ทำกุ้งจ่อมง่ายๆ สำหรับคนไกลบ้าน

นำกุ้งฝอยใส่ลงไป ตามด้วยน้ำปลา ให้ท่วมตัวกุ้งฝอย เก็บไว้สองคืน เมื่อครบ ๒ คืนแล้ว นำออกมาเทใส่กาละมัง คลุกรวมกันกับข้าวคั่ว แล้วจึงนำกลับใส่ขวดโหลเหมือนเดิม ฝาปิดให้มิดชิด ห้ามแมลงวันเข้าไป ต่อจากนี้ไปอีก ๓ ถึง ๗ วัน จนกุ้งฝอยเริ่มอืด มีกลิ่นหอม ของข้าวคั่ว ก้อใช้ได้แล้ว

คำฉันท์ (๖)

อเล่าถึงวรรณคดีอีสาน เรื่อง “นางแตงอ่อน” สักหน่อยหนึ่ง แม้ว่าฉันทลักษณ์เรื่องนี้จะเป็นโคลงลาว เหตุที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะวรรณคดีอีสานเรื่องนี้มีฉาก “การคล้องช้างเผือก” ด้วยบ่วงบาศเชือกปะกำ วรรณคดีภาคกลางที่บรรยายฉากการคล้องช้างไว้ละเอียดที่สุดคือเรื่อง “สมุทรโฆษคำฉันท์” เหตุที่กวีประพันธ์ฉากนี้ไว้ละเอียด น่าจะเนื่องจากพระราชนิยมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดการคล้องช้างมาก ข้าพเจ้าเคยเขียนเล่าไว้ในคอลัมน์นี้ถึงห้าหกตอน

ผญา – ยอดวรรณกรรมอีสาน

ผญา เป็นสำนวนคำพูดที่ไพเราะ คมคายลึกซึ้ง สละสลวย คนอีสานนั้นเป็นคนมีโวหาร เจ้าบทเจ้ากลอน พูดจาเป็นคำคม มีสัมผัสคล้องจอง ไพเราะ น่าฟัง ไม่ว่าจะเป็นโอวาท คำสั่งสอน คำตักเตือน ห้ามปราม หรือคำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวอีสานในอดีต สมัยโบราณนั้นคนอีสานมักพูดเป็นสำนวนภาษาแบบผญาเป็นส่วนมาก

คำผญา (๓)

ตกหมู่แฮ้งเป็นแฮ้ง ตกหมู่กาเป็นกา เมื่อเราคบใครเราก็เป็นอย่างนั้น เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มของอีแร้ง เราย่อมเป็นอีแร้งด้วย

คำฉันท์ (3) วรรณลีลามรดกชาติ

ต้นกำเนิดของฉันท์นั้น เกิดขึ้นในสมัยพระเวทเมื่อราวสี่พันปีที่แล้ว ซึ่งถ้อยคำในคัมภีร์ฤคเวทเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือฉันท์ที่มีจำนวนคำไม่เกิน ๕๐ พยางค์ และฉันท์ที่มีพยางค์ ๕๐ – ๑๐๖ พยางค์

กาพย์ไขผญา: เงิน-ทอง

๏ ใจหนอใจมนุษย์ จะสูงสุดเมื่อมีธรรม พื้นเดิมอาจมืดดำ โดยสันดานอันดิบดาย ธรรมดาก็ดูดี ไม่เห็นมีที่อันตราย มีญาติมีมิตรสหาย เกิดเจ็บตายเสมอกัน ถึงคราวร่วมทุนค้า หากำไรมาแบ่งปัน...อ่านต่อ

“ปลาแดก” นั้นฉันใด

ปลา คือเป็นกับข้าวหลัก หรือเป็นอาหารหลักของคนอีสานมาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จาก ปู่ ย่า ตา ทวด สอนลูกสอนหลานว่า ให้กินอาหารหลักเป็นประจำ คือ “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นแนวกิน” หมายถึง ให้กินข้าวเป็นหลัก ให้กินผักเป็นยา และให้กินปลาเป็นกับข้าว นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปลา มีความสำคัญต่อการบริโภคอาหารของคนอีสาน

ไก่นึ่งผักชีลาว

สำหรับเมนูนี้ นั่นก็คือเมนู "ไก่นึ่งผักชีลาว" เป็นเมนูอาหารประเภทนึ่งที่พิมทำทานบ่อยพอประมาณค่ะ แต่ว่าก็จะเปลี่ยนผักสมุนไพรไปเรื่อยๆ ตามชอบ บางทีมีโหระพาก็ใช้โหระพา บางทีมีใบแมงลักก็ใช้ใบแมงลัก บางทีมีแต่ตะไคร้อย่างเดียวก็ใช้ตะไคร้ บางทีไม่มีใบอะไรเลยก็เดินเข้าไปในสวน แล้วเด็ดกระเพรามาสัก 3-4 กิ่ง ทำเป็นไก่นึ่งใบกระเพรา

จากใบชาถึงใบเมี่ยง

ถ้าไม่นับน้ำเปล่า ชาก็คงเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เมื่อเอ่ยถึงชา เรามักเชื่อมโยงไปถึง จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย และซีลอน แน่ละ ไม่มีไทย แต่เชื่อหรือไม่ ในความเผ็ดร้อน อ่อนละมุน ของวิถีชีวิตคนไทยนั้น มีรสชาติฝาดหวานของใบชาปะปนอยู่ด้วย อาจเป็นร้อยหรือพันปีมาแล้ว

คำฉันท์ วรรณลีลามรดกชาติ (46) สมุทโฆษคำฉันท์ (34)

นับเป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่คำฉันท์เรื่องนี้ปรากฏต้นฉบับตัวเขียนเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่พบในปัจจุบันนี้ เป็นสมุดไทยดำ เขียนด้วยเส้นหรดาล ขนาดกว้าง ๑๑.๒ เซนติเมตร ยาว ๓๔.๕ เซนติเมตร เขียนอักษรสองด้าน รวม ๑๐๔ หน้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

ถั่วเหลือง ถั่วแระ และถั่วเน่า

สามพันกว่าปีก่อน มนุษย์คนหนึ่งนำเมล็ดถั่วป่าหยอดลงในผืนดินทางตอนเหนือของประเทศจีน นับเป็นการเพาะปลูกถั่วชนิดนี้เป็นครั้งแรกในโลก อีกพันกว่าปีต่อมา ถั่วชนิดนี้แพร่หลายไปยังดินแดนญี่ปุ่น ชมพูทวีป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

A song about a friend

ได้รับคำเชิญจากคุณ Marlena Zim ผู้อำนวยการของ Polish Vladimir Vysotsky's Museum เมือง Koszalin (city in north-western Poland, near the Baltic sea) ให้แปลบทเพลงบทกวีของ Vladimir Vysotsky's เป็นภาษาไทย ไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ และลงตีพิมพ์ในหนังสือซึ่งจะจัดพิมพ์ที่สหรัฐอเมริกาในปีนี้

๓๖๕ น้ำพริกกับสวนรอบบ้าน – ๔. น้ำพริกระกำ

ประโยชน์ใช้สอยสูงสุด คือตัดเอากิ่งระกำยาว ๆ มาสะ (วาง) เป็นรั้ว “สะ” คือการทำแนวรั้ว (ทำจากเอาไม้ ปักเสาแนวตั้ง แล้วก็วางกิ่งระกำเป็นแนวขวาง) ใครจะมุดเข้ามาในเขตสวนของเราก็ต้องแหวก “ระกำ” หนามแหลมยาวก่อน ประโยชน์รองลงมาก็คือได้กินผลระกำ

คำผญา (๖) หยอกไฟได้หนี้ หยอกขี้ได้กิน

หยอกไฟได้หนี้ หยอกขี้ได้กิน เล่นกับไฟได้หนี้ เล่นกับขี้ได้กิน ไฟเป็นของร้อน และอะไรที่ร้อน ๆ ก็เปรียบเสมือนไฟ โดยเฉพาะไฟที่เกิดขึ้นในใจนั้นร้อนมากและก็เป็นไฟที่ดับยาก ไฟโลภ ไฟโกรธ ไฟหลง ๓ ไฟนี้ร้อนมาก เมื่อเกิดขึ้นกับใคร นอกจากจะเผาตัวเองแล้วยังเผาผู้อื่นด้วย นี่ยังไม่รวมถึงไฟอบายมุขอื่น ๆ

หน่อไม้-ต้นไผ่ เรื่องไหนรู้จริง

แทบไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จักต้นไผ่ เราล้วนเคยเห็นป่าไผ่ กระท่อมไม้ไผ่ ตะกร้าสาน ขลุ่ยไม้ไผ่ ตะเกียบไม้ไผ่ ซุปหน่อไม้ ฯลฯ จนคุ้นเคยแบบหลับตาก็นึกภาพได้ แต่เอาเข้าจริง สิ่งที่เราคิดว่ารู้เกี่ยวกับต้นไม้พื้นบ้านชนิดนี้นั้น จริงเท็จแค่ไหน หวังว่าเรื่องราวต่อไปนี้ คงช่วยตอบคำถามที่หลายคนไม่เคยคิดจะถามได้บ้าง

๓๖๕ น้ำพริก – ๒. น้ำพริกเบสิก (น้ำพริกมาตรฐาน)

จิ้มกับผักดิบแนมด้วยปลาทูทอด หรือปลาดุกย่างก็ได้ แต่น้ำพริกครกนี้ปลาอะไรก็คงไม่ดีเท่าปลาทูทอด ม.ร.ว.คึกฤทธ์ ฯ ท่านแนะว่าถ้าอยากให้น้ำพริกถ้วยนี้น่าสนใจ หรือตื่นเต้น หรือโรแมนติกขึ้นไปอีก ก็ต้องเอาเมล็ดมะเขือใส่ คือหามะเขือขื่นหรือที่เรียกว่ามะเขือเหนียว
1 2 3 6
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com