เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๗)
ในช่วงยุคหนึ่งสมัยหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ในฐานะเมืองประเทศราชของสยามตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๒ ได้ผลิตเงินตราอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่เคยผลิตมาก่อน รูปทรงเรียวยาวเช่นเดียวกับเงินฮ้อยหรือเงินคาน แต่ไม่มีตุ่มตามตัวของเงิน ตอกตราสัญลักษณ์สำคัญ ๓-๔ ตรา เงินตราชนิดนี้ยังไม่มีบันทึกหรือข้อมูลแน่ชัดว่าในอดีตเรียกชื่อกันว่าอย่างไร แต่บรรดานักสะสมเงินตราโบราณมักเรียกชื่อเงินตรานี้ว่า “เงินลาด” ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก
“ปลาแดก” นั้นฉันใด
ปลา คือเป็นกับข้าวหลัก หรือเป็นอาหารหลักของคนอีสานมาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จาก ปู่ ย่า ตา ทวด สอนลูกสอนหลานว่า ให้กินอาหารหลักเป็นประจำ คือ “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นแนวกิน” หมายถึง ให้กินข้าวเป็นหลัก ให้กินผักเป็นยา และให้กินปลาเป็นกับข้าว นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปลา มีความสำคัญต่อการบริโภคอาหารของคนอีสาน
“เมรุนกหัสดีลิงค์” อริยะประเพณีในแผ่นดินอีสาน
คติการปลงศพด้วยนกของชาวอุษาคเนย์ มีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันได้ว่ามีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏภาพพิธีกรรมส่งผีขวัญที่มีองค์ประกอบภาพที่สำคัญ คือภาพนกอยู่บนหน้ามโหระทึก ด้วยเหตุที่คนโบราณเชื่อว่า นกเป็นสัตว์ที่สามารถเดินทางไปบนฟ้า อันเป็นดินแดนที่มนุษย์ในยุคบรรพกาลเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองแถน ซึ่งเป็นโลกศักดิ์สิทธิ์ในคติทวิภูมิ ก่อนที่คติไตรภูมิจากชมพูทวีปจะแพร่เข้ามาในดินแดนอุษาคเนย์เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๐๐๐
ข้าว มะพร้าว ตาล : เมรัยพฤกษ์ของไทย
เราไม่รู้แน่ชัดว่าเหล้าเกิดขึ้นเมื่อไร นิทานพื้นบ้านของไทยหลายท้องถิ่นกล่าวไว้คล้าย ๆ กันว่า มีเหล้าเกิดขึ้นจากการหมักของผลไม้ที่ตกค้างอยู่ในโพรงไม้ ตอนแรกก็เป็นลิงหรือสัตว์ป่ามากิน ต่อมามนุษย์ก็กินตาม กินแล้วก็เมาสนุกสนาน จนเลยเถิดเป็นโทษเป็นทุกข์ เล่าขานกันเป็นนิทานชื่อ “มูลละเหล้า” ชี้ให้เห็นเหตุอันควรละเลิกสุรา
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๖)
เงินฮ้อยที่ตอกตราอุณาโลมของสยามนี้ที่พบส่วนมากมีขนาดเดียวคือ ขนาดประมาณ ๖๐ กรัม หรือ ๕ บาทของล้านช้าง ตอกตราอุณาโลมไว้ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งตอกตราอักษร “ร” ของล้านช้างซึ่งอาจหมายถึงตัวย่อของ “รัตนโกสินทร์” ของสยาม
ตำนานโอลิมปิก
# เต็มสิบยิมนาสติก Perfect Ten นาเดีย โคมาเนชี (Nadia Comaneci) เด็กสาวชาวรูเมเนีย อายุ 14 ปี ทำคะแนนเต็ม 10 ในยิมนาสติกบาร์ต่างระดับที่โอลิมปิกมอนทรีลปี 1976 นับเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์กีฬาประเภทนี้ เธอได้เหรียญทอง 3 เหรียญจากรวมอุปกรณ์ บาร์ต่างระดับ และคานทรงตัว และได้เต็มสิบอีก 2 เหรียญทองในโอลิมปิกที่มอสโก 1980
โอลิมปิกกับมาราธอน
กีฬาโอลิมปิกเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศกรีกเมื่อปี 776 ก่อน ค.ศ. (ประมาณ 2,800 ปีก่อน) จัดที่เมืองโอลิมเปีย ห่างจากกรุงเอเธนส์ไปต่างตะวันออก 188 ก.ม.
การค้นพบสมุนไพรวิเศษ
ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือเรื่อง วันและคืนในป่าเมืองลาว เป็นหนังสือประวัติการทำสงครามในป่าเมืองลาว อันเป็นสงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน ซึ่งเขียนโดย ท่านด่าว วันเตี้ยน และท่านสมสะหวาด เล่งสะหวัด เล่าถึงความเป็นไปของการประสานงานของฝ่ายเสนาธิการและการข่าวในแนวหลัง ในช่วงที่ฝ่ายอเมริกันได้ใช้เครื่องบินมาโปรยสารพิษที่เรียกกันว่า ฝนเหลือง (Yellow Rain or Agent Orange) เพื่อทำลายใบไม้ในป่า ไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของทหารแนวลาวฮักซาดและทหารเวียดมินห์ ในยุคสงครามเวียดนามระหว่างปี ๒๕๐๕ – ๒๕๑๔
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๕)
ตราประทับคล้ายธรรมจักร เป็นอีกตราประทับหนึ่งที่มักพบในเงินตราของอาณาจักรในแถบอุษาคเนย์ ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนา ทั้งศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ที่มีอิทธิพลในภูมิภาคนี้มาก่อน รวมถึงศาสนาพุทธที่ได้เข้ามามีบทบาทในภายหลัง และยึดพื้นที่ของความเชื่อดั้งเดิมในภูมิภาคนี้ได้มากพอสมควร
โอ้…ดวงจำปา มหัศจรรย์ดอกไม้แห่งจิตวิญญาณ
ดอกไม้ไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะต่อความสมดุลของระบบนิเวศโลก หากยังมีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์ผู้อาศัยอยู่บนโลกไม่น้อยไปกว่ากัน นอกเหนือจากการใช้ดอกไม้เป็นอาหารยารักษาโรค และสิ่งบำรุงใจแล้ว มนุษย์ยังใช้ดอกไม้ในการแสดงความรัก ความศรัทธา ความเมตตากรุณา และความเคารพนับถือที่มีต่อผู้อื่น
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๔)
ฉบับนี้จะมาเล่าถึงตราประทับอกตราหนึ่งที่พบในเงินฮ้อย และพบเป็นจำนวนค่อนข้างมากรองลงมาจากตรางูหรือพญานาคที่กล่าวไปแล้ว เงินฮ้อยตราช้างมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของอาณาจักรแห่งนี้ได้พอสมควร
ภาพพระเตมีย์ บนใบเสมาทวารวดีอีสาน
ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสานหลายใบ มีภาพเล่าเรื่องนิบาตชาดกสลักตกแต่งอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ในจำนวนนิบาตชาดกมากมายหลายร้อยเรื่องพบว่าทศชาดก หรือชาดก ๑๐ ชาติสุดท้าย ได้รับความนิยมมาก เตมีย์ชาดกซึ่งเป็นชาดกเรื่องแรกในกลุ่มทศชาติ เป็นหนึ่งในเรื่องที่นำมาสลักไว้บนใบเสมาค่อนข้างมาก เช่น ใบเสมาจากเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ, ใบเสมาจากบ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ และใบเสมาที่วัดโนนศิลาอาสน์ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
(๒) สู่เวิ้งจักรวาฬอันไพศาล
ฉบับที่แล้วฉันได้เล่าถึงมหานทีสีทันดรไป มานึก ๆ ดูก็รู้สึกจะข้ามขั้นตอนอยู่บ้าง ฉบับนี้จึงขอนอกกรอบของคอลัมน์ภาพกาก แล้วเล่าถึงภาพรวมของจักรวาฬ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเสพศิลปะแห่งภาพกากกันในคราวต่อ ๆ ไป ว่าแล้วเราก็มาน้อมจิตกันเสียก่อนที่จะเข้าเรื่องกันเถิด
นิทานเรื่องนางตันไต หรือปัญจะตันตระ (ตอนที่ ๑)
ผู้เขียนเคยเดินทางไปที่เวียงจันทน์เมื่อหลายปีมาแล้ว ได้มีโอกาสไปเยี่ยมหอสมุดแห่งชาติลาว และได้ซื้อหนังสือเกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีลาวมาหลายเล่ม เล่มที่สำคัญคือ นิทานนางตันไต ผู้เขียนได้อ่านนิทานนางตันไตด้วยความเพลิดเพลินและสนุกสนานที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ต่าง ๆ ที่พูดได้ และผู้เขียนเคยถอดความของบทแรก ๆ ออกเป็นอักษรไทย และนำไปตีพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพของญาติสองสามครั้งเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ได้รับหนังสือนั้นไป
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน แหล่งภูมิปัญญาชาวอีสาน
“โรงเรียนฝึกหัดครู” ในอดีตนั้น ต่อมาก็คือ “วิทยาลัยครู” เปลี่ยนชื่อมาเป็น “สถาบันราชภัฏ” และปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏ” สถาบันนามนี้ยุคสมัยหนึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัยคนยาก” ฉายานี้ได้มาเพราะคนในชนบทสมัยก่อน ๆ แม้จะเรียนเก่งปานใด โอกาสที่จะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในเมืองนั้นยากเต็มที่