ขุนพลผู้ยาตราทัพ ปักธงชัยหมอลำในกลางกรุงฯ (๑)
คำว่า หมอลำ หมายถึงผู้ที่มีความชำนาญในศิลปะการ “ขับลำ” “ขับร้อง” กลอนลำศิลปะพื้นเมืองของภาคอีสาน เป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาสำเนียงทำนองกลอนลำไปสู่ผู้ฟัง
ฮูปแต้มวัดบ้านประตูชัย
ฮูปแต้มผนังด้านนอก ผนังสกัดหน้าชั้นในด้านนอก เขียนเรื่องเวสสันดรชาดก เริ่มตั้งแต่กัณฑ์วนประเวศน์ ไปจบเรื่องที่ผนังรี (ด้านทาง
ยาว) ด้านนอกทางทิศเหนือ
บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 3
ในกรณีเกิดการเจ็บป่วย เกิดโรคระบาด พวกเขาเอาไม้ไผ่มาหุ้มห่อตั้งแต่พื้นดินถึงพื้นเรือน ตามเสาเรือน ขึ้นไปใกล้ ๆ ที่หัวของคนป่วย พวกเขาล้อมกระท่อมด้วยเชือกของหญ้าคา 3 เส้นที่ฟั่นเข้ากัน นั่นคือหญ้าที่พวกเขมรเรียกว่า “เซโบพลัง”สุดท้ายพวกเขาก็ฝังเฉพาะไม้ไผ่ที่สานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสไว้ที่มุมหมู่บ้านทั้งสี่มุม แทนเครื่องหมายตาแหลว แล้ววิญญาณจะอภัยโทษให้
ฮีตเดือนเจ็ด
คำว่า ซำฮะ (ชำฮะ) หมายถึง การชำระล้างสิ่งที่เป็นความชั่วร้าย หรือสิ่งเลวร้ายที่เกิดจากนํ้ามือของมนุษย์ การทำบุญซำฮะเป็นงานบุญที่นิยมทำกันในเดือน ๗ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เรียกว่า บุญซำฮะบ๋าเบิก
กิจกรรมงานสายธารวัฒนธรรมเพื่อชีวิตฯ ทัวร์วัฒนธรรมอีศาน ณ บ้านหัวงัว อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
คำว่า “วัฒนธรรม” หรือมีผู้เสนอใช้คำ “พฤติธรรม” ที่ถอดมาจากคำภาษาอังกฤษ “Culture” ในส่วนงานวัฒนธรรมสมควรทำหน้าที่บำรุงเลี้ยงและกำกับสั่งงานการเมืองและงานความมั่นคง เสมือนหัวใจและสมองที่หล่อเลี้ยงและสั่งงานแขนขา รวมทั้งอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
คำว่า “เพื่อชีวิต” ไม่เพียงผูกโยงกับงานการเมือง แต่ครอบคลุมทุกองคาพยพทุกมิติของการขับเคลื่อนทางสังคม
บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 2
ตามคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ บอกว่าเมืองอุบลนี้ได้สถาปนาขึ้นโดยพวกขุนนางที่อพยพมาจากทางทิศเหนือ จากหนองบัวลำภู ซึ่งเดิมมาจากแถบเมืองเวียงจันทน์ อดีตเมืองเอก เจ้าพระตามีลูกสาวคนหนึ่งซึ่งงดงามมากที่สุด ได้พาลูกสาวหนีจากการถูกบีบบังคับจากเจ้าอนุ เจ้าผู้ครองเมืองเวียงจันทน์
บันทึกการเดินทางในลาว ครั้งยังเป็นภาคอีสาน : เอเจียน แอมอนิเย ตอนที่ 1
นอกจากนี้ยังเล่าถึงบรรยากาศงานศพว่า มีพระมาสวดพระอภิธรรมทุกคืน พวกหนุ่มสาวพากันมาพูดคุยหยอกล้อเฮฮากัน สนุกสนานและเกี้ยวพาราสี มีดนตรีบรรเลงตลอดและมีการพนันทุกประเภท พวกลูกๆของผู้ตายไม่แต่งชุดไว้ทุกข์
โศกนาฏกรรมการก่อเกิดบ้านเหล่าใหญ่ ทัวร์วัฒนธรรมอีศาน – ลึกซึ้งรากเหง้าวิถีพี่น้องผู้ไท
การอพยพย้ายถิ่นผู้ไทเหล่าใหญ่
บรรพชนคนผู้ไทเคยยิ่งใหญ่มาเก่าก่อน แต่ด้วยเหตุที่มีนิสัยรักความสงบ ชอบความอิสระ ใช้ชีวิตเรียบง่าย ชอบอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่มีชายป่า เชิงภูเขา ชอบทำการเกษตร มีภาษาพูดเป็นภาษาผู้ไท มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง บรรพบุรุษของคนผู้ไทอยู่ที่เทือกเขาอัลไต เมืองน่านเจ้า ไม่ชอบการปกครองของฮ่องเต้เมืองจีน จึงได้อพยพมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่สิบสองปันนา สิบสองจุไท เรียกเมืองนาน้อยอ้อยหนู เขตรอยต่อระหว่างประเทศเวียดนาม กับประเทศลาว
ปีที่สร้างพระธาตุพนมในตำนานอุรังคธาตุ
พระธาตุพนมเป็นศาสนสถานสำคัญของลุ่มแม่น้ำโขง เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า “อุรังคธาตุ” ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมเป็นเนินดินสูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ ๒ เมตร เรียกตามตำนานอุรังคธาตุว่า “ภูกำพร้า”
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา (ตอนที่ ๒)
เงินฮ้อยคือเงินที่มีนํ้าหนักสิบบาท แต่คนลาวจะเรียกว่าฮ้อยหนึ่งหรือร้อยหนึ่ง อนึ่ง เงินฮ้อยมิใช่เงินที่หล่อด้วยเงินแท้ ๆ เป็นเงินชนิดปน คือเขาเอาทองสำริดหรือทองขาว (ทองแดงหรือดีบุก) มาหลอมสูบในไฟไล่ขี้โลหะออกไปหลาย ๆ หน จนหมดตะกั่วและชินที่อยู่ในเนื้อทองสำริด ผสมกับเนื้อเงินแท้ ๆ ในสัดส่วนเงินหนัก ๑๐ สลึง ทองสำริดหนัก ๗ บาท ๒ สลึง (รวมนํ้าหนักเป็น ๑๐ บาท) แล้วนำไปหลอมจนละลายเทลงในแม่พิมพ์จะได้เงินฮ้อยหนึ่งแท่ง
[๗] ปาจิต อรพิม ในงานศิลปะ (๒) วัดบ้านยางทวงวราราม อายุ ๒๒๐ ปี
ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระปาจิต และนางอรพิม ที่ปรากฏรอบสิมวัดบ้านยางนั้น อยู่ล้อมรอบบริเวณสิมหรืออุโบสถ แต่อยู่ในลำดับล่างสุด โดยมีเรื่องพระมาลัย และพระเวสสันดรอยู่ข้างบนตามลำดับ ซึ่งเป็นการยากที่จะเข้าใจเรื่องราวที่แต้มไว้หากผู้มาเยือนขาดความเข้าใจในขนบของจิตรกรรมฝาผนังสิมอีสาน โดยเรื่องราวที่ปรากฏล้อมรอบสิมวัดบ้านยางนี้
ไม้สองนาง ผีสองนาง
คนโบราณเมื่อพบเห็นปรากฏการณ์อะไรที่ “ไม่ปกติ” แปลกแตกต่างจากปรากฏการณ์ทั่ว ๆ ไป ย่อมมองว่ามันเป็น “กรณีพิเศษ” และกรณีพิเศษก็ย่อมมีผลให้เกิดอะไร ๆ ที่ไม่ปกติได้ทั้งในทางร้ายและ/หรือทางดี
กระบือ
สัตว์เท้ากีบชนิดนี้เสมือนธรรมชาติกำนัลให้แก่ฅน และเป็นภูมินามนิยมจัดตั้ง เช่น ตำบลสามกระบือเผือก (อ.เมืองนครปฐม) แขวงบางกระบือ (กรุงเทพฯ) ตำบลบางกระบือ (อ.สามโคก จ.ปทุมธานี) ตำบลบางกระบือ (อ.เมือง จ.สิงห์บุรี) ฯลฯ
ศัพท์สัตวศาสตร์เรียก Bosbubalis สัตว์ป่ากลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของฅนเมื่อประมาณ ๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล พบทั้งในอินเดีย พม่า ไทย ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกากลาง
จำแนกอย่างกว้าง ๒ ประเภท คือ ควายปลัก (Swamp buffalo) กับ ควายแม่น้ำ (river buffalo)
ฮีตเดือนหก
สมัยก่อนการทำบุญบั้งไฟจุดบูชาพญาแถนเพื่อให้ฟ้าฝนตกดี เพราะเชื่อว่า บนฟ้าแต่ละขั้นจะเป็นเมือง มีเจ้าปกครองในแต่ละเมืองฟ้า ที่เรียกว่าพระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร หรือเรียกว่า พระอินทร์ พระพรหม พญาแถนจะเป็นผู้แต่งฝน แต่งลม แต่งแดด แต่งนํ้า แต่งไฟ การจุดบั้งไฟขึ้นไปบนอากาศก็เพื่อบูชาพญาแถน ให้ท่านดีใจจะได้จัดแต่งฝนมาให้ เพื่อจะได้มีนํ้าทำไร่ไถนา หากบั้งไฟขึ้นตรงสูงไม่เอียงปีนั้นฝนจะดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข แต่ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขึ้นปีนั้นฝนจะแล้ง ข้าวปลาอาหารจะไม่อุดมสมบูรณ์๑ กาลต่อมาเมื่อมีคติความเชื่อพระพุทธศาสนาเข้ามา การจุดบั้งไฟก็เพื่อเป็นพุทธบูชา คือบูชาพระพุทธเจ้า ดังมีคำกลอนที่เรียกว่า เซิ้งบั้งไฟหรือรำบอกไฟ
เงินตราโบราณ ในอีสานบ้านเฮา
เคยสงสัยกันบ่ครับว่าในอดีตปู่ย่าตาทวดของเฮาชาวอีสาน ใช้เงินตราอีหยังกันในการจับจ่ายใช้สอย ซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เหมือนหรือต่างกับเงินตราที่เราใช้กันซุมื้อนี่หรือไม่ นั่นอาจสิเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจของไผหลาย ๆ คน บางคนอาจจะเคยเห็นเงินตราเหล่านั้นมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ที่ท่านสนใจ หรือผู้เฒ่าผู้แก่เพิ่นได้เก็บไว้ให้ลูกหลานได้เบิ่งได้แยงกัน แต่มื้อนี้กระผมสิได้นำซุผู้ซุคนได้ย้อนกลับไปในอดีต ไปค้นหาร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของการใช้เงินตราในอดีตของบรรพบุรุษของเฮา