Category

ศิลปวัฒนธรรม – ประวัติศาสตร์

อนุสรณ์สถานขบวนการเสรีไทยภูพาน

ถ้ำเสรีไทยได้รับการเปิดเผยจากพลพรรคของขบวนการฯ และเปิดให้ทัศนศึกษามานานหลายปีแล้ว ส่วนอนุสาวรีย์ขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์ จังหวัดสกลนคร โดย สมาคมข้าราชการนอกประจำการ ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ และลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ด้วยงบประมาณจากกองทุนที่ได้รับบริจาครวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,281,000 บาท

การเมืองเรื่องส่วยในภาคอีสาน

การเก็บส่วยในอีสานสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัชกาลที่ห้า รัฐบาลเก็บเป็นสิ่งของซึ่งมีมากในท้องถิ่น เว้นเสียแต่ว่าไพร่ส่วยหาสิ่งของที่กำหนดไม่ได้จึงยอมให้จ่ายเงินแทนคนละ ๔ บาทต่อปี ที่ว่าเป็นเรื่องการเมืองก็เพราะในระบบส่วยมีการแย่งชิงส่วยระหว่างเจ้าเมืองกับเมืองหลวงระหว่างเจ้าเมืองกับเจ้าเมืองด้วยกัน ระหว่างเจ้าเมืองกับกรมการเมือง

ไหหินโบราณวัดโพธิ์ศรี รอยอดีตที่ฝังอยู่ใต้ดิน

วัฒนธรรมบรรจุศพไว้ในไห คนโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากพบที่ทุ่งไหหิน เมืองเชียงขวาง ในประเทศลาวแล้ว ยังพบที่บ้าน “เชียงเหียน” จังหวัดมหาสารคามในประเทศไทยด้วย

นิทานนางตันไต (ตอนที่ ๒) ปริวรรตจากฉบับภาษาลาวของ มหาสิลา วีระวงส์

แต่ปางก่อน ยังมีนครหนึ่งชื่อ อุทัยะนะมหานคร บริบูรณ์ไปด้วยสมบัติพัสถาน ทุกอย่างปานดั่งทิพย์สมบัติในเมืองฟ้า พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า วิมะละจักพรรติราช เสวยราซะสมบัติอยู่ในนครนั้น พระองค์ทรงเดชานุภาพสูงสุดมีอาณาเขตแผ่กว้างไพศาลไปเกือบทั่วชมพูทวีป

งาน “แห่มาลัยข้าวตอก” ประจำปี 2565

งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก เป็นงานยิ่งใหญ่ของพี่น้องชาว อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ปีนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 - 15 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ผมตรงดิ่งไปที่วัดหอก่อง ชมพิพิธภัณฑ์ และสนทนาธรรมกับหลวงพี่ที่กำลังประดับธงตบแต่งสถานที่

ประชาธิปไตยในระดับชุมชนท้องถิ่น : มุมมองทางสังคมวิทยาการเมือง

แนวคิดเรื่องประชาธิปไตยในระดับชุมชนท้องถิ่นสมัยใหม่ หลักใหญ่เป็นแนวคิดที่สนับสนุนเรื่องการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบออกจากรัฐบาลส่วนกลาง ไปสู่ระดับชุมชนท้องถิ่น อันได้แก่ หมู่บ้าน ตำบล เทศบาล อำเภอ หรือเมือง ฯลฯ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนซึ่งอยู่ในชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการกระจายอำนาจ ดังกล่าว

ตำนานหนองหารเมืองสกลนคร

หนองหาร, หนองหาน, หนองหาญ ไม่ว่าจะเขียนอย่างไรก็สุดแท้แต่เหตุผลของผู้นิยมชมชอบ เพราะต่างก็มีเหตุผลในการเขียนกันทุกคน ผู้เขียนขอใช้คำว่า “หนองหาร” ตามที่ปรากฏในงานเขียนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน ในครั้งนี้จะเขียนข้อขบคิดที่เกิดจากงานภาคสนาม ที่ทำให้เกิดเสน่ห์ชวนหลงใหลคือ ตำนานหนองหารของจังหวัดสกลนคร มีความเกี่ยวพันกับตำนานและวรรณกรรมอื่น ๆ อย่างน้อยที่สุดมีอยู่ ๒ เรื่อง คือ ตำนานฟานด่อน กับตำนาน กระฮอกด่อน (ผาแดงนางไอ่) เกี่ยวพันกันในคนละมิติและต่างก็มีพยานหลักฐานกันทั้งสิ้น เมื่อกล่าวถึงตำนานหนองหารเมืองสกลนคร จึงมักอ้างถึง ๒ ตำนานนี้เสมอ และสำนึกรู้ของคนในท้องถิ่นเองก็มักได้ยินได้ฟังสองตำนานเสมอมา แม้ภายหลังมีการสงสัยและพยายามสร้างแนวคิดตำนานเดียวขึ้นก็ตามที

“คราม” สีย้อมแห่งชีวิต

คราม คือ ความอมตะ คือราชาแห่งสีย้อม เป็นหนึ่งในสีธรรมชาติที่เก่าแก่มากสีหนึ่งของโลกที่มนุษย์ใช้มายาวนานกว่า ๖,๐๐๐ ปี สีครามติดดี ติดทนลึกเข้าไปในเส้นใย

ตระกูลภาษา “ไท-กะได” กับ ไป่เยวี่ย (๒)

คุณเหลียงถิงหวั่ง เชื่อว่า บรรพชนของชาวเผ่าจ้วง (ขณะที่ยังมิได้แยกเป็นชาติพันธุ์ตระกูลภาษาตระกูลต้ง-ไถ) มีความเกี่ยวพันกับชนเผ่าโบราณที่ปรากฏชื่อในบันทึกโบราณของจีน เช่น ชนเผ่าซีโอว 西瓯 ลั่วเยวี่ย 路越 ชางอู่ 仓吾 ซุ่นจื่อ 损子 กุ้ยกั๋ว 桂国 จวี้ถิง 句町 เย่หลาง 夜郎 ผู่ 濮 โล่วว่อ 漏卧 อู่เลี่ยน 毋敛 เป็นต้น

กำเนิดแคน

“แคน” เป็นชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ใช้เป่าเป็นเพลง ทำด้วยไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า ‘ไม้กู่แคน’ จัดเป็นตระกูลไม้ไผ่ เข้าใจว่าเป็นไม้ชนิดเดียวกับที่ทางภาคกลางเรียกว่า ‘ไม้ซาง’ (สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๗) ต้นเหตุที่จะเกิดมีแคนขึ้นนั้น มีเรื่องเล่าเป็นปรัมปราคติว่า ‘หญิงม่าย’ นางหนึ่งเป็นคนแรกที่ประดิษฐ์คิดค้นทำแคนขึ้น

ฟ้าผ่า ฟ้าแผด

เรื่องฟ้าร้อง ฟ้าผ่า คนไทยปัจจุบันอธิบายทางวัฒนธรรมได้เพียงว่า นางมณีเมขลาขยับดวงแก้วเป็นฟ้าแลบสว่าง รามสูรขว้างขวานเป็นฟ้าผ่า สรุปว่าคนไทยต้องพึ่งพาเทวดาแขก ทำฟ้าร้องฟ้าผ่าให้

X – สมัย (๑)

เมื่อสมัยเรียนในระดับชั้นป.โท จำาได้ว่ามีอยู่ชั่วโมงหนึ่งที่อาจารย์ท่านถามนิสิตวัยห่ามในห้องว่า “ในห้องนี้มีคน Gen ไหนกันบ้าง” “Y ค่ะอาจารย์” เสียงสาวน้อยที่สุดในห้องตอบด้วยน้ำเสียงสนิทสนม “ก็น่าจะมีคนเดียว ส่วนมากก็จะเป็น X เนาะ” อาจารย์ท่านยิ้ม ๆ

ตํานานพื้นบ้านในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์สองฝั่งโขง (๒)

ตํานานฝ่ายเมืองที่บันทึกความสํานึกของชาวอีสานและล้านช้างที่เข้าใจความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ การสร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล ตํานานของอีสานและล้านช้างที่ให้ทัศนะเด่นชัด ในเนื้อหาดังกล่าวที่เด่น ๆ มี๔ เรื่องด้วยกัน (อาจจะมีมากกว่านี้แต่ยังสํารวจไม่พบ) คือ (๑) ปฐมมูล (๒) ปฐมกัป หรือตํานานเจ้าแม่โพสพ (๓) นิทานเรื่องขุนบรม (๔) มหากาพย์เรื่องท้าวฮุ่ง (พระยาเจื๋อง)

สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้พลีชีพกลางสนามรบ (๓)

สนั่นหวนคิดถึงรากเหง้าของตนเสมอ แม้ได้ใช้ชีวิตอยู่ภาคอีสานมากกว่าที่บ้านเกิดของตน มาอยู่อีสานจนส่องซอดถึงระบบนิเวศบุ่ง ทาม มาอยู่จนตั้งสร้างครอบครัว มีลูกสองคน นายนาคร ชูสกุล และนางสาววรรณลีลา ชูสกุล

สนั่น ชูสกุล นักรบวัฒนธรรมผู้พลีชีพกลางสนามรบ (๒)

ดร.เสรี พงศ์พิศ ได้แสดงตัวอย่างรากลึกทางวัฒนธรรมที่บรรพชนสร้างไว้ “การรุกเข้าไปในชุมชนเป็นไปในหลายรูปแบบ ถ้าเปรียบกับธุรกิจ นายทุนใช้ทั้งไม้แข็งไม้นวม ใช้การครอบงําแบบซื้อตัว ซื้อที่ ซื้อความรู้ความสามารถของชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ที่เป็นอุปสรรคต่อการ ‘ฮุบ’ ที่ดิน การผูกขาดพันธุกรรม ทำลายความหลากหลาย ทําลายพันธุ์พืชพื้นบ้าน โดยการซื้อที่ดินที่ปลูกพืชเหล่านี้ก็มี แล้วให้เจ้าของที่ดินมาทํางานด้วยค่าแรงที่ไม่อาจปฏิเสธได้
WP2Social Auto Publish Powered By : XYZScripts.com