพลงบทกวีของ Vladimir Vysotsky's เป็นภาษาไทย ไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ และลงตีพิมพ์ในหนังสือซึ่งจะจัดพิมพ์ที่สหรัฐอเมริกาในปีนี้

แกงขี้เหล็กสูตรกวย (เขมร)

ระหว่างต้มใบขี้เหล็กต้องแช่ข้าวสารจ้าวสักครึ่งถ้วยจนข้าวแตกพอง นุ่มน้ำ เรียกว่า “ข้าวเบือ” แล้วเอาข้าวเบือมาตำรวมกับใบย่านาง ตำให้แหลก ตำให้ละเอียด เข้ากันอย่างดี ถ้ามีเครื่องปั่นก็ใส่น้ำปั่นเอาเลย ตำแหลกละเอียดแล้วก็นำมาละลายในน้ำ กวนๆคนๆแล้วกรองเอาแต่น้ำไปใส่หม้อขี้เหล็กที่ตำแล้ว

ปลาน้ำจืดดิบ หอยลายดิบ ปลาร้าดิบ ต้นเหตุโรคเหน็บชา

พบรายงานผู้ป่วยอาการแขนขาอ่อนแรง ชาตามปลายมือ ปลายเท้า และชาตามร่างกาย 78 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 2 ราย วินิจฉัยพบว่า เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการขาดวิตามินบี 1 หรือภาวะเป็นโรคเหน็บชา

“ปลาแดก” นั้นฉันใด

ปลา คือเป็นกับข้าวหลัก หรือเป็นอาหารหลักของคนอีสานมาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จาก ปู่ ย่า ตา ทวด สอนลูกสอนหลานว่า ให้กินอาหารหลักเป็นประจำ คือ “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นแนวกิน” หมายถึง ให้กินข้าวเป็นหลัก ให้กินผักเป็นยา และให้กินปลาเป็นกับข้าว นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปลา มีความสำคัญต่อการบริโภคอาหารของคนอีสาน

ลูกเดือยกับซุปไก่ฟ้าในตำนาน

ได้ยินคำ "ลูกเดือย" หลายคนนึกถึงลูกเดือยในน้ำเต้าหู้ บ้างก็เคยกินข้าวต้มใส่ลูกเดือย ส่วนใหญ่กินเพราะเชื่อว่าดีต่อสุขภาพ อย่างที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำต้มธัญพืช ที่เฟื่องฟูเมื่อสักสิบกว่าปีก่อน ลูกเดือยมีความหมายเพียงแค่นี้หรือ คงไม่ใช่

ถวายบังคม มหาคีตศิลปิน

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า สมาชิกผู้อ่าน เครือข่ายเพื่อนมิตร และคณะผู้จัดทำนิตยสาร “ทางอีศาน” นายทองแถม นาถจำนง ผู้ประพันธ์
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com