Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

ทบทวนความรู้เรื่อง สมณยศ และพิธีหดสรง ในแผ่นดินอีสาน

ในวัฒนธรรมอีสาน – ล้านช้าง มีธรรมเนียมแต่งตั้งสมณยศแก่พระสงฆ์ผู้บวชเข้ามาเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา โดยพิธีกรรมที่เรียกว่า “หดสรง” ขั้นตอนสำคัญของพิธีกรรมคือการรดน้ำผ่าน “รินสรง” ที่ปัจจุบันมักเรียกว่า “ฮางหด” ซึ่งทำจากไม้แกะสลักเป็นรูปพญานาคอย่างสวยงาม แม้ว่าปัจจุบันการเลื่อนสมณยศของพระสงฆ์ในอีสานในทางปกครอง

“งันขอนผี” ผีสร้างคู่ ฟื้นประเพณี สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

“แต่ก่อนงานศพไม่เหมือนปัจจุบัน ศพเราจะวางเอาไว้บนตะแค่ไม้หรือไม่ก็วางบนพื้นบ้านแต่ละหลังอยู่ห่างกันมาก ทำให้การเดินทางแต่ละครั้งนั้นก็จะเกิดความกลัว ไฟฟ้าก็ไม่มี มืดก็มืด มีเพียงตะเกียงเจ้าพายุนำทาง ดังนั้นพวกหนุ่มสาวแต่ก่อนจึงจะจับกลุ่มกันเดินทางไปบ้านงาน พอไปถึงบ้านงานบรรยากาศในงานก็น่ากลัวศพก็ไม่ได้อยู่ในโลงเพราะแต่ก่อนมันไม่มี มันจึงเกิดงันขอนผี และ งันเฮือนดีขึ้นมา”

ซ่างแต้มฮูป อีสาน ล้านนา สู่อารยธรรมสุวรรณภูมิ

ฉบับนี้ศิลปะนำชีวิตจะขอนำท่านผู้อ่านมารู้จักกับช่างวาดชาวอีสานย้ายถิ่นฐานไปอยู่ล้านนาไปตามหาความงามแห่งสุนทรียรสเลาะเลียบประเทศเพื่อนบ้าน เป็นซ่างแต้มฮูปตามภาษาอีสาน หรือภาษาทางนครหลวงเวียงจัน นครหลวงพระบาง หรืออีกหลายแขวง ภาษาก็คือ ๆ คล้าย ๆ อีสานบ้านเฮานี่แหละครับ

ปราชญ์แห่งอินแปงบอกว่า “เมืองไทยเป็นเมืองมั่งคั่งที่สุดในโลก”

“คำพูด คำด่าของเขา มันเป็นการหากินของเขา ไปถ่ายภาพก็ไปถ่ายเอาตรงที่แห้ง ไปถ่ายตรงที่มีคนยากจน แต่จริง ๆ แล้วอีสานคือเมืองสวรรค์ของประเทศไทย ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป น้ำไม่ท่วมเกินไป ซึ่งพอดี พองาม ภาคใต้น้ำท่วมเหนือก็หนาวมาก อีสานเราพอดี มีปัญหาแต่น้อยมาก แต่กลับถูกคนมาบอก อีสานแล้ง เราก็เลยเชื่อเขา แต่จริง ๆ ไม่ได้แล้ง มันแล้งตรงไหน”

ปมด้อย

ระบบการเมือง การปกครองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการศึกษาที่นักเรียนทุกคนต้องฟัง พูด อ่าน และเขียนด้วยภาษาไทย ทำให้ภาษาที่ยิ่งใหญ่อย่างภาษาลาวกลายเป็นภาษาระดับชาวบ้านเท่านั้น ไม่ใช่ภาษาในระดับราชการ แม้แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จะมีภาษาของตนเอง ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ต้องอ่อนข้อให้แก่ภาษาไทย จนถึงขั้นอับอายที่จะพูดภาษาของตนเองในท่ามกลางสาธารณชนและกลายเป็นปมด้อยไปในที่สุด

ความยั่งยืนและเป็นธรรม ของการจัดการน้ำขนาดเล็ก

นานเหลือเกินกว่าคนในสังคมแห่งนี้จะคิดขึ้นมาได้บ้างว่า ที่เราสร้างบ้านแปงเมืองกันมาจนเจริญรุ่งเรืองได้ขนาดนี้ การทำนาอย่างเช่นในภาคอีสานนี้ก็ด้วยการทำนาน้ำฝน ด้วยชลประทานขนาดเล็กของชุมชน ทำขึ้นมาด้วยสมองและมือของชาวนาตัวเล็ก ๆ ถึงปัจจุบันก็ยังคิดเป็นร้อยละ ๙๕ ของพื้นที่

เกษตรอินทรีย์ ฟื้นชีวิตเกษตร กอบกู้โลก

นอกจากข้าวอินทรีย์ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป ๑๐-๑๕ % เกษตรกรยังได้ผลดีหลายด้าน หลังพ้นระยะปรับเปลี่ยน ๓ ปีไปแล้วดินจะฟื้นฟูสภาพ ผลผลิตสูงกว่าเดิมต้นทุนผลิตลดลง สิ่งแวดล้อมในนา กบ เขียด ปู ปลา ก็กลับคืนมา ค่าใช้จ่ายครัวเรือนลดลงสุขภาพคนทำเกษตรอินทรีย์ดีขึ้น ความเป็นครอบครัวก็กลับคืนมาด้วย

“สุรวิทยาคาร” คู่สุรินทร์

พลิกดูประวัติของชาวสุรินทร์ที่มีชื่อเสียง มีผลงานสร้างสรรค์ความดีงามไว้ให้สังคมไทยมากมาย ล้วนจบการศึกษาจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร ร้อยกว่าปีที่ก่อตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นมา ผู้บริหารและคณาจารย์ร่วมกันพัฒนาการศึกษา อบรมนักเรียน สร้างทรัพยากรชั้นนำจำนวนมากให้แก่ประเทศไทย ล่าสุด (ธันวาคม ๒๕๕๕) โรงเรียนสุรวิทยาคาร จัดเป็นโรงเรียนที่ดีเด่นอันดับที่ ๗๑ ของประเทศไทย หมุดหมายสำคัญของโรงเรียนสุรวิทยาคารมีย่อ ๆ ดังนี้

บุญบั้งไฟ

อย่างไรก็ตาม ชาวอีสานส่วนหนึ่งยังเข้าใจว่าการจุดบั้งไฟมีเฉพาะในภาคอีสานและ สปป.ลาว เท่านั้น อันที่จริงประเพณีการจุดบั้งไฟขึ้นฟ้าเพื่อเรียกฝนนั้น มีในคนไทและคนตระกูลภาษาไทกะได กลุ่มอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทโยน(ล้านนา) ไทลื้อ (ดูเรื่อง “จิบอกไฟ”), ไทใหญ่ในแม่ฮ่องสอน จุดบอกไฟในปอยเจดีย์ทราย เดือนมิถุนายน (กลุ่มอื่น ๆ มีในชนชาติผู้ญัย อำเภอซิ่งเหญิน มณฑลกุ้ยโจว-รอยต่อระหว่างกุ้ยโจว-ยูนนาน-กวางสี มีเทศกาล “จุดบอกไฟน้อย”) เป็นต้น

กราบอาจารย์มานิต วัลลิโภดม และอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

ในการนำเรื่องราวแอ่งอารยธรรมสกลนครขึ้นปกนี้ ถือเป็นปฐมแห่งการเรียนรู้ผลงานทรงคุณค่าของอาจารย์ทั้งสองท่าน ผู้ร่วมรุ่นบุกเบิกและได้หักร้างถางพงงานด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มนุษยวิทยา ฯลฯ มาด้วยชีวิต อาจารย์มานิต ท่านเป็นข้าราชการกองโบราณคดี กรมศิลปากร ในระดับปราชญ์ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีรุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย

เขาบอกว่า “เสี้ยวจันทร์” เป็น “นักปั้นซีไรต์”

เสี้ยวจันทร์ : ความจริงใจ ความเชย ถ้างานเขียนเหมือนหนัง ปัญญา เรณู ที่ บิณฑ์ บันลือฤทธิ์ กำกับ หนังดีมาก ตลาด ๆ แต่อาร์ตนะ มันออกมาจากข้างใน ชอบตุ๊กกี๊ อยากให้ตุ๊กกี้เขียนบทกวี จะส่งประกวด/ ถาม : งานเขียนของคนอีสานนักเขียนอีสานมีอะไรที่น่าสนใจบ้างไหม/ เสี้ยวจันทร์ : ฟ้าบ่กั้น ลาว คำหอม ภูเขาใหญ่ ดอกอะไรก็ไม่รู้ สุรชัย จันธิมาธร/ ถาม : จุดอ่อนของงานเขียนของนักเขียนอีสานของเราคืออะไร/ เสี้ยวจันทร์ : ขาดความเป็นสากล ซึ่งความเป็นสากลนั้นต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบศิลป์มากมาย เหมือนตัดต้นไม้ทั้งป่า แต่ทำเก้าอี้ได้ตัวเดียว

คำผญา คืออะไร?

คำผญา ไม่ใช่ถ้อยคำที่ถูกกล่าวหรือถูกเขียนขึ้นอย่างลอย ๆ แต่คำผญาเกิดจากการสั่งสมอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดท่ามกลางความสุขารมณ์ ความแร้นแค้น เป็นเรื่องเป็นราว เป็นบทเรียนของคนที่เจนจัดมาจากการดำเนินชีวิตที่ยาวนาน จนสามารถสรุปบทเรียนและแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

มะอื่อสูง… สวัสดีปีใหม่ (๕)

คำว่า /มะอื่อสูง/ หรือที่เขียนกันในชั้นหลัง ว่า |ใหม่สูง| เป็นคำทักทายที่ชาวไทใหญ่ใช้เมื่อ พบปะกัน มีความหมายทำนองเดียวกับคำ “สวัสดี” ที่ใช้กันทั่วไปในภาษาไทยกลาง |สวัสดี| เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตว่า |savasati| คำนี้มีที่ใช้ในภาษาเขมรด้วย ออกเสียงว่า /suasadey/ ในภาษาไทใหญ่ /มะอื่อ/ คือคำที่ออกเสียงได้ค่อนข้างยากสำหรับคนไทยทั่วไป

ฮีตเดือนสี่

คำว่า “ผะเหวด” เป็นชื่อของพระโคตมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แสดงถึงพระจริยวัตรเมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์เวสสันดร มีการจารเป็นหนังสือชาดกเรื่องยาวถึง ๑๓ ผูก มักจัดงานบุญผะเหวด หรือบุญมหาชาติหลังออกพรรษาแล้ว จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ เพราะเดือนนี้ว่างไม่มีประเพณีใด ปราชญ์อีสานจึงจัดไว้เดือนนี้ซึ่งเป็นฤดูแล้ง ชาวบ้านว่างจากการทำไร่ทำนา

ตอนเปิดผ้าม่านกั้ง แรกหลงฮอยอีสาน

ไทบ้านเฮาก็บ่มีอีหยังดอก อาศัยความเพียงจริงใจเท่านั้นแหละหล่า ขณะที่ปล่อยให้เปลือกมะรุมปลิวคว้างไปกับสายลมของฤดูแล้งที่พัดมาจากทิศใต้.. รสชาติทั้งฝาดทั้งขมจนขื่นอยู่ในคอ หากแต่เพียงชั่วประเดี๋ยว น้ำลายที่กลืนตามลงไปกลับทำให้เกิดเป็นรสหวานชุ่มคอดีแท้ จนอดคิดเข้าข้างตัวเองไม่ได้ว่านี่อาจเป็นปริศนาธรรมที่ยายเคนบอกใบ้ไว้
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com