By

กาย อินทรโสภา

เงินตราโบราณในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๔)

เหรียญเงินสยามที่มีใช่แพร่หลายไปทั่วดินแดนภาคอีสาน และหัวเมืองอื่น ๆ คงจะหนีไม่พ้นเหรียญเงินตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕ เหรียญเงินยุคนี้เริ่มมีการพัฒนาอย่างรูปแบบชาติตะวันตกมากขึ้น มีการนําพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์มาไว้บนเหรียญ ซึ่งในอดีตใช้เพียงตราพระราชลัญจกรของพระมหากษัตริย์เท่านั้น การเสด็จประพาสตะวันตกของรัชกาลที่ ๕ ได้นํามาสู่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของสยาม รวมถึงพัฒนาการของเหรียญกษาปณ์ที่ใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยนด้วย

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๓)

หลังจากสยามมีการผลิตเหรียญเงินอย่างตะวันตกใช้อย่างเป็นทางการในปี ๒๔๐๓ แต่เงินปลีกที่มีราคาต่ำกว่าหนึ่งไพนั้น ก็ยังใช้เบี้ยหรือหอยเบี้ย ซึ่งเป็นหอยขนาดเล็กที่ได้จากมหาสมุทรอินเดีย ใช้เป็นเงินปลีกมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา โดยอัตราแลกเปลี่ยนของหอยเบี้ยมีตั้งแต่ ๖๐๐-๘๐๐ เบี้ย เป็นหนึ่งเฟื้องแล้วแต่ความขาดแคลนหอยเบี้ย ซึ่งหอยเบี้ยนี้พ่อค้าชาวมลายู นำใส่เรือสำเภามาขาย

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๒)

ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ การค้าของสยามรุ่งเรืองมาก จนส่งผลให้เงินตราที่มีใช้จ่ายในตลาดคือ เงินพดด้วง หรือเงินหมากค้อ ของคนลาวอีสาน มีจํานวนไม่เพียงพอใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยน เพราะผลิตด้วยมือ กําลังผลิตค่อนข้างตํ่าผลิตได้วันละไม่กี่ร้อยบาท ทั้งที่ความต้องการใช้มีมากกว่านั้น ชาวต่างประเทศซึ่งเป็นชาวตะวันตกมักนำเงินเหรียญของตนมาซื้อขายสินค้า แต่ต้องนำเงินเหรียญนั้น ๆ หลอมเป็นเงินพดด้วง แล้วตีตราของทางราชการเสียก่อน จึงเป็นที่ยอมรับของพ่อค้าหรือราษฎรชาวสยาม

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๑)

เงินตราที่ได้เข้ามามีบทบาทในดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง หรือดินแดนภาคอีสานในปัจจุบัน เมื่อราวร้อยกว่าปีที่แล้ว นอกจากเงินตราของสยามที่เป็นเหรียญแบนซึ่งผลิตในสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว ยังมีเงินตราอีกหลายประเภทที่เข้ามามีบทบาทเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนของคนลาวฝั่งขวาแม่น้ำโขงหลังเกิดเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๑๐)

เงินตราอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่รู้จักของคนอีสานหรือคนลาวในอดีตคือเงินตราจากเพื่อนบ้านอย่างอาณาจักรไดเวียต (เวียดนาม) และเงินตราจากอาณาจักรจีน ซึ่งแผ่อิทธิพลทางการเมืองและทางเศรษฐกิจเข้ามาในช่วงที่อาณาจักรล้านช้างอ่อนแอระสํ่าระสายจากปัญหาการเมืองภายใน โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ หรือประมาณปี ค.ศ.๑๘๐๐ ต้น ๆ นอกจากสยามจะมีอิทธิ พลทางการเมืองเหนืออาณาจักรล้านช้างแล้ว

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๙)

ฉบับนี้จะพามาทําความรู้จักกับเงินตราอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เงินพดด้วง” ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนเงินกลม มีขา ๒ ข้าง เป็นเงินที่คนไทยสยามผลิตใช้กันมาต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัยอยุธยา จนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๘)

เงินตราอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในหมู่คนเฒ่าคนแก่ของพี่น้องชาวอีสานและพี่น้องชาวลาว อาจมีชื่อเรียกต่าง ๆ นานาว่า เงินฮางบ้าง เงินเฮือบ้าง เงินลาดบ้าง ตามแต่ละท้องถิ่นจะเรียกขานกัน แต่เงินตราชนิดนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เงินลาด” เป็นคำที่บรรพบุรุษคนลาวเรียกขานกันมาตั้งแต่ในอดีต

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๗)

ในช่วงยุคหนึ่งสมัยหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ในฐานะเมืองประเทศราชของสยามตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๒ ได้ผลิตเงินตราอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่เคยผลิตมาก่อน รูปทรงเรียวยาวเช่นเดียวกับเงินฮ้อยหรือเงินคาน แต่ไม่มีตุ่มตามตัวของเงิน ตอกตราสัญลักษณ์สำคัญ ๓-๔ ตรา เงินตราชนิดนี้ยังไม่มีบันทึกหรือข้อมูลแน่ชัดว่าในอดีตเรียกชื่อกันว่าอย่างไร แต่บรรดานักสะสมเงินตราโบราณมักเรียกชื่อเงินตรานี้ว่า “เงินลาด” ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๖)

เงินฮ้อยที่ตอกตราอุณาโลมของสยามนี้ที่พบส่วนมากมีขนาดเดียวคือ ขนาดประมาณ ๖๐ กรัม หรือ ๕ บาทของล้านช้าง ตอกตราอุณาโลมไว้ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งตอกตราอักษร “ร” ของล้านช้างซึ่งอาจหมายถึงตัวย่อของ “รัตนโกสินทร์” ของสยาม

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๕)

ตราประทับคล้ายธรรมจักร เป็นอีกตราประทับหนึ่งที่มักพบในเงินตราของอาณาจักรในแถบอุษาคเนย์ ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนา ทั้งศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ที่มีอิทธิพลในภูมิภาคนี้มาก่อน รวมถึงศาสนาพุทธที่ได้เข้ามามีบทบาทในภายหลัง และยึดพื้นที่ของความเชื่อดั้งเดิมในภูมิภาคนี้ได้มากพอสมควร

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๔)

ฉบับนี้จะมาเล่าถึงตราประทับอกตราหนึ่งที่พบในเงินฮ้อย และพบเป็นจำนวนค่อนข้างมากรองลงมาจากตรางูหรือพญานาคที่กล่าวไปแล้ว เงินฮ้อยตราช้างมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของอาณาจักรแห่งนี้ได้พอสมควร

เมืองฮม เมืองโบราณกว่า ๔๐๐ ปี ของลาว

ษุภมัสตุ พระราชอาจญาลายจุ้มสมเด็จบรมบพิตรพระเปนเจ้าตนเปน พระทรงพระราชกรูณาลูกพระยาขวาง ให้เอาหมู่ซุมแต่พ่อไปตั้งในเมืองฮม เขตแดนไร่นา งวดค่าอากรหลางกับเมืองฮมมีท่อใดให้จัดตราเอาทั้งมวล อันใดหลางขึ้นราชโกฎให้นำมาถวายตามจารีต

เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๓)

ตรางู หรือ พญานาคนี้ ผู้รู้บางท่านก็บอกว่าคือตัว “พ” ซึ่งจะเป็นเท็จหรือจริงประการใดมาคอยติดตามกันครับ สัญลักษณ์นี้ผมมีความเห็นว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ได้ เพราะจากที่ผมได้ศึกษาพบว่าสัญลักษณ์นี้พบในเงินพดด้วง (เงินหมากค้อที่ชาวอีสานเรียกกัน) ที่ขุดพบที่เมืองศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย ซึ่งน่าจะเป็นเงินพดด้วงยุคแรก ๆ ของอาณาจักรสุโขทัย

ชุมชนลาวในภาคกลางของสยาม (๗)

สงครามที่เกิดขึ้นนี้มีบันทึกหลักฐานไว้ค่อนข้างชัดเจนในหนังสือราชการทัพของทั้งสองฝ่าย และเป็นสงครามยืดเยื้อยาวนานกว่า ๒๐ ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๗๖-๒๓๙๐ แต่กลับถูกพูดถึงน้อยมากในหน้าประวัติศาสตร์ไทย จนบางคนบางท่านไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเวียดนามและไทยเคยรบกันมาขนาดนี้ มูลเหตุหรือฉนวนสงครามครั้งนี้ มีหลายสาเหตุด้วยกัน ผมขอแยกเป็นประเด็นดังต่อไปนี้

บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 7

จากเหตุการณ์นี้เอง พระยากลาโหมราชเสนาได้พบเจอพระแก้วขาว ที่วัดพระแก้ว จึงได้มีใบบอกลงมายังกรุงเทพฯ รัชกาลที่2 จึงโปรดฯให้นำพระแก้วขาวลงมายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชพระแก้วขาวองค์นี้
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com